แอนาเล็มมา
ในทางดาราศาสตร์ แอนาเล็มมา (อังกฤษ: analemma; IPA: /ˌænəˈlɛmə/ ภาษาละตินใช้เรียกฐานของนาฬิกาแดด) หมายถึงเส้นโค้งที่แสดงถึงตำแหน่งเชิงมุมของวัตถุท้องฟ้าบนทรงกลมท้องฟ้า (ปกติหมายถึงดวงอาทิตย์) โดยมองจากวัตถุท้องฟ้าอีกที่หนึ่ง (ปกติหมายถึงโลก) ตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้ว่าวันโดยเฉลี่ยของโลกเท่ากับ 24 ชั่วโมง แอนาเล็มมาสามารถติดตามได้โดยการทำเครื่องหมายตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ที่มองจากสถานที่หนึ่งๆ บนโลกในเวลาเดิมทุก 24 ชั่วโมงตลอดทั้งปี ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะปรากฏเป็นเส้นโค้งคล้ายเลขแปด
มีตัวแปรสามอย่างที่ส่งผลถึงรูปร่างของแอนาเล็มมาได้แก่ ความเอียงของแกน ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร และมุมระหว่างเส้นแอปส์ (apse line) กับเส้นตรงของอายัน สำหรับวัตถุท้องฟ้าที่มีวงโคจรเป็นวงกลมโดยสมบูรณ์และไม่มีความเอียงของแกนดาว ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งเดิมในเวลาเดิมทุกวัน รูปร่างแอนาเล็มมาจะเป็นแค่เพียงจุดจุดเดียว สำหรับวัตถุท้องฟ้าที่มีวงโคจรและความเอียงของแกนเท่ากับโลก จะมองเห็นเป็นเลขแปดที่วงวนด้านเหนือกับวงวนด้านใต้จะมีขนาดเท่ากัน และสำหรับวัตถุท้องฟ้าที่มีวงโคจรเหมือนโลกแต่ไม่มีความเอียงของแกน แอนาเล็มมาจะเป็นรูปเส้นตรงขนานไปกับทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
แอนาเล็มมาบนโลก
[แก้]เนื่องจากแกนโลกเอียง 23.45° และวงโคจรที่เป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏในเวลาเดียวกันของแต่ละวันต่างกัน และความเอียงของวงวนของแอนาเล็มมาจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งละติจูดบนโลกที่ต่างกัน (แต่เป็นรูปเลขแปดเหมือนกัน)
แอนาเล็มมาที่วาดโดยขยายแกนออก แสดงให้เห็นถึงความไม่สมมาตรเล็กน้อยของวงวน เกิดจากการทำมุมระหว่างเส้นแอปส์กับเส้นตรงของอายัน
แอนาเล็มมาอื่นๆ
[แก้]บนโลกนั้น แอนาเล็มมาปรากฏเป็นรูปเลขแปด แต่บนดาวเคราะห์ดวงอื่นจะมีรูปร่างต่างออกไป เนื่องจากรูปร่างของวงโคจรและความเอียงของแกนดาวเคราะห์ที่แตกต่างกัน[1] โดยหนึ่งวันของดาวเคราะห์จะมีความหมายว่า เป็นเวลาที่ดาวเคราะห์หมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบโดยอ้างอิงกับด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์
- ดาวพุธ: หนึ่งวันบนดาวพุธจะยาวนานเท่ากับ 2 ปี ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในเวลาเดียวกันทุกวันแทบจะเป็นจุด และแอนาเล็มมาเป็นเส้นตรงที่ยาวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
- ดาวศุกร์: เนื่องจากบนดาวศุกร์มีเวลาน้อยกว่าสองวันในหนึ่งปี ทำให้ต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อที่จะติดตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และแอนาเล็มที่ได้นั้นจะเป็นรูปวงรี
- ดาวอังคาร: เป็นรูปหยดน้ำ
- ดาวพฤหัสบดี: เป็นรูปวงรี
- ดาวเสาร์: โดยทางเทคนิคแล้วแอนาเล็มมาเป็นรูปเลขแปด แต่วงวนทางด้านเหนือมีขนาดเล็กมากจนมองคล้ายรูปหยดน้ำ
- ดาวยูเรนัส: รูปเลขแปด
- ดาวเนปจูน: รูปเลขแปด
- ดาวพลูโต: รูปเลขแปด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 2007-05-10.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Astronomy Picture of the Day, 2002 9 กรกฎาคม: Analemma
- Astronomy Picture of the Day, 2003 20 มีนาคม: Sunrise Analemma
- Astronomy Picture of the Day, 2004 21 มิถุนายน: Analemma over Ancient Nemea
- Astronomy Picture of the Day, 2005 13 กรกฎาคม: Analemma of the Moon
- Astronomy Picture of the Day, 2006 23 ธันวาคม: Analemma over the Temple of Olympian Zeus
- Astronomy Picture of the Day, 2006 30 ธันวาคม: Martian Analemma at Sagan Memorial Station (simulated)
- Analemma Series from Sunrise to Sunset
- Analemma explanation by John Holtz
- Earth Science Photo of the Day, Jan 22, 2005 เก็บถาวร 2007-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Equation of Time and the Analemma, by Kieron Taylor เก็บถาวร 2015-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- An article by Brian Tung, contains link to a C program using a more accurate formula than most (particularly at high inclinations and eccentricities) เก็บถาวร 2009-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Analemma for Latitudinally-Challenged People explains rising and setting analemmas as viewed from different latitudes. It provides more depth than most analemma sources. PDF format. 1,433 Kb.
- Analemma.com is dedicated to the analemma.
- Calculate and Chart the Analemma is a web site offered by a Fairfax County Public Schools planetarium that describes the analemma and also offers a downloadable spreadsheet that allows the user to experiment with analemmas of varying shapes.