แร่ม พรหโมบล บุณยประสพ
แร่ม พรหโมบล บุณยประสพ | |
---|---|
เลขาธิการพรรคท้องถิ่นก้าวหน้า | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มีนาคม พ.ศ. 2514 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 เมษายน พ.ศ. 2454 |
เสียชีวิต | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (97 ปี) |
พรรคการเมือง | พรรคท้องถิ่นก้าวหน้า |
คู่สมรส | อุดม บุณยประสพ |
คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ เป็นเนติบัณฑิตหญิงคนแรกของประเทศไทย[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต 2 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตเลขาธิการพรรคท้องถิ่นก้าวหน้า
ประวัติ
[แก้]คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ (สกุลเดิม พรหโมบล) เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2454 ที่ย่านหลังวังบูรพา กรุงเทพมหานคร เป็นธิดาคนโตของพันตำรวจเอก พระยาบุเรศผดุงกิจ (รวย พรหโมบล) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ กับพร้อม พรหโมบล มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน และพี่น้องต่างมารดา 13 คน คุณหญิงแร่ม สมรสกับอุดม บุณยประสพ บุตรพระยาบุณยธรรมธาดา (บุญ บุณยประสพ) กับคุณหญิงเมี้ยน มีบุตรธิดา 2 คน หนึ่งในนั่นคือ อรนุช โอสถานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ [2]
คุณหญิงแร่ม สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เมื่อปี 2471 จากนั้นเข้าเรียนกฎหมายในโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม จนสำเร็จการศึกษาเป็นเนติบัณฑิตสตรีคนแรกของประเทศไทย ในปี 2473 ต่อมาได้ประกอบอาชีพทนายความ เนื่องจากในยุคนั้นยังไม่เปิดโอกาสให้สตรีสอบเป็นตุลาการ และอัยการ[1]
การเมือง
[แก้]แร่ม พรหโมบล บุณยประสพ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500[3][4] โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองทั้ง 2 สมัย
ในปี พ.ศ. 2514 ได้ร่วมกับนายชำนาญ ยุวบูรณ์ ก่อตั้งพรรคท้องถิ่นก้าวหน้า ขึ้น โดยเธอรับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค[5]
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]คุณหญิงแร่ม ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เสี้ยวหนึ่งแห่งความทรงจำ ของคุณหญิงแร่มฯ
- ↑ หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงแร่ม พรหโมบล บุณยประสพ ม.ป.ช.,ม.ว.ม.,ต.จ.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ http://161.200.145.125/bitstream/123456789/30109/5/Apichai_ja_ch3.pdf
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคท้องถิ่นก้าวหน้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2454
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551
- บุคคลจากเขตพระนคร
- สกุลพรหโมบล
- คุณหญิง
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ต
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- พรรคท้องถิ่นก้าวหน้า (พ.ศ. 2514)
- พรรคชาติไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ. (ฝ่ายใน)