ข้ามไปเนื้อหา

แอร์บัส เอ340

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แอร์บัส เอ340-300)
แอร์บัส เอ340


เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 19 (แอร์บัส เอ340-541) ของกองทัพอากาศไทย
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทอากาศยานไอพ่นลำตัวกว้าง
บริษัทผู้ผลิตแอร์บัส
สถานะในประจำการ
ผู้ใช้งานหลักลุฟต์ฮันซา
มาฮานแอร์
เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์
จำนวนที่ผลิต380 (ส่งมอบทั้งหมด 377 ลำ)
ประวัติ
สร้างเมื่อค.ศ. 1991 - 2011[1]
เริ่มใช้งาน15 มีนาคม ค.ศ. 1992 โดย ลุฟต์ฮันซาและแอร์ฟรานซ์
เที่ยวบินแรก25 ตุลาคม ค.ศ. 1991
พัฒนาจากแอร์บัส เอ300

แอร์บัส เอ340 เป็นเครื่องบินโดยสารเชิงพาณิชย์แบบลำตัวกว้างสี่เครื่องยนต์ระยะไกลที่ผลิตโดยแอร์บัส บริษัทลูกของ EADS ดีไซน์คล้ายกับ A330 เครื่องยนต์คู่

รุ่นนี้มี 4 รุ่น: A340-200 (ซึ่งสั้นที่สุด), A340-300, A340-500 และรุ่นที่ยาวที่สุดใน A340-600 A340-600 เป็นเครื่องบินโดยสารที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลก

มีสี่เครื่องยนต์ ทำให้ A340 ใช้เชื้อเพลิงมากกว่าเครื่องบินรุ่นอื่นๆ อย่างไรก็ตาม นั่นก็หมายความว่าไม่ต้องผ่านการทดสอบ ETOPS (ปฏิบัติการแฝดช่วงขยาย) เพื่อบินระยะไกล

Airbus A340 เลิกผลิตแล้ว เนื่องจากถูกแทนที่ด้วย Airbus A350 XWB ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันที่ 2 พฤศจิกายน​ พ.ศ. 2564 A340-313 ของสายการบิน hi fly เที่ยวบิน 5M801ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติเคปทาวน์​ลงจอดที่ Wolfs Fang Runway ควีนม็อดแลนด์ทวีปแอนตาร์กติกา[2][3]​ก่อนทำการบินกลับในเที่ยวบิน 5M802 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสต​ร์ที่สามารถนำเครื่อง A340 ลงจอดในที่ทวีปแอนตาร์กติกา​ได้สำเร็จ

ประวัติ

[แก้]
เมื่อเปรียบเทียบกับแอร์บัส เอ340 (ด้านหน้า) แอร์บัส เอ330 (ด้านหลัง) มีสองเครื่องยนต์ และไม่มีล้อลงจอดกลาง
เอ340-200 ลำแรกของลุฟท์ฮันซ่า ในลวดลายพิเศษสตาร์อัลไลแอนซ์ ที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตในปี 2000

ในช่วงที่แอร์บัสพัฒนาแอร์บัส เอ300 ในช่วงทศวรรษที่ 1970 แอร์บัสได้มีการเริ่มแผนที่จะพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ เพื่อแข่งขันกับโบอิงและแมคดอนเนลล์ดักลาส โดยได้เริ่มศึกษาแอร์บัส เอ300B4 เอนำมาพัฒนาต่อเป็นรุ่นใหม่[4] ซึ่งก่อนที่จะเปิดตัวเอ300 แอร์บัสได้ออกแบบรุ่นอื่นที่พัฒนาต่อถึงสิบรุ่น ใช้ชื่อตั้งแต่เอ300B1-B10[5][6] โดยรุ่น B10 เป็นเครื่องบินขนาดเล็ก ที่ต่อมาจะพัฒนาเป็นแอร์บัส เอ310 จากนั้นแอร์บัสก็มุ่งไปที่ตลาดอากาศยานลำตัวแคบ โดยได้สร้างเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320 ซึ่งเป็นเครื่องบินพาณิชย์แบบบินด้วยระบบฟลายบายไวร์ลำแรก[6]

เพื่อแยกความแตกต่างของโปรแกรมจากการศึกษาเอสเอ (เอสเอ หมายถึง "ทางเดินเดี่ยว") โครงการ B9 และ B11 ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น TA9 และ TA11 (TA หมายถึง "ทางเดินคู่") ตามลำดับ[7] ในความพยายามที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา แอร์บัสตัดสินใจที่จะใช้ปีกและโครงเครื่องบินเดียวกันร่วมกันทั้งสองรุ่น การใช้โครงสร้างปีกร่วมกันยังมีข้อได้เปรียบทางเทคนิคอย่างหนึ่ง: เครื่องยนต์ติดท้ายเรือของ TA11 สามารถรับน้ำหนักของรุ่นที่มีพิสัยบินยาวกว่าได้ด้วยการผ่อนแรงในการโค้งงอ อีกปัจจัยหนึ่งคือความชอบที่แตกต่างกันของผู้ที่อยู่ภายในแอร์บัสและความคาดหวังของสายการบิน

แอร์บัส เอ340 ลำแรก รุ่น −200 ได้ส่งมอบให้กับลุฟท์ฮันซ่าเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 และเข้าประจำการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม[6] เครื่องบิน A340-300 ลำแรก ซึ่งเป็นเครื่องบินของแอร์บัสลำที่ 1,000 ได้ถูกส่งมอบให้กับแอร์ฟรานซ์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์[6] แอร์ฟรานซ์ทดแทนเครื่องโบอิง 747 ด้วยเครื่องบิน เอ340 ในเส้นทางปารีส-วอชิงตัน ดี.ซี. โดยทำการบินสี่เที่ยวต่อสัปดาห์[6] ลุฟท์ฮันซาตั้งใจที่จะทดแทนดีซี-10 ที่เก่าแล้วด้วยแอร์บัส เอ340 ในเส้นทางแฟรงก์เฟิร์ต-นิวยอร์ก

รุ่น

[แก้]

เอ340-200

[แก้]
แอร์บัส เอ340-200 ของกองทัพอากาศฝรั่งเศส

แอร์บัส เอ340−200 เป็นหนึ่งในสองรุ่นเริ่มต้นของแอร์บัส เอ340 โดยมีที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 261 ที่นั่งในรูปแบบห้องโดยสารสามชั้น ที่มีพิสัยการบิน 13,800 กิโลเมตร (7,500 ไมล์ทะเล) หรือที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 240 ที่นั่งในรูปแบบห้องโดยสารสามชั้นสำหรับพิสัยการบิน 15,000 กิโลเมตร (8,100 ไมล์ทะเล)[8] รุ่น -200 เป็นรุ่นที่สั้นที่สุดของตระกูลและเป็นรุ่นเดียวที่มีปีกกว้างกว่าความยาวลำตัว เอ340-200 ใช้เครื่องยนต์ ซีเอฟเอ็ม56-5C4 สี่เครื่อง[9] แอร์ฟรานซ์เริ่มให้บริการรุ่น -200 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1993 แอร์บัสได้ผลิตเอ340-200 เพียง 28 ลำเท่านั้น เพราะมีปีกขนาดใหญ่และมีสี่เครื่องยนต์ รวมถึงความจุของผู้โดยสารที่น้อยกว่ารุ่นอื่นๆ โดยมีคู่แข่งสำคัญคือ โบอิง 767-400อีอาร์

เอ340-300

[แก้]
แอร์บัส เอ340-300 ของลุฟท์ฮันซ่า

แอร์บัส เอ340-300 สามารถจุผู้โดยสารได้ 295 คนในรูปแบบห้องโดยสารสามชั้นโดยทั่วไปด้วยพิสัยการบินกว่า 6,700 ไมล์ทะเล (12,400 กม.) เครื่องบินรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของตระกูล เริ่มบินเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1991 และเข้าประจำการกับลุฟท์ฮันซ่าและแอร์ฟรานซ์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1993 รุ่น -300 ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ซีเอฟเอ็ม56-5C สี่เครื่อง และใช้เอพียูของฮันนี่เวลล์ คล้ายกัเรุ่น −200 ต่อมาเอ340-300 ถูกแทนที่ด้วยแอร์บัส เอ350-900[10] คู่แข่งหลักคือโบอิง 777-200อีอาร์[11] โดยมีการส่งมอบรุ่น -300 ทั้งหมด 218 ลำ

เอ340-300E

[แก้]

แอร์บัส เอ340-300E ซึ่งมักเขียนผิดเป็น เอ340-300X เป็นรุ่นที่เพิ่มน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด โดยเพิ่มขึ้น 275 ตัน (606,000 ปอนด์) และขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แรงขับ 34,000 ปอนด์ (150 กิโลนิวตัน) ในรุ่นนี้จะติดตั้งเครื่องยนต์ CFM56-5C4/P รุ่นใหม่และระบบการบินที่ดีขึ้น รวมถึงระบบฟลายบายไวร์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับ เอ340-500 และ −600 ในการจัดเรียงที่นั่งปกติ จะสามารถจุผู้โดยสารได้ 295 คนในพิสัยการบิน 7,200 ถึง 7,400 ไมล์ทะเล (13,300 ถึง 13,700 กม.) ผู้ให้บริการรุ่นนี้ที่ใหญ่ที่สุดคือลุฟท์ฮันซ่า ซึ่งให้บริการจำนวน 30 ลำ และยังมีการส่งมอบให้กับเซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ในปี 2003 และแอร์มอริเชียสในปี 2006

เอ340-500

[แก้]
แอร์บัส เอ340-500 ของการบินไทย

แอร์บัส เอ340-500 เป็นรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยเริ่มบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 และได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม โดยมีแผนจะเปิดตัวกับแอร์แคนาดา แต่ถูกฟ้องล้มละลายในเดือนมกราคม ค.ศ. 2003 เอมิเรตส์จึงเปิดตัวรุ่น -500 ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน[12] เอ340-300 สามารถจุผู้โดยสารได้ 313 คนในรูปแบบห้องโดยสารสามชั้นด้วยพิสัยการบินกว่า 16,020 กม. (8650 ไมล์ทะเล) เมื่อเปรียบเทียบกับ เอ340-300 เอ340−500 มีลำตัวที่ยาวกว่า 4.3 เมตร (14.1 ฟุต) ปีกที่ขยายใหญ่ขึ้น ความจุเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น (มากกว่ารุ่น −300 ประมาณ 50%) ความเร็วใระหว่างบินที่สูงขึ้นเล็กน้อย มีขนาดใหญ่ขึ้น ระบบกันโคลงในแนวนอนและระนาบท้ายแนวตั้งที่ใหญ่ขึ้น ล้อหลักกลางเปลี่ยนเป็นโบกี้สี่ล้อเพื่อรองรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น รุ่น -500 ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทรนต์ 553 แรงขับ 240 กิโลนิวตัน (54,000 ปอนด์) และใช้เอพียูของฮันนี่เวลล์[9]

เอ340-600

[แก้]
แอร์บัส เอ340-600 ของกาตาร์แอร์เวย์

ออกแบบมาเพื่อแทนที่โบอิง 747 รุ่นแรก แอร์บัส เอ340-600 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 379 คนในรูปแบบห้องโดยสารสามชั้นด้วยพิสัยการบิน 13,900 กม. (7,500 ไมล์ทะเล) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ใกล้เคียงกับโบอิง 747 แต่มีปริมาณการบรรทุกเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่นั่งที่ต่ำกว่า เอ340-600 ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2001[6] เวอร์จิน แอตแลนติกเปิดตัวรุ่น -600 ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2002[13] โดยมีคู่แข่งหลักคือ โบอิง 777-300อีอาร์ ในเวลาต่อมา เอ340-600 ถูกแทนที่ด้วยเอ350-1000

เอ340-600 ยาวกว่ารุ่น −300 อยู่ประมาณ12 ม. (39 ฟุต 4.4 นิ้ว) ซึ่งยาวกว่าโบอิง 747-400 มากกว่า 4 ม. (13 ฟุต 1.5 นิ้ว) และยาวกว่า เอ380 2.3 ม. (7 ฟุต 6.6 นิ้ว) และมีประตูทางออกฉุกเฉินเพิ่มอีก 2 บาน โดย ณ เวลาที่ปล่อนตัว แอร์บัส เอ340-600 เป็นอากาศยานที่มีลำตัวยาวที่สุดในโลก ก่อนที่จะเปิดตัวโบอิง 747-8 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 แอร์บัส เอ340-600 ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โรลส์ - รอยซ์ 250 กิโลนิวตัน (56,000 ปอนด์) สี่ตัวและใช้เอพียูฮันนี่เวลล์ 331 –600[A][9] ในช่วงต้นปี 2007 มีรายงานว่าแอร์บัสแนะนำให้สายการบินลดการบรรทุกสินค้าในส่วนข้างหน้าลง 5.0 ตัน (11,000 ปอนด์) เพื่อชดเชยน้ำหนักส่วนเกินของชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทำให้จุดศูนย์ถ่วงของเครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้าซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการบินลดลง สายการบินที่ได้รับผลกระทบพิจารณายื่นคำร้องขอชดเชยกับแอร์บัส[14]

เอ340-600HGW

[แก้]

แอร์บัส เอ340-600HGW (น้ำหนักรวมสูง) บินครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005[15] และได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2006[16] โดยมีน้ำหนักขึ้นบินสุงสุด 380 ตัน (840,000 ปอนด์) และพิสัยการบิน 14,630 กม. (7,900 ไมล์ทะเล) โดยมีการเสิรมโครงสร้างให้แข็งแรงขึ้น เพิ่มความจุเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ที่ทรงพลังยิ่งขึ้น และเทคนิคการผลิตใหม่ๆ เช่น การเชื่อมลำแสงเลเซอร์ เอ340-600HGW ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ เทรนต์ 560 แรงขับ 61,900 ปอนด์ (275 กิโลนิวตัน) สี่ตัว เอมิเรตส์เป็นลูกค้าเปิดตัวรุ่น −600HGW โดยสั่งซื้อ 18 ลำที่งานปารีสแอร์โชว์ ปี 2003[17] แต่ก็ได้เลื่อนการสั่งซื้อออกไปอย่างไม่มีกำหนดและยกเลิกในภายหลัง กาตาร์แอร์เวย์ คู่แข่งหลักของเอมิเรตส์ ได้สั่งซื้อในงาน และได้รับมอบเครื่องบินเพียงสี่ลำ โดยเครื่องบินลำแรกเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2006[18] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สายการบินได้ปล่อยให้ตัวเลือกการซื้อของตนหมดอายุ เพื่อที่จะรองรับการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 777-300อีอาร์[19]

ผู้ให้บริการ

[แก้]

ในช่วงระยะเวลาของโครงการ มีการส่งมอบเครื่องบินตระกูล เอ340 ทั้งหมด 377 ลำ โดยในเดือนมิถุนายน 2022 มีเอ340 ให้บริการ 207 ลำ ผู้ให้บริการนรายใหญ่ที่สุดได้แก่ ลุฟท์ฮันซ่า (34), มาฮานแอร์ (12), เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ (10 ), และสวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (5)[20]

การส่งมอบ

[แก้]
2007 2006 2005 2004 2003 2002 2001 2000 1999 1998 1997 1996 1995 1994 1993 1992 1991
2 24 24 28 33 16 22 19 20 24 33 28 19 25 22 0 0

ข้อมูลจำเพาะ

[แก้]
ภาพด้านข้างของแอร์บัส เอ340 ทั้ง 4 รุ่น
รุ่น เอ340-200[21] เอ340-300[21] เอ340-500[22] เอ340-600[22]
นักบิน 2
ทีนั่ง (3 ชั้น)[23] 210–250 250–290 270–310 320–370
ความยาว 59.39 m / 194 ft 10 in 63.66 m / 208 ft 10 in 67.33 m / 220 ft 11 in 74.77 m / 245 ft 3 in
ความยาวปีก 60.3 m / 197.83 ft 63.45 m / 208.17 ft
ปีก[24] 363.1 m2 (3,908 sq ft), 29.7° sweep, 10 AR 437.3 m2 (4,707 sq ft), 31.1° sweep, 9.2 AR
ความสูง 17.03 m / 55.86 ft 16.99 m / 55.72 ft 17.53 m / 57.51 ft 17.93 m / 58.84 ft
ห้องโดยสาร 5.287 m / 208.15 in cabin width, 5.64 m / 18.5 ft outside width
ความจุสินค้า 132.4 m3 (4,680 cu ft) 158.4 m3 (5,590 cu ft) 149.7 m3 (5,290 cu ft) 201.7 m3 (7,120 cu ft)
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด 275 t (606,000 lb) 276.5 t (610,000 lb) 380 t (840,000 lb)
น้ำหนักเครื่องเปล่า 118 t (260,000 lb) 131 t (289,000 lb) 168 t (370,000 lb) 174 t (384,000 lb)
ความจุเชื้อเพลิง 110.4 t / 243,395 lb 175.2 t / 386,292 lb 155.5 t / 342,905 lb
เครื่องยนต์ (×4) ซีเอฟเอ็ม อินเตอร์เนชันแนล ซีเอฟเอ็ม 56-5C เทรนต์ 553 เทรนต์ 556
แรงผลักดัน (×4) 138.78–151.24 kN (31,200–34,000 lbf) 248.12–275.35 kN (55,780–61,902 lbf)
ความแร็ว มัค 0.86 (1.054 กม./ชม.) (สูงสุด),[23]มัค 0.82 (1,005 กม.ชม.) (ขณะบิน)
พิสัยการบิน[23] 12,400กม. / 6,700 ไมล์ทะเล 13,500กม. / 7,300 ไมล์ทะเล 16,670กม. / 9,000 ไมล์ทะเล 14,450กม. / 7,800 ไมล์ทะเล
ระยะทางขึ้นบิน 2900ม. 3000ม. 3350ม. 3400ม.
เพดานบิน 41 100 ft (12 527 m) 41 450 ft (12 634 m)

เครื่องยนต์

[แก้]
รุ่น เครื่อยนต์
เอ340-211 ซีเอฟเอ็ม 56-5C2
เอ340-212 ซีเอฟเอ็ม 56-5C3
เอ340-213 ซีเอฟเอ็ม 56-5C4
เอ340-311 ซีเอฟเอ็ม 56-5C2
เอ340-312 ซีเอฟเอ็ม 56-5C3
เอ340-313 ซีเอฟเอ็ม 56-5C4
เอ340-541 อาร์อาร์ เทรนต์ 553-61 / 553A2-61
เอ340-542 อาร์อาร์ เทรนต์ 556A2-61
เอ340-642 อาร์อาร์ เทรนต์ 556-61 / 556A2-61
เอ340-643 อาร์อาร์ เทรนต์ 560A2-61

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

รุ่นที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Completion of production marks new chapter in the A340 success story". Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-02. สืบค้นเมื่อ 2015-09-04.
  2. A340 flight to Antarctic Runway
  3. Hi Fly lands first ever Airbus A340 in Antarctica, สืบค้นเมื่อ 2022-01-13
  4. Wensveen, J. G. (2007). Air transportation : a management perspective. Alexander T. Wells (6th ed ed.). Aldershot, England: Ashgate. ISBN 978-0-7546-8474-9. OCLC 367582331. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  5. Gunston, Bill (2009). Airbus : the complete story (2nd ed ed.). Sparkford, Yeovil, Somerset: Haynes Pub. ISBN 978-1-84425-585-6. OCLC 421811014. {{cite book}}: |edition= has extra text (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Norris, Guy (2001). Airbus A340 and A330. Mark Wagner. Osceola, Wis.: MBI. ISBN 0-7603-0889-6. OCLC 47192267.
  7. Civil aircraft today : the world's most successful commercial aircraft. Paul E. Eden. London: Amber Books. 2008. ISBN 978-1-905704-86-6. OCLC 255970386.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  8. "A330/A340 Family". web.archive.org. 2010-11-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-19. สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 "MyAerospace Product". web.archive.org. 2011-07-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.
  10. "The Market for Large Commercial Jet Transports 2011–2020" Archived 29 September 2011 at the Wayback Machine. Forecast International, July 2011.
  11. "Boeing: 777 way much better than A330". 8 December 2010.
  12. Hayward, Justin (2021-11-10). "Which Airline Was The Airbus A340's Launch Customer?". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. "Vrigin Atlantic's A340-600 - the longest plane in the world - takes its first commercial flight - Latest Travel News - August 2002 - TravelNewsAsia.com". www.asiatraveltips.com.
  14. "Carriers ponder compensation claims against Airbus for overweight aircraft-Business-Industry Sectors-Engineering-TimesOnline". web.archive.org. 2007-04-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. "New A340-600 takes to the skies". web.archive.org. 2006-05-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.
  16. "Newly certified A340-600 brings 18% higher productivity". web.archive.org. 2006-06-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-16. สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.
  17. "Emirates orders 41 additional Airbus aircraft". web.archive.org. 2006-05-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-19. สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.
  18. "Qatar Airways First Airbus A340-600 Arrives in Doha". www.qatarairways.com
  19. WALLACE, By JAMES (2007-11-30). "First Boeing jet of many touches down in Qatar". Seattle Post-Intelligencer (ภาษาอังกฤษ).
  20. "Orders and deliveries | Airbus". www.airbus.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-06-16.
  21. 21.0 21.1 "Aircraft Characteristics Airport Planning – A340-200/300" (PDF). Airbus. July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 November 2021.
  22. 22.0 22.1 "Aircraft Characteristics Airport Planning – A340-500/600" (PDF). Airbus. July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 November 2021.
  23. 23.0 23.1 23.2 "A340-200". 16 June 2021., "A340-300". 16 June 2021., "A340-500". 16 June 2021., "A340-600". Airbus. 16 June 2021.
  24. "Airbus Aircraft Data File". Civil Jet Aircraft Design. Elsevier. July 1999.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]