ข้ามไปเนื้อหา

แฮงแมน (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แฮงแมน (อัลบั้ม))
แฮงแมน
ที่เกิดกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก, ป็อป, ออลเทอร์นาทิฟร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2550–2554
พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงมอร์มิวสิค (พ.ศ. 2550–2552)
DUCKBAR (พ.ศ. 2552–2554)
อิสระ (พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน)
สมาชิก"เก๋" อรรคพล ทรัพยอาจิณ (กีต้าร์)
"แจ๊ค" พงศ์วิภาค เหมะ (กีต้าร์)
"แสบ" สายัณห์ สุวรรณเมธา (กลอง)
"แซม" เสริมศาสตร์ เดอะโรซาริโอ (ร้องนำ)
"โหน่ง" ณัชพล สินทรจิตรานนท์ (เบส)
อดีตสมาชิก"โต" วีรชน ศรัทยายิ่ง (ร้องนำ)
"เกี๊ยะ" สมนึก ท่าชี (เบส)
เว็บไซต์เว็บไซต์บนมายสเปซ

แฮงแมน (อังกฤษ: HANGMAN) คือกลุ่มดนตรีสัญชาติไทย แนวร็อก, ป็อป ประกอบด้วยสมาชิก 5 คน

ความหมายของชื่อวง

[แก้]

HANGMAN คือเกมที่ต้องเติมคำ ถ้าเติมพลาดก็ถูกแขวนคอ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง บางคนอยากทำสิ่งดี ๆ ตั้งใจทำงานดี ๆ แต่คนมักจะรอดูความหายนะของเขา ก็เปรียบเหมือนกับการเล่นเกมที่คนเล่นตั้งใจเล่นให้มันสมบูรณ์โดยที่ตัวเองไม่โดนแขวนคอ แต่คนที่ชมเกมนี้ส่วนมากอยากเห็นถูกแขวนคอ และก็เหมือนกับวงนี้ที่ตั้งใจทำงานกันทุกคนก็หวังว่าคนจะไม่มองและพยายามจับผิด

ประวัติ

[แก้]

โต ได้ออกจากวง ซิลลี่ ฟูลส์ จึงได้ทำดนตรีก่อน และต่อมาจึงหานักดนตรีมาออดิชั่น ออดิชั่นกันอยู่ประมาณ 4-5 เดือน ก็ได้เกี๊ยะเป็นมือเบส เก๋เป็นมือกีต้าร์ และแสบเป็นมือกลอง กับแจ๊คเป็นมือกีต้าร์คนที่สองของวง

ต่อมา โตทำดนตรี (เดโม) เสร็จก่อนแล้ว 9 เพลง พอออดิชั่นวงได้ตอนทำงานในห้องอัด ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักดนตรีแต่ละคนเขาไปคิดมา ถ้าไม่ชอบก็ไปแก้และพยายามคิดว่ามันควรจะเป็นยังไงให้ดีที่สุด และเพลงที่ 10 เก๋กับเกี๊ยเป็นคนทำ และโตก็มาแต่งเนื้อทั้ง 10 เพลง จนเป็นที่มาของอัลบั้มแรก

เมื่อปี พ.ศ. 2555 แฮงแมนได้ยุบวงพร้อมกับลาวงการงานดนตรีของโต ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ ได้แยกย้ายทำงานไป โดยเกี๊ยะ เป็นมือเบสวงมัมมี่แด๊ดดี้, เก๋ เป็นมือกีตาร์และนักร้องนำวงสกายวอล์กเกอร์รวมถึงรับงานพากย์เสียงภาพยนตร์, แสบเป็นแบ็คอัพกลองให้วง ABnormal และทำงานร่วมกับวงอะลาดิน เช่นเดิม[1][2] และแจ๊คได้เป็นแบ็คอัพกีตาร์ให้กับวงอื่น ๆ ในผับและเป็นมือกีตาร์ วงอะลาดินแทนเอ็ม ส่วนเกี๊ยะไปทำวงดนตรีตัวเอง

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ 2564 ได้ประกาศว่ากลับมารวมตัวกันอีกครั้งโดยมีสมาชิกดั้งเดิมคือ เก๋, แจ๊ค, แสบ และได้เพิ่มสมาชิกใหม่นั่นก็คือ แซม เสริมศาสตร์ เดอะโรซาริโอ เข้ามาเป็นนักร้องนำในวง ทั้งนี้ไซมอน เฮนเดอร์สัน ยังคงทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์เช่นเคย

สมาชิก

[แก้]
สมาชิกปัจจุบัน
  • เสริมศาสตร์ เดอะโรซาริโอ (แซม) – ร้องนำ
  • อรรคพล ทรัพยอาจิณ (เก๋) – กีต้าร์
  • พงศ์วิภาค เหมะ (แจ๊ค) – กีต้าร์
  • สายัณห์ สุวรรณเมธา (แสบ) – กลอง
  • ณัชพล สินทรจิตรานนท์ (โหน่ง) – เบส
สมาชิกในอดีต

ผลงาน

[แก้]

ซิงเกิล

[แก้]

อัลบั้ม

[แก้]
No. ชื่อ รายชื่อเพลง
1 Hangman
(9 ตุลาคม พ.ศ. 2550)
  1. Hangman
  2. Chocolate
  3. พยายามกี่ครั้งก็ตามแต่
  4. ต้องลืมเสียที
  5. เพลงสีดำ
  6. ฉัน vs ซาตาน
  7. รักเธอหัวทิ่มบ่อ
  8. หมดเงินหมดใจ
  9. ไตรกีฬา
  10. สัญญาณในใจ

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ต Fat Festival 7 (10-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)
  • คอนเสิร์ต Malang Rock Day Concert (29 มีนาคม พ.ศ. 2551)
  • คอนเสิร์ต Fat Festival 8 (8-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
  • คอนเสิร์ต Pattaya International Music Festival 2009 (21 มีนาคม พ.ศ. 2552)
  • คอนเสิร์ต รอยยิ้มเพื่อพ่อ ครั้งที่ 2 (7 มีนาคม - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552)
  • คอนเสิร์ต Pattaya International Music Festival 2010 (21 มีนาคม พ.ศ. 2553)
  • คอนเสิร์ต Bangkok Music Marathon (16 ตุลาคม พ.ศ. 2553)
  • คอนเสิร์ต Big Mountain Music Festival (10 ธันวาคม พ.ศ. 2553)
  • คอนเสิร์ต มัน ใหญ่ มาก 2 (10 - 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553)

รางวัล

[แก้]
  • แชนแนล วี ไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ดส #6 ประจำปี 2549 สาขามิวสิกวิดีโอกำกับศิลป์ยอดเยี่ยม จากเพลง บุญคุณปูดำ
  • ท็อปอวอร์ด 2007 ประจำปี 2550 สาขานักร้องกลุ่มยอดเยี่ยม

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]