ข้ามไปเนื้อหา

แอนดี ร็อดดิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนดี ร็อดดิก
ร็อดดิกในปี 2012
ชื่อเต็มแอนดรูว์ สตีเฟน ร็อดดิก
ประเทศ (กีฬา) สหรัฐอเมริกา
ถิ่นพำนักออสติน, เท็กซัส, สหรัฐอเมริกา
วันเกิด (1982-08-30) สิงหาคม 30, 1982 (42 ปี)
โอมาฮา, เนแบรสกา, U.S.
คู่สมรสBrooklyn Decker (สมรส 2009)
บุตร2
ส่วนสูง1.88 m (6 ft 2 in)[1]
การเล่นมือขวา (แบ็กแฮนด์สองมือ)
Int. Tennis HoF2017 (member page)
เดี่ยว
สถิติอาชีพ612–213
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว
ออสเตรเลียนโอเพนSF (2003, 2005, 2007, 2009)
เฟรนช์โอเพน4R (2009)
วิมเบิลดันF (2004, 2005, 2009)
ยูเอสโอเพนW (2003)
การแข่งขันอื่น ๆ
Tour FinalsSF (2003, 2004, 2007)
Olympic Games3R (2004)
คู่
สถิติอาชีพ68–51 (57.14%)
รายการอาชีพที่ชนะ4
อันดับสูงสุดNo. 50 (January 11, 2010)
ผลแกรนด์สแลมคู่
เฟรนช์โอเพน1R (2009)
วิมเบิลดัน1R (2001)
ยูเอสโอเพน2R (1999, 2000)
การแข่งขันแบบทีม

แอนดี ร็อดดิก (อังกฤษ: Andy Roddick[2]) เจ้าของฉายา "เอร็อด" (อังกฤษ: A-Rod) เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2525 เป็นอดีตนักเทนนิสที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและเป็นอดีตมือวางอันดับ 1 ของโลกจำนวน 13 สัปดาห์ เจ้าของตำแหน่งชนะเลิศรายการแกรนด์สแลม 1 สมัย (ยูเอสโอเพน ค.ศ. 2003) และรองชนะเลิศอีก 4 สมัย[3] รวมทั้งชนะเลิศการแข่งขันเดวิสคัพในนามทีมชาติสหรัฐ 1 สมัย (ค.ศ. 2007) ร็อดดิกสามารถทำอันดับติด 1 ใน 10 ของโลกจำนวน 9 ปีติดต่อกันตั้งแต่ ค.ศ. 2002–10

ร็อดดิกครองสถิติโลกในยุคโอเพนจำนวน 3 รายการได้แก่ การทำคะแนนได้จำนวน 39 เกมในการแข่งขันวิมเบิลดันรอบชิงชนะเลิศปี 2009, เป็นผู้เล่นที่ชนะในการแข่งขันไทเบรก 18 ครั้งติดต่อกันในปี 2007 และสถิติเสริ์ฟด้วยความเร็วสูงที่สุดในการแข่งขันแกรนด์สแลมยูเอสโอเพนปี 2004 (ความเร็วกว่า 152 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2012 ในระหว่างการแข่งขันแกรนด์สแลมยูเอสโอเพน และในวันคล้ายเกิดครบรอบ 30 ปี ร็อดดิกได้ประกาศยุติการเล่นอาชีพหลังจากจบการแข่งขัน[4] (ซึ่งเขาพ่ายให้กับ ฆวน มาร์ติน เดลโปโตรในรอบที่ 4) ร็อดดิกได้ให้เหตุผลว่าเขาต้องออกจากวงการกีฬาเพื่อมุ่งเน้นไปที่งานของเขาที่มูลนิธิแอนดี ร็อดดิก[5] อย่างเต็มที่ และรู้สึกว่าตนเองขาดความกระหายที่จะลงแข่งขันในระดับสูงรวมทั้งต้องประสบกับปัญหาการบาดเจ็บ

นอกเหนือจากอาชีพนักเทนนิส ร็อดดิกยังเป็นนายแบบให้แก่นิตยสารชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นนิตยสารโรลลิงสโตน ไปจนถึง นิตยสารโว้ก[6] เขาได้รับเลือกให้เป็นนักกีฬาที่เซ็กซี่ที่สุดจากการคัดเลือกบุคคลที่เซ็กซี่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ของนิตยสารพีเพิล ฉบับเดือนธันวาคม ปี 2003 อีกทั้งยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็น 1 ใน 50 หนุ่มโสดที่เนื้อหอมที่สุดของนิตยสารพีเพิล ฉบับเดือนมิถุนายนปี 2004 ร็อดดิกได้รับการเสนอชื่อให้เป็นสมาชิกที่ปรึกษาในด้านการกีฬาและฟิตเนสของประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ในเดือนพฤษภาคมปี 2006 นอกจากนี้ เขายังได้รับรางวัลอาร์เธอร์ เอช ฮิวแมนิทาเรียน ประจำปี 2004 อีกด้วย ร็อดดิกได้รับเกียรติเสนอชื่อให้เข้าสู่หอเกียรติยศของสมาคมเทนนิสนานาชาติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2017[7] ร่วมกับ คิม ไคลส์เตอร์ อดีตผู้เล่นอันดับ 1 ของโลกจากเบลเยียม

ประวัติและชีวิตในช่วงต้น

[แก้]

ร็อดดิกเป็นลูกคนสุดท้องในบรรดาพี่น้องสามคนซึ่งเป็นผู้ชายทั้งหมด เขาเกิดที่เมือง โอมาฮา, รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา[8] เป็นลูกชายของ Blanche (née Corell) คุณครู และ Jerry Roddick นักธุรกิจ ร็อดดิกมีพี่ชายสองคนได้แก่ ลอเรนซ์ และ จอห์น ซึ่งทั้งคู่ได้เริ่มเล่นเทนนิสตั้งแต่อายุยังน้อยเช่นกัน ร็อดดิกอาศัยที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัสตั้งแต่อายุ 4 ถึง 11 ปี[9] จากนั้นเขาได้ย้ายไปโบคาเรตันรัฐฟลอริดาเพื่อเริ่มฝึกฝนการเล่นเทนนิสร่วมกับพี่ชาย เขาเข้าเรียนที่ SEK Boca Prep International School และสำเร็จการศึกษาในปี 2000 ร็อดดิกยังเรียนชั้นมัธยมปลายทางออนไลน์กับมหาวิทยาลัยเนแบรสกา ในสมัยมัธยมร็อดดิกยังเคยเล่นบาสเกตบอลในฐานะตัวแทนของโรงเรียนมัธยมร่วมกับมาร์ดี้ ฟิช ก่อนที่ทั้งคู่จะกลายมาเป็นนักเทนนิสอาชีพร่วมกันในอนาคต ในช่วงเวลาดังกล่าวร็อดดิกได้ฝึกฝนการเล่นเทนนิสร่วมกับวีนัส และ เซเรน่า วิลเลียมส์เป็นระยะๆ ต่อมาเขาได้ย้ายกลับไปที่ออสติน นักเทนนิสที่เขาชื่นชอบในวัยเด็กคือ อานเดร แอกัสซี ตำนานรุ่นพี่ชาวอเมริกัน[10]

รูปแบบการเล่น

[แก้]

ร็อดดิกถูกจัดอยู่ในกลุ่มผู้เล่นที่ลูกเสริ์ฟที่รุนแรงและเร็วมากที่สุดคนหนึ่งใน เอทีพี ทัวร์ อีกทั้งยังเป็นผู้เล่นที่มีกราวน์สโตรกที่หนักหน่วงจากทั้งสองฝั่งของสนาม[11] ลูกเสิร์ฟของร็อดดิกจะเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 130–150 ไมล์ต่อชั่วโมง (209 - 242 กม. / ชม.) และมักจะโต้กลับมาได้ยาก ครั้งหนึ่งเขาเคยทำสถิติเสิร์ฟด้วยความเร็วที่สุดอยู่ที่ 155 ไมล์ต่อชั่วโมง (249.4 กม. / ชม.)

ร็อดดิกจะใช้กลยุทธ์เสิร์ฟและตามขึ้นเล่นลูกวอลเลย์หลังจากการเสิร์ฟทั้งลูกแรกและลูกที่สอง แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วเขาจะชอบอยู่ใกล้เส้นเบสไลน์หลังการเสิร์ฟ เขาได้พัฒนารูปแบบการเล่นแบบออลคอร์ทมากขึ้น และแม้ว่าการตีแบ็คแฮนด์ของร็อดดิกจะเป็นจุดอ่อนตลอดอาชีพของเขา แต่ก็ถือว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นบ้างในปี 2009 ภายใต้คำแนะนำของ Stefanki

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

แอนดี ร็อดดิก เริ่มคบหากับ บรูคลิน เดคเกอร์ นางแบบและนักแสดงชื่อดังชาวอเมริกันตั้งแต่ปี 2007[12] ทั้งคู่ได้ประกาศหมั้นกันอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมปี 2008 ก่อนจะเข้าพิธีสมรสเมื่อวันที่ 17 เมษายน ปี 2009 ณ เมืองออสติน รัฐเท็กซัส[13] และมีบุตรชายคนแรกชื่อ "แฮงก์" ในปี 2015 ตามด้วยบุตรสาวในปี 2017 ชื่อว่า "สเตวี่" ในปี 2011 และในปีเดียวกันนั้น ร็อดดิกปรากฏตัวในภาพยนตร์ตลกของ อดัม แซนด์เลอร์ เรื่อง Just Go with It ร่วมกับบรู๊คลินเด็คเกอร์ภรรยาในชีวิตจริงของเขา

ในปี 2006 เขาได้เปิดตัวน้ำหอมสำหรับผู้ชายยี่ห้อ "Andy Roddick" ซึ่งเขาได้ออกแบบและพัฒนากลิ่นด้วยตัวเอง

การกุศล

[แก้]

ร็อดดิกได้ก่อตั้งมูลนิธิ Andy Roddick Foundation ในปี 2000 ในขณะที่เขามีอายุเพียง 17 ปี[14] โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสที่ต้องการเล่นกีฬาแต่ขาดแคลนทรัพยากร โดยในช่วงแรกโครงการได้ช่วยเหลือเด็กทั่วทุกภูมิภาคในสหรัฐอเมริกา ก่อนจะขยายไปยังทวีปอื่นๆโดยเฉพาะทวีปแอฟริกาในเวลาเพียงไม่กี่ปี โดยร็อดดิกกล่าวว่าตนเองมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักเทนนิสและอาชีพและวันหนึ่งหากตนประสบความสำเร็จแล้วก็จะเปิดมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเด็กๆอย่างเป็นทางการ โดยร็อดดิกยังถือเป็นนักเทนนิสที่มีอายุน้อยที่สุดที่เปิดมูลนิธิเป็นของตนเอง ปัจจุบันมูลนิธิมี แชนนอน แบรนด์ เป็นประธานกรรมการ

สถิติการแข่งขันอาชีพ

[แก้]

แกรนด์สแลมประเภทชายเดี่ยว (เข้าชิงชนะเลิศ 5 รายการ)

[แก้]

ชนะเลิศ (1 รายการ)

[แก้]
ปี รายการ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2546 สหรัฐอเมริกา ยูเอสโอเพน สเปน ฮวน คาร์ลอส เฟอร์เรโร่ 6–3, 7–6(2), 6–3

รองชนะเลิศ (4 รายการ)

[แก้]
ปี รายการ คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
2547 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ 4–6, 7–5, 7–6(3), 6–4
2548 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (2) สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ 6–2, 7–6(2), 6–4
2549 สหรัฐอเมริกา ยูเอสโอเพน สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ 6–2, 4–6, 7–5, 6–1
2552 สหราชอาณาจักร วิมเบิลดัน (3) สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ 5–7, 7–6(6), 7–6(5), 3–6, 16–14

ความสำเร็จ

[แก้]
  • อันดับมือวางประเภทชายเดี่ยวที่เคยทำได้สูงสุด: อันดับ 1 (3 พฤศจิกายน 2003)
  • สถิติการแข่งขันในการเล่นเทนนิสอาชีพ: ชนะ 612 แพ้ 213
  • เงินรางวัลจากการแข่งขัน: 20,640,030 ดอลลาร์สหรัฐ
  • แชมป์รายการเอทีพีทั้งหมด: 32 รายการ
  • แชมป์ระดับแกรนด์สแลม: 1 รายการ (ยูเอสโอเพน ค.ศ. 2003)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Roland Garros – The 2010 French Open – Official Site by IBM". 2010.rolandgarros.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 31, 2011. สืบค้นเมื่อ May 17, 2011.
  2. Forvo, ทีม. "การออกเสียง Andy Roddick : วิธีการออกเสียง Andy Roddick ในภาษาอังกฤษ". Forvo.com.
  3. "Andy Roddick | Overview | ATP Tour | Tennis". ATP Tour.
  4. "Roddick announces he'll retire after 2012 Open". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2012-08-30.
  5. "Andy Roddick Foundation". Andy Roddick Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. Nast, Condé. "Andy Roddick - Latest". Teen Vogue (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "International Tennis Hall of Fame". www.tennisfame.com.
  8. "Andy Roddick Biography - life, family, childhood, parents, school, mother, young, old, information, born". www.notablebiographies.com.
  9. "Andy Roddick Biography - life, family, children, parents, name, story, school, mother, young - Newsmakers Cumulation". www.notablebiographies.com.
  10. Dickson, Mike. "Andy Roddick supports 'idol' Andre Agassi over crystal meth shame". Mail Online.
  11. "Andy Roddick Serve Analysis - The Supersonic Roddick Serve Technique". Tennis Instruction (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-01-13.
  12. "Former tennis star Andy Roddick is dating model Brooklyn Decker". Business Insider. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 2021-05-29.
  13. Tynes, Jacqueline (2021-04-24). "The Truth About Brooklyn Decker And Andy Roddick's Marriage". NickiSwift.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  14. "Andy Roddick Foundation" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์. {{Cite tweet}}: |user= ไม่พบหรือว่าง; |number= ไม่พบหรือว่าง (ช่วยเหลือ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]