แลนด์แซท 7
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ดาวเทียม Landsat-7 เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของสหรัฐอเมริกา โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ 3 หน่วยงานคือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronautics and Space Administration : NASA) องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) และกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2542 สูงจากพื้นโลก 705 ก.ม. โคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ในแนวเหนือใต้และโคจรซ้ำบริเวณเดิมทุก 16 วัน อุปกรณ์บันทึกข้อมูลระบบ Enhanced Thematic Mapper Plus (ETM+) ซึ่งประกอบด้วยระบบบันทึกข้อมูลหลายช่วงคลื่น (Multispectral) รายละเอียดภาพ 30 เมตร และระบบบันทึกข้อมูลช่วงคลื่อนเดียว (Panchromatic) รายละเอียดภาพ 15 เมตร
ดาวเทียม Landsat-7 พัฒนาโดย 3 หน่วยงาน คือ
[แก้]- NASA: รับผิดชอบด้านการพัฒนาตัวดาวเทียม, อุปกรณ์, จรวดส่งดาวเทียมและระบบควบคุมภาคพื้นดิน ตลอดจนการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร, การตรวจสอบการโคจรและการปรับเทียบอุปกรณ์
- NOAA: รับผิดชอบด้านระบบปฏิบัติการของดาวเทียมทั้งหมด ตลอดอายุการโคจร
- USGS: รับผิดชอบด้านการรับสัญญาณข้อมูล, การผลิตข้อมูล, การเก็บรักษาข้อมูล และการแจกจ่ายข้อมูลถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวด McDonald Douglas Delta II จากฐานทัพอากาศ Vandenberg, California เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2542
คุณลักษณะดาวเทียม
[แก้]เส้นผ่าศูนย์กลาง | 1.8 เมตร |
น้ำหนัก | 2,150 กิโลกรัม |
ความสูงของการโคจร | 705 กิโลเมตร |
ลักษณะการโคจร | สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์โดยผ่านขั้วโลก |
เอียงทำมุมกับแกนโลก | 98.2 องศา |
เวลาท้องถิ่นในการบันทึกข้อมูล | 10:00 น. |
เวลาในการโคจรรอบโลก 1 รอบ | 98.9 นาที |
จำนวนรอบของการโคจรใน 1 วัน | 14.5 รอบ |
ระบบบันทึกข้อมูล | ETM+ (Enhanced Thermatic Mapper Plus) |
รายละเอียดภาพ | 30, 60 (อินฟราเรดความร้อน) และ 15 (PAN) เมตร |
ความกว้างของภาพ | 185 กิโลเมตร |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 1.8 เมตร |
อายุการทำงานที่ค่ดหมาย | 5 ปี |
อุปกรณ์บันทึกข้อมูล
[แก้]ความยาวคลื่น (ไมโครเมตร) | ประเภทข้อมูลที่ได้ |
ระบบ Enhanced Thermatic Mapper Plus (ETM+) | |
แบนด์ 1 : แบนด์ 1 : 0.450-0.515 (น้ำเงิน-เขียว) | ตรวจสอบลักษณะน้ำชายฝั่ง, แยกพืชและสภาพความเขียว |
แบนด์ 2 : 0.525-0.605 (เขียว) | แยกชนิดพืช |
แบนด์ 3 : 0.630-0.690 (แดง) | ความแตกต่างของการดูดกลืนคลอโรฟีลล์ในพืชพรรณต่าง ๆ |
แบนด์ 4 : 0.775-0.900 (อินฟราเรดใกล้) | ความแตกต่างของน้ำและส่วนที่ไม่ใช่น้ำ, ปริมาณ มวลชีวะ |
แบนด์ 5 : 1.550 - 1.750 (อินฟราเรดคลื่นสั้น) | พืช, ความชื้นในดิน, แยกความแตกต่างเมฆและหิมะ |
แบนด์ 6 : 10.40 - 12.50 (อินฟราเรดความร้อน) | ความร้อนผิวหน้า, ความชื้นของดิน, ความเครียดของพืช |
แบนด์ 7 : 2.090 - 2.350 (อินฟราเรดสะท้อน) | แยกชนิดหิน |
PAN : 0.520-0.900 (สีเขียว-อินฟราเรดใกล้) | แหล่งชุมชน, สิ่งก่อสร้าง, เส้นทางคมนาคม |
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ. เก็บถาวร 2010-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บริการข้อมูลจากดาวเทียม สทอภ. เก็บถาวร 2010-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.gistda.or.th/index.php/service/75 เก็บถาวร 2010-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน