ข้ามไปเนื้อหา

แห้วทรงกระเทียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แห้วทรงกระเทียม
ภาพวาด ป. ค.ศ.1880[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เคลด: Commelinids
อันดับ: อันดับหญ้า
วงศ์: วงศ์กก
สกุล: Eleocharis

(Burm.f.) Trin. ex Hensch.
สปีชีส์: Eleocharis dulcis
ชื่อทวินาม
Eleocharis dulcis
(Burm.f.) Trin. ex Hensch.
ชื่อพ้อง
  • Eleocharis equisetina
  • Eleocharis indica
  • Eleocharis plantaginea,
  • Eleocharis plantaginoides
  • Eleocharis tuberosa
  • Eleocharis tumida
  • และอื่น ๆ

แห้วจีน หรือ แห้วทรงกระเทียม (อังกฤษ: Ground chesnut; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eleocharis dulcis) เป็นพืชวงศ์กกและเป็นพืชหลายฤดู เป็นพืชกึ่งพืชน้ำ มีเหง้าใต้ดิน เหง้าสั้นมีไหลยาว หัวกลมแบนเกิดในส่วนปลายไหล สีน้ำตาลหรือสีดำ ขึ้นเป็นกอ ลำต้นแข็งแรง ลำต้นตรง กลม ใบย่อส่วนเหลือเพียงโคนกาบหุ้มไม่มีแผ่นใบ สีน้ำตาลแดงหรือสีม่วง ยาว 15-20 เซนติเมตร ช่อดอกเดี่ยวเป็นช่อเชิงลด ดอกช่อยาว 1.5 -3.0 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นแบบ spike ยาว 2-5 เซนติเมตร มีริ้วประดับเป็นเยื่อบางๆ กลีบดอกคล้ายเส้นด้ายสีขาวหรือสีน้ำตาล ผลเป็นผลแห้งเมล็ดล่อน สีเหลืองมันจนถึงสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยไหล หน่อ และเมล็ด ชอบที่ชื้นแฉะ พบในพื้นที่ลุ่มที่รกร้าง หนองน้ำและนาข้าว กระจายพันธุ์ทั่วประเทศไทย

กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของโลกเก่า ตั้งแต่แอฟริกาตะวันตก มาดากัสการ์ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีทั้งพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูก โดยพันธุ์ป่าหัวขนาดเล็ก ค่อนข้างดำ พันธุ์ปลูกหัวใหญ่สีออกม่วงหรือน้ำตาล แห้วใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง ทั้งในจีน อินโดจีน ไทย และประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำมารับประทานเป็นของหวาน หัวขนาดใหญ่นิยมรับประทานสด หัวขนาดเล็กใช้ผลิตแป้ง ในฟิลิปปินส์ใช้ทำข้าวเกรียบ ลำต้นใช้สานเสื่อหรือเป็นอาหารสัตว์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Francisco Manuel Blanco (O.S.A.) (c. 1880s). Flora de Filipinas [...] Gran edicion [...] [Atlas I].

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]