แอลพีจีเอ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แอลพีจีเอ (อังกฤษ: LPGA; Ladies Professional Golf Association) เป็นองค์กรกอล์ฟอาชีพสำหรับสตรี มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เดย์โทนาบีช, รัฐฟลอริดา มักรู้จักกันในนาม แอลพีจีเอทัวร์ จะมีการจัดการแข่งขันกอล์ฟสำหรับสตรีในแต่ละสัปดาห์ของแต่ละฤดูกาล ซึ่งจะเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนธันวาคมของปี
ประวัติและการก่อตั้งองค์กร
[แก้]องค์กรกอล์ฟสตรีหรือแอลพีจีเอนั้นความจริงแล้วมีอยู่ทั่วโลก ซึ่งในแต่ละประเทศนั้นก็จะมีองค์กรแอลพีจีเอของตนเอง ซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป แต่สำหรับองค์กรแอลพีจีเอของสหรัฐอเมริกานั้น ถือเป็นองค์กรที่ใหญ่และมีผู้รู้จักมากที่สุด รวมถึงมีนักกอล์ฟสตรีชั้นนำจากแต่ละประเทศทั่วโลกร่วมเข้าแข่งขันในทัวร์นี้
แอลพีจีเอนั้นก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1950 โดยกลุ่มนักกอล์ฟ 13 คน ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรกีฬาสตรีของสหรัฐอเมริกาที่มีความเก่าแก่ที่สุด โดยมี ไมค์ วาน อดีตผู้บริหารการตลาดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬา รับตำแหน่งเป็นประธานบริหารแอลพีจีเอทัวร์คนปัจจุบัน โดยดำรงตำแหน่งเป็นคนที่ 8 ซึ่งรับตำแหน่งต่อจาก แครอลีน ไบเวนส์ ที่ลาออกเนื่องจากถูกกดดันและประท้วงจากผู้เล่นแอลพีจีเอทัวร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 ในขณะที่ไบเวนส์ลาออกนั้น แอลพีจีเอทัวร์มีรายการแข่งขันเหลือเพียง 14 รายการ เนื่องจากไบเวนส์ไม่สามารถลงนามสัญญาเพื่อการแข่งขันสำคัญหลายๆรายการได้ ทำให้เกิดความไม่พอใจของนักกอล์ฟในแอลพีจีเอทัวร์
นอกจากแอลพีจีเอทัวร์ที่เป็นทัวร์หลักแล้ว องค์กรแอลพีจีเอยังเป็นเจ้าของ แอลพีจีเอฟิวเจอร์ทัวร์ ซึ่งเป็นทัวร์ที่พัฒนานักกอล์ฟเข้าสู่แอลพีจีเอทัวร์ โดยผู้เล่นที่ทำอันดับเงินรางวัลอยู่ในลำดับต้นๆของฟิวเจอร์ทัวร์ในแต่ละปี จะได้รับสิทธิ์ให้เข้าเล่นในแอลพีจีเอทัวร์ในปีถัดไป
นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนควอลิฟายด์ (Qualifying School) โดยนักกอล์ฟที่ผ่านการควอลิฟายด์ ก็จะได้รับสิทธิ์ให้เข้าเล่นในแอลพีจีเอทัวร์เช่นเดียวกัน
เงินรางวัลและการแข่งขัน
[แก้]ในปี 2010 เงินรางวัลรวมทั้งหมดของแอลพีจีเอทัวร์อยู่ที่ 41.4 ล้านเหรียญ ซึ่งลดลงจากปี 2009 ถึง 6 ล้านเหรียญ ในปี 2010 นั้นมีการแข่งขันอย่างเป็นทางการทั้งหมด 24 รายการ ลดลงจาก 28 รายการในปี 2009 และ 34 รายการในปี 2008 แต่ถึงแม้การแข่งขันนั้นจะลดจำนวนลง ในปี 2010 จำนวนการแข่งขันที่จัดขึ้นนอกสหรัฐอเมริกานั้นยังคงอยู่เช่นเดิม ทั้ง 4 รายการแข่งขันที่หายไปนั้นล้วนเป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นในสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น และในปี 2016 จำนวนการแข่งขันได้เพิ่มขึ้นเป็น 33 รายการ และมีเงินรางวัลรวมอยู่ที่ 63 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นเงินรางวัลที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของแอลพีจีเอทัวร์
แอลพีจีเอนานาชาติ
[แก้]ในยุคแรกของการเริ่มต้น แอลพีจีเอนั้นประกอบไปด้วยผู้เล่นอเมริกันเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่ง แซนดรา โพสท์ นักกอล์ฟจากแคนาดา กลายเป็นนักกอล์ฟต่างชาติคนแรกที่ได้รับสิทธิ์ให้เล่นในแอลพีจีเอทัวร์ในปี 1968 ปัจจุบันผู้เล่นนานาชาติได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในแอลพีจีเอทัวร์เป็นอย่างมาก ครั้งล่าสุดที่นักกอล์ฟอเมริกันทำเงินรางวัลได้สูงสุดคือในปี 2014 โดย สเตซี ลูอิส ซึ่งเป็นนักกอล์ฟอเมริกันที่ทำได้ในรอบ 20 ปี, ชนะการแข่งขันมากที่สุด เมื่อปี 2012 โดย สเตซี ลูอิส เช่นกัน ซึ่งเป็นนักกอล์ฟอเมริกันที่ทำได้ในรอบ 15 ปี และตั้งแต่ปี 2000-2009 มีผู้เล่นนานาชาติชนะการแข่งขันรายการเมเจอร์ทั้งหมด 31 จาก 40 รายการ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 เห็นได้ชัดที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของนักกอล์ฟจากประเทศเกาหลีใต้ โดยมี เซ ริ พัค เป็นผู้จุดประกายให้กับนักกอล์ฟหญิงชาวเกาหลีใต้ให้เข้าสู่แอลพีจีเอทัวร์ โดยในปี 2009 มีผู้เล่นในแอลพีจีเอทัวร์ที่ไม่ใช่ผู้เล่นอเมริกันถึง 122 คน จาก 27 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจาก 122 คนนั้นเป็นผู้เล่นจากเกาหลีใต้ถึง 47 คน และจากจำนวน 33 รายการแข่งขันในปี 2006 มีเพียง 7 รายการเท่านั้น ที่ผู้ชนะเป็นผู้เล่นอเมริกัน, ในปี 2007 ผู้เล่นอเมริกันได้แชมป์เพิ่มขึ้นเป็น 12 รายการ และเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2000 ที่ผู้เล่นอเมริกันชนะ 2 รายการเมเจอร์, ในปี 2008 ผู้เล่นอเมริกันเริ่มมีการพัฒนามากขึ้น โดยชนะการแข่งขัน 9 จาก 34 รายการ เท่ากับผู้เล่นเกาหลีใต้ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นอเมริกันไม่สามารถชนะรายการเมเจอร์ได้เลยในปีนี้, ในปี 2009 ผู้เล่นอเมริกันชนะ 5 จาก 28 รายการ รวมถึงรายการเมเจอร์ 1 รายการ ในขณะที่ผู้เล่นเกาหลีใต้นั้นชนะไป 11 รายการ
การแข่งขันในแอลพีจีเอทัวร์
[แก้]การแข่งขันในแอลพีจีเอทัวร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2010 มี 2 รายการถูกจัดขึ้นในประเทศเม็กซิโก และอย่างละ 1 รายการในประเทศต่างๆ ได้แก่ สิงคโปร์, แคนาดา, ฝรั่งเศส, อังกฤษ, มาเลเซีย, เกาหลีใต้, ไทย และ ญี่ปุ่น และยังมีการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ ที่จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล และ จาเมกา ด้วย, ในปี 2011 รายการที่จาเมกาได้ถูกยกเลิกไป รายการที่อังกฤษถูกย้ายไปที่สก็อตแลนด์ และยังเพิ่มประเทศที่จัดการแข่งขันขึ้นอีก ได้แก่จีนและไต้หวัน และสำหรับการแข่งขันกอล์ฟระหว่างทีมยุโรปกับทีมสหรัฐอเมริกา โซลเฮม คัพ ในปีนี้จะจัดขึ้นที่ประเทศไอร์แลนด์
5 รายการแข่งขันที่จัดขึ้นนอกทวีปอเมริกาเหนือนั้นเป็นความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ได้แก่ รายการเดอะ เอเวียง แชมป์เปี้ยนชิพ และ วีเมนส์ บริติช โอเพ่น จัดร่วมกับ เลดี้ส์ยูโรเปี้ยนทัวร์, รายการ วีเมนส์ ออสเตรเลียน โอเพ่น (จัดร่วมกับ แอลพีจีเอออสเตรเลีย), รายการแอลพีจีเอ ฮานา แบงค์ แชมป์เปี้ยนชิพ (จัดร่วมกับ แอลพีจีเอเกาหลี) และรายการมิซูโน่ คลาสสิก (จัดร่วมกับ แอลพีจีเอญี่ปุ่น) ซึ่งทั้งสองรายการได้จัดขึ้นในทวีปเอเชีย
รายการเมเจอร์ของแอลพีจีเอทัวร์ปัจจุบัน ประกอบด้วย 5 รายการ ได้แก่:
- เอเอ็นเอ อินสไปเรชั่น (ชื่อเดิมคือ คราฟท์ นาบิสโก แชมป์เปี้ยนชิพ)
- วีเมนส์ พีจีเอ แชมป์เปี้ยนชิพ
- ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น
- เอไอจี บริติช โอเพ่น (ร่วมกับ เลดี้ส์ยูโรเปี้ยนทัวร์)
- เดอะ เอเวียง แชมป์เปี้ยนชิพ (ร่วมกับ เลดี้ส์ยูโรเปี้ยนทัวร์)
แอลพีจีเอ เพลย์ออฟ
[แก้]ในปี 2006-2008 แอลพีจีเอทัวร์จะมีรายการแข่งขันรายการสุดท้ายของปี ที่รู้จักกันในชื่อของ เอดีที แชมป์เปี้ยนชิพ ต่อมาในปี 2009 และ 2010 ได้เปลี่ยนเป็นรายการ แอลพีจีเอ ทัวร์ แชมป์เปี้ยนชิพ และในปี 2011 ได้เปลี่ยนเป็นรายการ ซีเอ็มอี กรุ๊ป ไตเติลโฮลเดอร์ ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน จนถึงปัจจุบัน
สำหรับรายการ ซีเอ็มอี กรุ๊ป ไตเติลโฮลเดอร์ นั้นจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2011 ซึ่งจะคัดเอา 3 ผู้เล่นที่มีผลงานดีที่สุดในแต่ละรายการของแอลพีจีเอทัวร์ตลอดทั้งฤดูกาล ผ่านเข้ามาเล่นในการแข่งขัน โดยใช้รูปแบบการคัดเลือกนี้ตั้งแต่ปี 2011-2013, ในปี 2014 เป็นต้นมาจะใช้รูปแบบของการเก็บคะแนนสะสมตลอดทั้งฤดูกาลแทน
สถิติ
[แก้]ปี | จำนวน | ประเทศ | สหรัฐอเมริกา | ต่างประเทศ | เงินรางวัล |
---|---|---|---|---|---|
2017 | 34 | 15 | 17 | 17 | 67,650,000 |
2016 | 33 | 14 | 18 | 15 | 63,200,000 |
2015 | 31 | 14 | 17 | 14 | 59,100,000 |
2014 | 32 | 14 | 17 | 15 | 57,550,000 |
2013 | 28 | 14 | 14 | 14 | 48,900,000 |
2012 | 27 | 12 | 15 | 12 | 47,000,000 |
2011 | 23 | 11 | 13 | 10 | 41,500,000 |
2010 | 24 | 10 | 14 | 10 | 41,400,000 |
2009 | 28 | 9 | 18 | 10 | 47,600,000 |
2008 | 34 | 8 | 24 | 10 | 60,300,000 |
2007 | 31 | 8 | 23 | 8 | 54,285,000 |
2006 | 33 | 8 | 25 | 8 | 50,275,000 |
2005 | 32 | 7 | 25 | 7 | 45,100,000 |
2004 | 32 | 6 | 27 | 5 | 42,875,000 |
รางวัลของแอลพีจีเอทัวร์
[แก้]ปัจจุบันแอลพีจีเอทัวร์มีการมอบรางวัลด้วยกัน 3 รางวัล ได้แก่
- The Rolex Player 30 คะแนน 12 คะแนน 9 คะแนน 7 คะแนน 6 คะแนน 5 คะแนน 4 คะแนน 3 คะแนน 2 คะแนน 1 คะแนน
- The Vare Trophy หรือ รางวัลถ้วยโทรฟี่ มอบให้กับผู้เล่นที่ทำคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดของปี
- The Louise Suggs Rolex Rookie of the Year Award หรือ รางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปี มอบให้กับผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีคะแนนสะสมสูงที่สุด
1978 แนนซี โลเปซ นักกอล์ฟชาวอเมริกันผู้เล่นคนเดียวประวัติศาสตร์แอลพีจีเอทัวร์สามารถชนะรางวัลพิเศษ 3 รางวัล ยังเป็นผู้เล่นที่ทำเงินรางวัลได้สูงสุด รวมถึงชนะการรายการแข่งขันมากที่สุดในปีนั้นอีกด้วย
ผู้เล่นที่ทำเงินรางวัลสูงสุดในแต่ละปี
[แก้]ลิงก์
[แก้]- ↑ "โปรจีน" อาฒยา คว้ารางวัลกอล์ฟ เกล็นนา คอลเลตต์ วาร์ โทรฟี 2023
- ↑ "Atthaya Thitikul Wins 2022 Louise Suggs Rolex Rookie Of The Year Award". LPGA. November 10, 2022.
- ↑ Levins, Keely (25 October 2021). "Patty Tavatanakit clinches Louise Suggs Rolex Rookie of the Year honors". Golf Digest. สืบค้นเมื่อ 25 October 2021.
- ↑ "Ariya Jutanugarn Earns 2018 Rolex Player of the Year Award". LPGA. October 30, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-26.
- ↑ "Jin Young Ko Earns 2018 Louise Suggs Rolex Rookie of the Year Award". LPGA. October 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-26. สืบค้นเมื่อ 2023-03-26.
- ↑ "Sung Hyun Park Clinches 2017 Louise Suggs Rolex Rookie of the Year Honors". LPGA. October 18, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-17. สืบค้นเมื่อ 2023-03-26.