ข้ามไปเนื้อหา

โคกพนมดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โบราณสถานเนินดินโคกพนมดี เป็นชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในวัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

ประวัติ

[แก้]

โคกพนมดีเป็นเนินดินขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายเกาะที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม มีรูปร่างค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 230 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ จุดสูงสุดจากพื้นที่โดยรอบประมาณ 12 เมตร อยู่ในตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม ผลการศึกษาพบว่า โคกพนมดีเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณที่สามารถสร้างเครื่องมือหิน (ขวานหินขัด หินลับ หินบด ค้อนหิน หินกรวดสำหรับขัดผิว ภาชนะและกำไลหิน) เครื่องมือที่ทำจากกระดูกสัตว์ เช่น ฉมวก เครื่องมือที่ทำจากหอย เช่น มีด สิ่ว เครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอย และภาชนะดินเผาแบบเชือกทาบ เป็นชุมชนที่อพยพ และเปลี่ยนแปลงมาจากสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งมักอาศัยอยู่ในที่สูงดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และแสวงหาอาหารจากธรรมชาติ ต่อมาอพยพลงมาอยู่ที่โคกพนมดี ซึ่งในครั้งนั้นเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งจากป่าและทะเล มีผู้เสนอข้อคิดเห็นว่าเนินดินแห่งนี้เป็น Shell Mound สมัยก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเซียอาคเนย์ ต่อมาผู้คนเหล่านั้นก็เริ่มพัฒนาการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกแบบเริ่มแรก ควบคู่กันไปกับการแสวงหาอาหารจากทะเล และล่าสัตว์

ที่ตั้ง

[แก้]

โบราณสถานเนินดินโคกพนมดี อยู่ที่วัดโคกพนมดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แผนที่ทหาร พิมพ์ครั้งที่ 1 -RTSD ลำดับชุด L7017 ระวาง 5236 III รุ้ง 13 ฐ 34' 40"เหนือ แวง 101 ฐ 08'50 " ตะวันออก พิกัดกริด 47 PQR 317205

โบราณสถาน

[แก้]

โบราณสถานเนินดินโคกพนมดี การตั้งถิ่นฐานที่โคกพนมดีนี้น่าจะมี 2 สมัย คือ

  • สมัยแรก

มีอายุประมาณ 8,000 - 5,000 ปีมาแล้ว ดำรงชีพด้วยทรัพยากรจากทะเลเป็นสำคัญ (พบเปลือกหอย ก้างปลา กระดองเต่า และก้ามปู จำนวนมาก)

  • สมัยที่สอง

มีอายุประมาณ 5,000 - 2,000 ปีมาแล้ว ชุมชนน่าจะขยายตัวใหญ่ขึ้น เพราะได้พบภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก เริ่มปลูกข้าว (พบเมล็ดข้าวที่เป็นถ่าน)

ลูกปัดแบบกลมบางทำจากเปลือกหอย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุ 4,000 - 3,000 ปี พบจากการขุดค้นที่โบราณสถานเนินดินโคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม

ประกาศกรมศิลปากร

[แก้]

โบราณสถานเนินดินโคกพนมดี พื้นที่ประมาณ 25 ไร่ กรมศิลปากรประกาศเป็นโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 101 ตอนที่ 125 ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2527

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]