แวนด้า
แวนด้า | |
---|---|
![]() | |
Vanda coerulea | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | หน่อไม้ฝรั่ง Asparagales |
วงศ์: | กล้วยไม้ |
วงศ์ย่อย: | Epidendroideae |
เผ่า: | Vandeae |
เผ่าย่อย: | Aeridinae |
สกุล: | แวนด้า Gaud. ex Pfitzer |
ชนิดต้นแบบ | |
Vanda tessellata | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
แวนด้า (อังกฤษ: Vanda; ย่อชื่อในพืชสวนทางการค้าเป็น V.,)[2] เป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) ซึ่งเป็นสกุลไม่ใหญ่นัก (ประมาณ 87 สปีชีส์)[3] แต่เป็นไม้ดอกสำคัญที่ใช้ในการจัดดอกไม้ กล้วยไม้สกุลนี้ได้รับการพัฒนามากที่สุดในกลุ่มกล้วยไม้ทั้งหมดในวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีราคาแพงมากในการจัดสวนดอกไม้เนื่องจากเป็นกล้วยไม้ที่มีความสวยงาม มีกลิ่นหอม ทนทาน และสีสันที่จัดจ้าน[4] การปลูกแวนด้าแพร่หลายทั่วเอเชียตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเกาะนิวกินี รวมถึงยังมีบางสายพันธุ์ในรัฐควีนส์แลนด์ และบางเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก[1][5]
ชีววิทยา
[แก้]ชื่อ "แวนด้า" มีที่มาจากภาษาสันสกฤต (वन्दाका)[6] ที่เรียกแวนด้าสายพันธุ์ Vanda roxburghii (ชื่อพ้องกับ Vanda tessellata)[7][8]
แวนด้าส่วนใหญ่เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย แต่บ้างบางพันธุ์ก็เป็นกล้วยไม้ขึ้นบนหิน หรือเป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นบนดิน ที่กระจายอยู่ในอินเดีย เทือกเขาหิมาลัย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ทางใต้ของจีน และทางตอนเหนือของออสเตรเลีย
สกุลนี้เติบโตโดยอาศัยการแตกใบด้านข้าง และใบจะสูงไปเรื่อยๆ ตามหลักที่ยึดเอาไว้ ในบางสายพันธุ์ใบจะแบนๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วใบจะกว้าง ใบรีรูปไข่ ตรงกลางเป็นร่อง (strap-leaves) ในขณะที่กล้วยไม้สกุลอื่นมีใบกลม (ทรงกระบอก) ใบอวบน้ำเพื่อปรับตัวให้เก็บกักน้ำหากเข้าสู่ช่วงแล้งน้ำ ลำต้นของแวนด้ามีขนาดที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีบางสายพันธุ์ที่เป็นพันธุ์แคระซึ่งความยาวไม่กี่เมตร แวนด้าสามารถปลูกให้ต้นใหญ่ได้ในเรือนปลูกและในการเพาะเลี้ยงในเรือนปลูก และในสายพันธุ์ไว้อิงอาศัย จะสามารถแผ่ขยายลำต้นได้ใหญ่มากโดยอาศัยระบบรากอากาศซึ่งแผ่ไปทุกทิศทาง
ในช่อดอกจะมีดอกลักษณะแบนรวมกันหลายดอกแผ่ออกด้านข้างในหนึ่งช่อ ส่วนใหญ่มีสีเหลือง-น้ำตาล และมีจุดสีน้ำตาล แต่ก็มีสีขาว เขียว ส้ม แดง และสีไวน์แดงด้วย ที่ปากดอกมีเดือยเล็กๆ แวนด้าออกดอกได้บ่อยทุกๆ สองสามเดือน และดอกยังบานทนได้ถึงสองถึงสามสัปดาห์
กล้วยไม้แวนด้าจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธุ์ Vanda coerulea (ฟ้ามุ่ย) อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการเข้าถึงถิ่นที่อยู่จึงทำให้พบเห็นกันไม่บ่อยนัก อีกทั้งยังพบเห็นได้ไม่บ่อยนักในพื้นที่ป่าที่ได้รับการรบกวนที่ได้รับแสงแดดจัด มันมักจะถูกคุกคามและเสี่ยงจากการถูกทำลายถิ่นที่อยู่[9] มีการห้ามการค้าและการส่งออกกล้วยไม้แวนด้าป่าสีน้ำเงิน (สายพันธุ์Vanda coerulea) หรือฟ้ามุ่ย และแวนด้าป่าอื่นโดยชื่อของกล้วยไม้ต้องห้ามในการซื้อขายจะถูกขึ้นบัญชีในภาคผนวกที่สองของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์
การเพาะเลี้ยง
[แก้]แวนด้าเป็นหนึ่งในห้าของสกุลกล้วยไม้ที่มีการปลูกในสวนกล้วยไม้มากที่สุด เพราะว่ามันมีดอกที่มีงดงามมากที่สุดในบรรดาพืชวงศ์กล้วยไม้ทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง] แวนด้ามีส่วนสนับสนุนอย่างมากในงานของนักผสมพันธุ์พืช ในการสร้างสรรค์ไม้ดอกเพื่อส่งตลาดไม้ตัดดอกแวนด้าสายพันธุ์Vanda coerulea(ฟ้ามุ่ย)เป็นหนึ่งในกล้วยไม้ไม่กี่ชนิดที่ให้ดอกสีน้ำเงิน(จริงๆแล้วเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน) ซึ่งได้สีที่น่าพึงพอใจมากในการผสมพันธุ์ข้ามชนิดและการผสมข้ามสายพันธุ์
กล้วยไม้สีน้ำเงินมักจะหายากในกล้วยไม้ มีเพียงกล้วยไม้พันธุ์ Thelymitra crinita ในสายพันธุ์ terrestrial เท่านั้นจากออสเตรเลียเท่านั้น ที่ให้"สีน้ำเงิน" จริงๆในขณะที่พันธุ์ Aganisia cyanea สายพันธุ์ที่ขึ้นในที่ลุ่มทางตอนเหนือและตอนใต้ของทวีปอเมริกา เป็นพันธุ์ที่เพาะเลี้ยงยาก แต่ให้ดอกสีน้ำเงินเมทัลลิค ทั้งสองสายพันธุ์นี้เหมือนแวนด้ามาก ซึ่งกลีบดอกมีสีม่วงอมน้ำเงินแต้มอยู่ในกลีบดอกอีกด้วย
แวนด้าพันธุ์Vanda dearei เป็นต้นหลักที่ให้สีเหลืองในการผสมพันธุ์แวนด้า สายพันธุ์Vanda Miss Joaquim เป็นแวนด้าดิน ซึ่งผสมพันธุ์ตามธรรมชาติกับกล้วยไม้ดิน(ที่มีใบทรงกระบอก) และเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์
แวนด้าไม่สามารถปลูกโดยการขยายหัว(เทียม) แต่ปลูกด้วยการแยกหน่อ ใบทนแล้งได้ และบางพันธุ์มีใบกลม เป็นทรงกระบอก สายพันธุ์ส่วนใหญ่ของสกุลแวนด้าเกือบจะทุกสายพันธุ์ เป็นพืชอิงอาศัยที่มีขนาดใหญ่มากที่ถูกพบในถิ่นอาศัยที่ได้รับการรบกวน และต้องการแสงแดดมาก แวนด้าที่ปลูกจะมีระบบรากขนาดใหญ่ บางสายพันธุ์จะมีกิ่งแขนกลักษณะคล้ายเสาเพื่อมช้ในการยึดเกาะ และทำให้ต้นโตเป็นต้นใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว
การปลูกนี้ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอในปิดปลิดใบแห้งออก สายพันธุ์ที่อาศัยกระเช้าเกาะจะเติบโตได้ดีที่สุด ในกระบะไม้ก้นโปร่งขนาดใหญ่ เพื่อให้ระบบรากอากาศขยายิได้อย่างอิสระ การรบกวนหรือตัดรากแวนด้าที่เจริญเติบโตเต็มที่ออกจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แวนด้าและสายพันธุ์เอื้องกุหลาบ อาจทำให้ออกดอกน้อย และอาจไม่ออกดอกในฤดูนั้นหรืออาจจะนานกว่านั้น การปลูกจึงต้องไม่รบกวนหรือทำลายระบบรากในขณะที่ต้นกำลังจะโตเต็มที่ แวนด้าพันธุ์ใบกลมจะเพาะพันธุ์ได้ง่ายมากๆ
การเพาะเลี้ยงแวนด้าให้รากของแวนด้าเปลือย และในพันธุ์ที่ยึดติดกับกระเช้าปลูกจำเป็นต้องรดน้ำต้นไม้ทุกวัน และให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์เนื่องจากแวนด้าต้องการปุ๋ยมาก (กินปุ๋ย)ในการปลูกแวนด้าในโรงเรือน แวนด้าสามารถเติบโตได้ภายนอกอาคารที่ให้ร่มเงาบ้าง เช่นในฮาวาย กุญแจสำคัญในการปลูกแวนด้าพันธุ์ที่ยึดกับกระเช้าปลูกให้ประสบความสำเร็จนั้น ต้องมีปัจจัยที่ดีในการเจริญเติบโต การปลูกที่มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่เอื้ออำนวยและระบบการให้น้ำที่ไม่ดี ส่งผลให้ใบล่วง ลำต้นแห้งลีบ ลำต้นหงิกงอ และลำต้นโทรมได้ แวนด้าพันธุ์ปลูกในกระเช้าปลูกจึงไม่ใช่กล้วยไม้ของผู้ที่เริ่มปลูกกล้วยไม้ ซึ่งมันต้องการการควบคุมการเจริญเติบโตเพื่อบรรลุความสำเร็จในการเพาะเลี้ยง[10]
การจำแนกชั้น
[แก้]ในการศึกษาระดับโมเลกุลของสกุล แวนด้า ล่าสุด[11] มีการรวมสกุล Ascocentrum, Neofinetia และ Euanthe ในอดีตเข้ากับชื่อพ้อง แวนด้า ด้วย[12][13]
สายพันธุ์
[แก้]รายชื่อด้านล่างเป็นสายพันธุ์ แวนด้า ที่ได้รับการยอมรับจากรายการตรวจสอบโลกของตระกูลพืชที่เลือก (World Checklist of Selected Plant Families) ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019:[14]
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6b/Ascocentrum_ampullaceum.jpg/220px-Ascocentrum_ampullaceum.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c5/Asparagales_-_Vanda_coerulea_-_1.jpg/220px-Asparagales_-_Vanda_coerulea_-_1.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/14/Vanda_denisoniana_var_hebraica.jpg/220px-Vanda_denisoniana_var_hebraica.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/da/Vanda_falcata_%28Tokunoshima_Kagoshimam_Japan%29_%28Thunb.%29_Beer%2C_Prakt._Stud._Orchid.-_317_%281854%29_%2835218280942%29.jpg/220px-Vanda_falcata_%28Tokunoshima_Kagoshimam_Japan%29_%28Thunb.%29_Beer%2C_Prakt._Stud._Orchid.-_317_%281854%29_%2835218280942%29.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/22/LR081_72dpi_Vanda_hindsii.jpg/240px-LR081_72dpi_Vanda_hindsii.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f4/Vanda_lamellata_%2812862380173%29.jpg/220px-Vanda_lamellata_%2812862380173%29.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/46/Vanda_garayi.png/220px-Vanda_garayi.png)
- Vanda aliceae
- Vanda alpina (หิมาลัยถึงจีน - มณฑลยูนนานใต้)
- Vanda × amoena
- Vanda ampullacea
- Vanda arbuthnotiana (อินเดีย)
- Vanda arcuata (อินโดนีเซีย - เกาะซูลาเวซี)
- Vanda aurantiaca
- Vanda aurantiaca subsp. aurantiaca
- Vanda aurantiaca subsp. philippinensis
- Vanda aurea
- Vanda barnesii (เกาะลูซอนเหนือ, ฟิลิปปินส์)
- Vanda bensonii (รัฐอัสสัมถึงไทย) "สามปอยชมพู"
- Vanda bicolor (ภูฏาน)
- Vanda bidupensis (เวียดนาม)
- Vanda × boumaniae
- Vanda brunnea (จีน - มณฑลยูนนานถึงอินโดจีน) "สามปอยนก"
- Vanda celebica (อินโดนีเซีย – เกาะซูลาเวซี)
- Vanda × charlesworthii
- Vanda chlorosantha (ภูฏาน)
- Vanda christensoniana
- Vanda coerulea : "Blue Orchid" (รัฐอัสสัมถึงจีน - มณฑลยูนนานตอนใต้) "ฟ้ามุ่ย"
- Vanda coerulescens (รัฐอรุณาจัลประเทศถึงจีน - มณฑลยูนนานตอนใต้)
- Vanda concolor (จีนใต้ถึงเวียดนาม)
- Vanda × confusa
- Vanda cootesii
- Vanda cristata (หิมาลัยถึงจีน - มณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือ)
- Vanda curvifolia
- Vanda dearei (เกาะบอร์เนียว)
- Vanda denisoniana (จีน - มณฑลยูนนานถึงอินโดจีนตอนเหนือ) "สามปอย"
- Vanda devoogtii (เกาะซูลาเวซี)
- Vanda dives (เวียดนาม, ลาว)
- Vanda falcata (ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี)
- Vanda flabellata (Rolfe ex Downie) Christenson, 1985
- Vanda foetida (เกาะสุมาตราใต้)
- Vanda frankieana
- Vanda funingensis
- Vanda furva (เกาะชวา, หมู่เกาะมาลูกู)
- Vanda fuscoviridis (จีนใต้ถึงเวียดนาม)
- Vanda garayi
- Vanda gibbsiae
- Vanda gracilis
- Vanda griffithii (หิมาลัยตะวันออก)
- Vanda hastifera (เกาะบอร์เนียว)
- Vanda helvola (มาเลเซียตะวันตกถึงฟิลิปปินส์)
- Vanda hindsii (ปาปัวเชียถึงรัฐควีนส์แลนด์เหนือ)
- Vanda insignis (หมู่เกาะซุนดาน้อย)
- Vanda insularum
- Vanda jainii (รัฐอัสสัม)
- Vanda javierae (ฟิลิปปินส์ - เกาะลูซอน)
- Vanda jennae P.O'Byrne & J.J.Verm., 2005
- Vanda lamellata (ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, รัฐซาบะฮ์)
- Vanda lamellata var. boxallii
- Vanda lamellata var. lamellata
- Vanda lamellata var. remediosae
- Vanda lilacina (จีน - มณฑลยูนนานถึงอินโดจีน) "เข็มขาว"
- Vanda limbata (เกาะชวา, หมู่เกาะซุนดาน้อย, ฟิลิปปินส์ - เกาะมินดาเนา)
- Vanda liouvillei (รัฐอัสสัมถึงอินโดจีน)
- Vanda lombokensis (หมู่เกาะซุนดาน้อย)
- Vanda longitepala
- Vanda luzonica (ฟิลิปปินส์ - เกาะลูซอน)
- Vanda malipoensis
- Vanda mariae
- Vanda merrillii (ฟิลิปปินส์)
- Vanda metusalae P.O'Byrne & J.J.Verm. (2008)
- Vanda mindanoensis
- Vanda miniata
- Vanda motesiana
- Vanda nana
- Vanda perplexa
- Vanda petersiana (พม่า)
- Vanda pumila (เนปาลถึงมณฑลไหหลำ และเกาะสุมาตราตอนเหนือ) "สะแล่ง"
- Vanda punctata (คาบสมุทรมาเลเซีย)
- Vanda richardsiana
- Vanda roeblingiana (ฟิลิปปินส์ - เกาะลูซอน)
- Vanda rubra
- Vanda sanderiana "แวนด้าแซนเดอเรียนา"
- Vanda saxatilis
- Vanda scandens (เกาะบอร์เนียว, ฟิลิปปินส์ - เกาะมินดาเนา)
- Vanda semiteretifolia
- Vanda stangeana (อินเดีย - รัฐอรุณาจัลประเทศถึงรัฐอัสสัม)
- Vanda subconcolor (จีน - มณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงใต้ถึงมณฑลไหหลำ)
- Vanda sumatrana (เกาะสุมาตรา)
- Vanda tessellata (อนุทวีปอินเดียถึงอินโดจีน) "สามปอยอินเดีย"
- Vanda testacea (อนุทวีปอินเดียถึงจีนกลางตอนใต้) "เข็มเหลือง"
- Vanda thwaitesii (อินเดียใต้, ศรีลังกา)
- Vanda tricolor (ลาว, เกาะชวา, เกาะบาหลี)
- Vanda tricolor var. suavis
- Vanda tricolor var. tricolor
- Vanda ustii (ฟิลิปปินส์ - เกาะลูซอน)
- Vanda vietnamica
- Vanda vipanii (พม่า)
- Vanda wightii (อินเดียใต้)
- Vanda xichangensis
ลูกผสมกล้วยไม้ป่า
[แก้]- Vanda × boumaniae (V. insignis × V. limbata) (หมู่เกาะซุนดาน้อย)
- Vanda × charlesworthii (V. bensonii × V. coerulea) (พม่า)
- Vanda × confusa (V. coerulescens × V. lilacina) (พม่า)
- Vanda × hebraica (V. denisoniana × V. brunnea) (พม่า)[15]
ลูกผสมข้ามสายพันธุ์
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e1/Vanda_Robert%27s_Delight_x_Crownfox_Magic_at_the_Brooklyn_Botanic_Garden_%2881370%29.jpg/220px-Vanda_Robert%27s_Delight_x_Crownfox_Magic_at_the_Brooklyn_Botanic_Garden_%2881370%29.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f9/Vanda_Sansai_Blue_%2820523361330%29.jpg/220px-Vanda_Sansai_Blue_%2820523361330%29.jpg)
นี่คือรายชื่อลูกผสมข้ามสายพันธุ์ ถึงแม้ว่ามีหลายสายพันธุ์ที่เป็นโมฆะเพราะมีการเปลี่ยนแปลงเส้นอนุกรมวิธาน เช่น Ascocenda (Ascocentrum x Vanda) กับ Vandofinetia (Vanda x Neofinetia) ไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป เพราะทาง RHS ลดสถานะทั้ง Ascocentrum และ Neofinetia ให้เป็นชื่อพ้องของแวนด้า:
- Aeridovanda (Aerides × Vanda)
- Aeridovanisia (Aerides × Luisia × Vanda)
- Alphonsoara (Arachnis × Ascocentrum × Vanda × Vandopsis)
- Andrewara (Arachnis × Renanthera × Trichoglottis × Vanda)
- Aranda (Arachnis × Vanda)
- Ascocenda (Ascocentrum × Vanda)
- Ascovandoritis (Ascocentrum × Doritis × Vanda)
- Bokchoonara (Arachnis × Ascocentrum × Phalaenopsis × Vanda)
- Bovornara (Arachnis × Ascocentrum × Rhynchostylis × Vanda)
- Burkillara (Aerides × Arachnis × Vanda)
- Charlieara (Rhynchostylis × Vanda × Vandopsis)
- Christieara (Aerides × Ascocentrum × Vanda)
- Darwinara (Ascocentrum × Neofinetia × Rhynchostylis × Vanda)
- Debruyneara (Ascocentrum × Luisia × Vanda)
- Devereuxara (Ascocentrum × Phalaenopsis × Vanda)
- Eastonara (Ascocentrum × Gastrochilus × Vanda)
- Fujiora (Ascocentrum × Trichoglottis × Vanda)
- Goffara (Luisia × Rhynchostylis × Vanda)
- Hawaiiara (Renanthera × Vanda × Vandopsis)
- Hagerara (Doritis × Phalaenopsis × Vanda)
- Himoriara (Ascocentrum × Phalaenopsis × Rhynchostylis × Vanda)
- Holttumara (Arachnis × Renanthera × Vanda)
- Isaoara (Aerides × Ascocentrum × Phalaenopsis × Vanda)
- Joannara (Renanthera × Rhynchostylis × Vanda)
- Kagawara (Ascocentrum × Renanthera × Vanda)
- Knappara (Ascocentrum × Rhynchostylis × Vanda × Vandopsis)
- Knudsonara (Ascocentrum × Neofinetia × Renanthera × Rhynchostylis × Vanda)
- Leeara (Arachnis × Vanda × Vandopsis)
- Luisanda (Luisia × Vanda)
- Luivanetia (Luisia × Neofinetia × Vanda)
- Lewisara (Aerides × Arachnis × Ascocentrum × Vanda)
- Maccoyara (Aerides × Vanda × Vandopsis)
- Macekara (Arachnis × Phalaenopsis × Renanthera × Vanda × Vandopsis)
- Micholitzara (Aerides × Ascocentrum × Neofinetia × Vanda)
- Moirara (Phalaenopsis × Renanthera × Vanda)
- Mokara (Arachnis × Ascocentrum × Vanda)
- Nakamotoara (Ascocentrum × Neofinetia × Vanda)
- Nobleara (Aerides × Renanthera × Vanda)
- Okaara (Ascocentrum × Renanthera × Rhynchostylis × Vanda)
- Onoara (Ascocentrum × Renanthera × Vanda × Vandopsis)
- Opsisanda (Vanda × Vandopsis)
- Pageara (Ascocentrum × Luisia × Rhynchostylis × Vanda)
- Pantapaara (Ascoglossum × Renanthera × Vanda)
- Paulara (Ascocentrum × Doritis × Phalaenopsis × Renanthera × Vanda)
- Pehara (Aerides × Arachnis × Vanda × Vandopsis)
- Pereiraara (Aerides × Rhynchostylis × Vanda)
- Phalaerianda (Aerides × Phalaenopsis × Vanda)
- Raganara (Renanthera × Trichoglottis × Vanda)
- Ramasamyara (Arachnis × Rhynchostylis × Vanda)
- Renafinanda (Neofinetia × Renanthera × Vanda)
- Renanda (Arachnis × Renanthera × Vanda)
- Renantanda (Renanthera × Vanda)
- Rhynchovanda (Rhynchostylis × Vanda)
- Ridleyare (Arachnis × Trichoglottis × Vanda)
- Robinaria (Aerides × Ascocentrum × Renanthera × Vanda)
- Ronnyara (Aerides × Ascocentrum × Rhynchostylis × Vanda)
- Sanjumeara (Aerides × Neofinetia × Rhynchostylis × Vanda)
- Sarcovanda (Sarcochilus × Vanda)
- Shigeuraara (Ascocentrum × Ascoglossum × Renanthera × Vanda)
- Stamariaara (Ascocentrum × Phalaenopsis × Renanthera × Vanda)
- Sutingara (Arachnis × Ascocentrum × Phalaenopsis × Vanda × Vandopsis)
- Teohara (Arachnis × Renanthera × Vanda × Vandopsis)
- Trevorara (Arachnis × Phalaenopsis × Vanda)
- Trichovanda (Trichoglottis × Vanda)
- Vascostylis (Ascocentrum × Rhynchostylis × Vanda)
- Vandachnis (Arachnis × Vandopsis)
- Vancampe (Acampe × Vanda)
- Vandachostylis (Rhynchostylis × Vanda)
- Vandaenopsis (Phalaenopsis × Vanda)
- Vandaeranthes (Aeranthes × Vanda)
- Vandewegheara (Ascocentrum × Doritis × Phalaenopsis × Vanda)
- Vandofinetia (Neofinetia × Vanda)
- Vandofinides (Aerides × Neofinetia × Vanda)
- Vandoritis (Doritis × Vanda)
- Vanglossum (Ascoglossum × Vanda)
- Wilkinsara (Ascocentrum × Vanda × Vandopsis)
- Yapara (Phalaenopsis × Rhynchostylis × Vanda)
- Yusofara (Arachnis × Ascocentrum × Renanthera × Vanda)
- Yonezawaara (Neofinetia × Rhynchostylis × Vanda)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Kew World Checklist of Selected Plant Families". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2014-07-31.
- ↑ "Alphabetical list of standard abbreviations of all generic names occurring in current use in orchid hybrid registration as at 31st December 2007" (PDF). Royal Horticultural Society.
- ↑ Motes, M. R. (2021). The Natural Genus Vanda. Redland Press.
- ↑ The Orchids, Natural History and Classification, Robert L. Dressler. ISBN 0-674-87526-5
- ↑ Flora of China v 25 p 471, 万代兰属 wan dai lan shu, Vanda Jones ex R. Brown, Bot. Reg. 6: ad t. 506. 1820.
- ↑ vandAkA Sanskrit English Dictionary, University of Koeln, Germany
- ↑ Jones D.L.; และคณะ (2006). "Vanda". Australian Tropical Rainforest Orchids. Centre for Australian National Biodiversity Research (CANBR), Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO), Australian Government. สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
- ↑ Garay, L. (1972), On the systematics of the monopodial orchids, Bot. Mus. Leafl. Harvard University, 23(4): 149-212
- ↑ The Orchids, Natural History and Classification, Robert L. Dressler. ISBN 0-674-87526-5
- ↑ Illustrated Encyclopedia of Orchids ISBN 0-88192-267-6
- ↑ Lim, S. (1999). "RAPD Analysis of Some Species in the GenusVanda(Orchidaceae)". Annals of Botany. 83 (2): 193–196. doi:10.1006/anbo.1998.0801.
- ↑ "Vanda sanderiana | International Plant Names Index".
- ↑ "World Checklist of Selected Plant Families: Royal Botanic Gardens, Kew".[ลิงก์เสีย]
- ↑ World Checklist of Selected Plant Families : Vanda
- ↑ Motes, M., Gardiner, L. M., & Roberts, D. L. (2016). The identity of spotted Vanda denisoniana. Orchid Review, 124(1316), 228-233.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Grove, D. L. 1995. Vandas and Ascocendas. Timber Press, Portland, Oregon. 241 pp.
- Motes, Martin R., and Alan L. Hoffman. 1997 Vandas, Their botany, history and culture. ISBN 0-88192-376-1
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แวนด้า
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ แวนด้า ที่วิกิสปีชีส์
- Vanda Miss Joaquim