แลนเซอล็อต-เกรล
ภาพวาดปูนเปียกของฉากจากบทร้อยแก้วแลนเซอล็อตที่หอเชดเลนตชิน สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 | |
ผู้ประพันธ์ | ไม่ทราบ (อิงจากงานของรอแบร์ เดอ โบรง และเครเตียง เดอ ทรัว) |
---|---|
ภาษา | ภาษาฝรั่งเศสเก่า |
หัวเรื่อง | ปกรณัมเกี่ยวกับบริเตน |
ประเภท | นิยายวีรคติอัศวิน, บันทึกเหตุการณ์เทียม |
วันที่พิมพ์ | ป. 1210–1235 |
ปกรณัมแลนเซอล็อต-เกรล (อังกฤษ: Lancelot-Grail Cycle; ชื่อสมัยใหม่โดย แฟร์ดีน็อง ล็อต[1]) ปกรณัมวัลเกต (Vulgate Cycle; ชื่อสมัยใหม่โดย เอช. ออสการ์ ซอมเมอร์[2] มาจากภาษาละติน editio vulgata หมายถึง "ฉบับประชาชน") หรือ ปกรณัมแม็ปเทียม (Pseudo-Map Cycle; ตามชื่อวอลเตอร์ แม็ป ผู้แต่งเทียม[3]) เป็นปกรณัมชุดเกี่ยวกับพระเจ้าอาร์เทอร์ของฝรั่งเศสสมัยต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ประกอบด้วยร้อยแก้วตอนผจญภัยและความรักของอัศวินที่เดิมแต่งด้วยภาษาฝรั่งเศสเก่า ปกรณัมนี้นำเสนอในรูปแบบบันทึกเหตุการณ์จริง เนื้อหาบอกเล่าตำนานอาร์เทอร์ โดยเน้นเรื่องรักระหว่างอัศวินแลนเซอล็อตกับราชินีกวินิเวียร์ การตามหาจอกศักดิ์สิทธิ์ และชีวิตของเมอร์ลิน ปกรณัมแลนเซอล็อต-เกรลขยายความจาก Little Grail Cycle ของรอแบร์ เดอ โบรง[4] และงานของเครเตียง เดอ ทรัว[5] ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยเพิ่มรายละเอียดและเรื่องราวเสริมจนกลายเป็นเรื่องเดียวกัน ปกรณัมแลนเซอล็อต-เกรลรู้จักในหลายชื่อ รวมถึง Le Livre du Graal (หนังสือแห่งเกรล) โดยฟีลิป วอลเตอร์ (ค.ศ. 2001–2009)
เรื่องราวในปกรณัมเกิดขึ้นในสถานที่หลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่เกิดในอาณาจักรโลเกรสของพระเจ้าอาร์เทอร์ ตัวละครอื่น ๆ รวมถึงอัศวินโต๊ะกลมนำโดยแลนเซอล็อต ผู้มีความสัมพันธ์ต้องห้ามกับกวินีเวียร์ ราชินีของพระเจ้าอาร์เทอร์ ปกรณัมยังเล่าถึงการผจญภัยทางจิตวิญญาณของอัศวินโต๊ะกลมในการตามหาจอกศักดิ์สิทธิ์ ภาชนะที่ใช้รองรับพระโลหิตของพระเยซู ซึ่งสุดท้ายกาลาฮัดเป็นผู้ค้นพบ[6] นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของเมอร์ลิน และความรุ่งโรจน์และสูญเสียอำนาจของพระเจ้าอาร์เทอร์
ปกรณัมแลนเซอล็อต-เกรลแต่งเสร็จประมาณ ค.ศ. 1230–1235 หลังจากนั้นได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นปกรณัมหลังวัลเกต (ประมาณ ค.ศ. 1230–1240)[7] เรื่องราวและตัวละครในปกรณัมทั้งสองชุดนี้เป็นรากสำคัญของตำนานอาร์เทอร์ฉบับที่แพร่หลายที่สุดในช่วงปลายสมัยกลาง โดยมีการแปลเป็นภาษายุโรปต่าง ๆ หลายภาษา ปกรณัมเหล่านี้ยังส่งอิทธิพลต่อนิยายวีรคติอาร์เทอร์ยุคหลัง จวบจนคริสต์ศตวรรษที่ 15 ทอมัส มาโลรีรวบรวมผลงานเหล่านี้เป็นบทร้อยแก้วชื่อ Le Morte d'Arthur ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นแบบตำนานอาร์เทอร์ในปัจจุบัน[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The History of the Holy Grail (ภาษาอังกฤษ). Boydell & Brewer Ltd. 2010. ISBN 978-1-84384-224-8.
- ↑ Korrel, Peter (January 1984). An Arthurian Triangle: A Study of the Origin, Development, and Characterization of Arthur, Guinevere, and Modred. Brill Archive. ISBN 9004072721.
- ↑ Smith, Joshua Byron (2017). Walter Map and the Matter of Britain (ภาษาอังกฤษ). University of Pennsylvania Press. ISBN 9780812294163.
- ↑ Dover, Carol (2003). A Companion to the Lancelot-Grail Cycle (ภาษาอังกฤษ). DS Brewer. ISBN 9780859917834.
- ↑ "Chrétien de Troyes". Britannica. สืบค้นเมื่อ May 7, 2024.
- ↑ The Quest of The Holy Grail, translated by Matarasso, P.M., Penguin Books, 1969, page 60.
- ↑ Lacy 2010, p. 6.
- ↑ "British Library". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 2024-05-07.