ข้ามไปเนื้อหา

โคลงสองสุภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โคลงสองสุภาพ โคลงสุภาพประเภทหนึ่ง เป็นโคลงที่ใช้ร่วมกับโคลง ๔ สุภาพ ในการประพันธ์ลิลิต และในการอื่น ถึงเป็นโคลงเล็กน้อยก็มีความเพราะสวยงามอีกรูปแบบหนึ่ง[1]

ลักษณะ

[แก้]

ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ

[แก้]

ก. คณะและพยางค์ บทหนึ่งมี ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๒ มีวรรคละ ๕ คำ วรรคที่ ๓ มี ๔ คำ รวม ๓ วรรคเป็น ๑๔ คำ นอกจากนี้อาจมีคำสร้อยเติมในวรรคสุดท้ายได้อีก ๒ คำ

ข. สัมผัสและคำเอกคำโท

๑) สัมผัสบังคับ ดูได้จากแผนผังของโคลงสองดังนี้ คำที่ ๕ ของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของวรรคที่ ๒ เพียงแห่งเดียวตามเส้นที่โยงไว้ ถ้าแต่งต่ออีกหลายบท คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ จะสัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคแรกในบทต่อไป

๒) คำเอกคำโท ต้องมีคำเอก ๓ คำโท ๓ ตามตำแหน่งที่ระบุไว้ในแผน คำตาย ใช้แทนคำเอกได้ ส่วนคำโท ต้องใช้แต่คำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เท่านั้น[2]

บทที่ ๑ มิตรดีมีแต่เอื้อ แม้บ่ใช่ญาติเกื้อ
ก่อให้สัมพันธ์ ทวีนา
บทที่ ๒ รัก กัน เตือนเพื่อนแก้ว พลั้งผิดยอมอภัยแล้ว
ห่อนรู้หน่ายแหนง เพื่อนเอย
หมายเหตุ: คำ พันธ์ ท้ายวรรคที่ ๓ ของบทที่ ๑ สัมผัสกับคำ กัน ซึ่งเป็นคำที่ ๒ ของวรรคแรกของบทที่ ๒

กล่าวคือ มีการบังคับรูปวรรณยุกต์เอกโทตามการแต่งโคลง โดยบังคับรูปเอกที่คำที่ห้าของวรรคแรก คำที่สามของวรรคที่สอง และคำแรกของวรรคที่สามรูปโทนั้นบังคับที่คำที่ห้าวรรคแรกและสอง คำที่สองของวรรคที่สาม ส่วนคำสร้อยนั้นจะมีหรือไม่ก็ได้

แม่แบบ

[แก้]
โคลงสองเป็นอย่างนี้ แสดงแก่กุลบุตรชี้ เช่นให้เห็นเลบง แบบนา

อ้างอิง

[แก้]
  1. วัดโมลีโลกยาราม (2019-04-26). "โคลง ๒ สุภาพ". วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. "ร่ายสุภาพ". www.digitalschool.club.