โง ดิ่ญ ญู
โง ดิ่ญ ญู | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 ตุลาคม ค.ศ. 1910 Phú Cam, อันนัม, อินโดจีนฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ไซ่ง่อน, เวียดนามใต้ | (53 ปี)
ศาสนา | ศาสนาคริสต์ |
คู่สมรส | Trần Lệ Xuân (มาดามญู) |
บุตร | Ngô Đình Trác Ngô Đình Quỳnh Ngô Đình Lệ Thủy (เสียชีวิต 1967) Ngô Đình Lệ Quyên (เสียชีวิต 2012) |
ญาติ | Ngô Đình Khả (บิดา) Ngô Đình Khôi (พี่ชาย) Ngô Đình Thục (พี่ชาย) โง ดิ่ญ เสี่ยม (พี่ชาย) Ngô Đình Cẩn (น้องชาย) Ngô Đình Luyện (น้องชาย) Trần Văn Chương (พ่อตา) Ngô Thế Linh (ลูกพี่ลูกน้อง) Nguyễn Văn Thuận(หลานชาย) |
โง ดิ่ญ ญู (<ideonly>แม่แบบ:Ngeonly><de> entation}} <de>; ในอดีตนิยมทับศัพท์ว่า โง ดินห์ นู, 7 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ชื่อที่ได้รับหลังเข้าพิธีล้างบาปคือ ยาโคป) เป็นคนเก็บเอกสารและนักการเมืองชาวเวียดนาม[1] เขาเป็นน้องชายคนรองและหัวหน้าที่ปรึกษาทางการเมืองของโง ดิ่ญ เสี่ยม ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเวียดนามใต้ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่เขาก็ใช้อำนาจที่ไม่เป็นทางการอย่างใหญ่โต ในการใช้คำสั่งส่วนตัวของทั้งหน่วยรบพิเศษของกองทัพสาธารณรัฐเวียดนาม(หน่วยกองกำลังกึ่งทหารที่ทำหน้าที่เป็นกองทัพส่วนบุคคลโดยพฤตินัยของตระกูลโง) และเครื่องมือทางการเมืองของเกิ่นลาว(ที่เป็นที่รู้จักกันคือ พรรคแรงงานส่วนบุคคล) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตำรวจลับโดยพฤตินัยของระบอบการปกครอง
ในวัยช่วงแรกของเขา ญูเป็นคนที่เงียบขรึมและเจ้าเล่ห์ซึ่งแสดงความโน้มเอียงเล็กน้อยต่อเส้นทางการเมืองของพี่ชายของเขา ในขณะที่ฝึกเป็นคนเก็บเอกสารในฝรั่งเศส ญูได้นำอุดมการณ์ของลัทธิบุคคลนิยมของนิกายโรมันคาทอลิกมาใช้ แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ตาม[2][3] มีการกล่าวอ้างว่าเขาใช้ปรัชญานั้นไปในทางที่ผิด เมื่อกลับมาที่เวียดนาม เขาได้ช่วยเหลือพี่ชายของเขาในการแสวงหาอำนาจทางการเมือง และญูได้พิสูจน์ให้เห็นถึงนักยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดและโหดเหี้ยม ซึ่งช่วยให้เสี่ยมได้รับผลประโยชน์มากขึ้นและเอาชนะคู่แข่งได้มากขึ้น ในช่วงนั้น เขาได้ก่อตั้งและคัดเลือกสมาชิกของพรรคเกิ่นลาวที่เป็นความลับ ซึ่งได้ให้กล่าวคำสาบานว่าตนจะจงรักภักดีต่อตระกูลโงเพื่อเป็นฐานอำนาจของพวกเขา และในที่สุดก็กลายเป็นกองกำลังตำรวจลับของพวกเขา ญูยังคงเป็นหัวหน้า จนกระทั่งตัวเขาถูกลอบสังหาร
ในปี พ.ศ. 2498 ผู้สนับสนุนของญูได้ช่วยเหลือกันในการข่มขู่ประชาชนและควบคุมการลงประชามติของรัฐเวียดนามในปี พ.ศ. 2498 ซึ่งทำให้เสี่ยม พี่ชายของเขาได้ครองอำนาจ ญูได้ใช้เกิ่นลาว ซึ่งเขาจัดตั้งให้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อแทรกซึกเข้าไปในทุกส่วนของสังคม เพือกำจัดฝ่ายปรปักษ์กับตระกูลโง ในปี พ.ศ. 2502 เขาได้จัดให้มีการลอบสังหารที่ล้มเหลวด้วยการส่งกล่องพัสดุที่ถูกติดตั้งด้วยระเบิดไปให้กับเจ้าสีหนุ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งความสัมพันธ์ดูเริ่มตึงเครียด ญูได้เปิดเผยต่อสาธารณชนในความสามารถทางด้านความรู้ของตนเอง เขาเป็นที่รู้จักกันในเรื่องการแถลงการณ์ต่อสาธารณะว่า ได้ให้คำมั่นสัญญาว่า จะรื้อถอนเจดีย์ซาลอย และสาบานว่าจะสังหารพ่อตาที่เหินห่างของเขา เจิ่น วัน เจือง ผู้เป็นเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา ภายหลังจากที่ได้ประณามพฤติกรรมของตระกูลโงและตัดความสัมพันธ์กับบุตรสาวของตนคือ เจิ่น เหละ ซวน(มาดามญู) ภรรยาของญู[4]
ในปี พ.ศ. 2506 การครองอำนาจของตระกูลโงเริ่มติดขัดในช่วงวิกฤตการณ์ทางศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ในประเทศได้ลุกขึ้นต่อต้านระบอบการปกครองที่นิยมนับถือนิกายโรมันคาทอลิก นูได้พยายามทำลายการต่อต้านของชาวพุทธโดยใช้หน่วยรบพิเศษในการตีโฉบฉวยต่อวัดพุทธที่มีชื่อเสียง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน และวางกองกำลังทหารประจำการไว้ในที่ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แผนการของญูได้ถูกเปิดเผย ซึ่งทำให้แผนการที่ได้ถูกคิดขึ้นอย่างแข็งขันโดยเจ้าหน้าที่นายทหาร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาที่หันหลังให้กับตระกูลโง ภายหลังจากการโจมตีวัดเจดีย์ ญูได้รับรู้แผนการดังกล่าว แต่ยังคงมั่นใจว่าเขาสามารถที่จะเอาชนะพวกเขาได้ และเริ่มวางแผนการต่อต้านรัฐประหาร รวมทั้งการลอบสังหารเอกอัครราชทูตสหรัฐ เฮนรี เคบ็อท ลอดจ์ จูเนียร์ และบุคคลทั้งฝ่ายปรปักษ์และอเมริกันคนอื่น ๆ ญูโดนหลงกลโดยนายพล Tôn Thất Đính, ผู้ภักดี ซึ่งได้หันมาต่อต้านกับตระกูลโง ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 การรัฐประหารยังคงดำเนินต่อไป และสองพี่น้องตระกูลโง(ญูและเสี่ยม) ได้ถูกควบคุมตัวและถูกลอบสังหารในวันรุ่งขึ้น[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Đào Thị Diến. "Ngô Đình Nhu-Nhà lưu trữ Việt Nam thời kỳ 1938-1946/Ngô Đình Nhu, the Vietnamese archivist during the period of 1938 to 1946". Tạp chí Nghiên cứu và Phát triển, S. 6-7 (2013). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-09.
- ↑ Karnow, p. 239.
- ↑ Langguth, p. 99.
- ↑ "Change in Will Linked to Saigon Aide's Death", The New York Times, 8 August 1986
- ↑ Karnow, p. 326.