แรงต้านแรงโน้มถ่วง
แรงต้านแรงโน้มถ่วง (อังกฤษ: anti-gravity) คือแนวความคิดของการสร้างสถานที่หรือวัตถุที่เป็นอิสระจากแรงโน้มถ่วง ไม่ได้หมายถึงการไม่มีของน้ำหนักภายใต้แรงโน้มถ่วงที่ประสบกับเหตุการณ์ในการตกอย่างอิสระหรือในวงโคจร หรือความสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงอื่น ๆ บางชนิด เช่น เช่นแรงยกทางแม่เหล็กไฟฟ้าหรือทางอากาศพลศาสตร์ แรงต้านแรงโน้มถ่วงเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในนิยายวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการขับเคลื่อนยานอวกาศ ตัวอย่างแรก ๆ คือ สารสกัดกั้นแรงโน้มถ่วง "คาโวฮีเต" (Cavorite) ในนิยายวิทยาศาสตร์ของเอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) เรื่อง มนุษย์คนแรกบนดวงจันทร์ (The First Men in the Moon)
ในกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน แรงโน้มถ่วงเป็นแรงภายนอกที่ส่งผ่านโดยวิธีการที่ไม่มีใครทราบ ในศตวรรษที่ 20 แบบจำลองของนิวตันก็ถูกแทนที่ด้วยสัมพัทธภาพทั่วไปที่แรงโน้มถ่วงไม่ได้เป็นแรง แต่เป็นผลมาจากรูปทรงทางเรขาคณิตของกาล-อวกาศ ภายใต้หลักสัมพัทธภาพทั่วไปนั้น แรงต้านแรงโน้มถ่วงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ยกเว้นเสียแต่ว่าจะเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ได้ถูกสร้างขึ้นมา [1][2][3] ฟิสิกส์ควอนตัมได้ตั้งสมมติฐานการดำรงอยู่ของ กราวิตอน (graviton), กลุ่มของอนุภาคมูลฐานที่ปราศจากมวลซึ่งเป็นสื่อส่งผ่านแรง, และความเป็นไปได้ของการสร้างหรือการทำลายเหล่านี้ก็ไม่มีความชัดเจน
"แรงต้านแรงโน้มถ่วง" มักจะถูกนำมาใช้เรียกขานเพื่อกล่าวถึงอุปกรณ์ที่ดูราวกับว่าพวกมันย้อนกลับแรงโน้มถ่วงได้แม้ว่าพวกมันจะถูกดำเนินการผ่านวิธีการอื่น ๆ ก็ตาม ตัวอย่างเช่น เครื่องยก (lifter) ซึ่งบินอยู่ในอากาศได้โดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า[4][5]
การแก้ปัญหาโดยสมมุติฐาน
[แก้]เกราะป้องกันแรงโน้มถ่วง (Gravity shield)
[แก้]ในปี 1948 มีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จชื่อ รอเจอร์ แบ๊บเซน (Roger Babson) (ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยแบ๊บเซน (Babson College)) ได้ก่อตั้งมูลนิธิวิจัยแรงโน้มถ่วง (Gravity Research Foundation) เพื่อศึกษาวิธีการที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วง [6] ความพยายามของพวกเขาในตอนแรกออกจะดูเหมือนค่อนข้าง "บ้า ๆ บอ ๆ" (crankish) แต่พวกเขาก็ได้จัดการประชุมเป็นครั้งคราวเพื่อที่จะดึงคนอย่างเช่น คลาเรนซ์ เบิร์ดไซย์ (Clarence Birdseye) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง และ อิกอร์ ซิกอร์สกี (Igor Sikorsky) ซึ่งเป็น "บิดาแห่งเฮลิคอปเตอร์" มาร่วมวงด้วย เมื่อเวลาผ่านไปทางมูลนิธิได้หันเหความสนใจออกไปจากความพยายามที่จะควบคุมบังคับแรงโน้มถ่วงเอาไว้ใช้ประโยชน์, ไปเป็นความพยายามที่เพียงแค่อยากจะทำความรู้และความเข้าใจมันให้ดียิ่งขึ้นมากกว่านี้ ต่อมามูลนิธินี้เกือบจะสลายตัวหายสาบสูญไปหลังจากการตายของแบ๊บเซน (Babson) ผู้ที่ได้ก่อตั้งมูลนิธินี้ขึ้น ในปี 1967 อย่างไรก็ตามทางมูลนิธินี้ก็ยังคงเดินหน้าทำงานต่อไปจนได้รับรางวัลจากการนำเสนอการเขียนเรียงความได้เงินรางวัลเป็นจำนวนถึง 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 2013 ต่อมามูลนิธินี้ก็ยังคงได้รับการบริหารงานต่อมาโดยการแยกตัวออกมาอยู่ที่เมืองเวลสลีย์, ในมลรัฐแมสซาชูเซต (Wellesley, Massachusetts) โดย จอร์จ ไรด์เอาต์ จูเนียร์ (George Rideout, Jr.) ผู้เป็นลูกชายของผู้อำนวยการคนเดิมของมูลนิธิ [7]
ข้อเรียกร้องเชิงประจักษ์และความพยายามในเชิงพาณิชย์ (Empirical claims and commercial efforts)
[แก้]มีความพยายามอยู่เป็นอันมากในการที่จะสร้างอุปกรณ์การต่อต้านแรงโน้มถ่วงและรายงานจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผลกระทบของปรากฏการณ์ของแรงต่อต้านแรงโน้มถ่วงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเหมือนอย่างกับในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ตามที่เคยอ่านกัน
อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับทางด้านไจโรสโคป
[แก้]ไจโรสโคป (Gyroscopes) สามารถสร้างแรงให้เกิดขึ้นในตัวเองได้เมื่อขณะเกิดการบิดตัวในขณะที่กำลังดำเนินการ "เคลื่อนตัวมันเองออกมาจากแนวระนาบ" และสามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่จะยกตัวเองให้ลอยตัวอยู่ได้โดยประสานแรงยกตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่ "ต่อต้าน" กับแรงโน้มถ่วง แม้ว่าแรงนี้จะเข้าใจกันดีว่าเป็นแค่ภาพลวงตา แม้แต่ภายใต้แบบจำลองของนิวตันก็ตาม แต่แรงนี้ก็ยังคงมีการเอ่ยอ้างถึงอยู่จากการที่มีการสร้างอุปกรณ์ที่มีการสร้างแรงต่อต้านแรงโน้มถ่วงและมีอุปกรณ์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรไว้อีกมากมาย ยังไม่มีการพิสูจน์ได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานได้ภายใต้สภาวะเงื่อนไขที่ได้รับการควบคุม และมักจะกลายเป็นหัวข้อถกเถียงของทฤษฎีสมคบคิดอยู่เสมอๆ ด้วยเหตุนี้
ดูเพิ่ม
[แก้]- Aerodynamic levitation
- Apergy
- Artificial gravity
- Burkhard Heim
- Casimir effect
- Clinostat
- Electrostatic levitation
- Exotic matter
- Gravitational interaction of antimatter
- Heim Theory
- Magnetic levitation
- Optical levitation
- Reactionless drive
- Tractor beam
Fictional accounts
- Despicable Me: Minion Mayhem has the Anti-Gravity Recycling Room
- LittleBigPlanet 2 features a device called the Anti-Gravity Tweaker
- spindizzy is an anti-gravity drive in the science fiction novels of James Blish
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Peskin, M and Schroeder, D.; An Introduction to Quantum Field Theory (Westview Press, 1995) [ISBN 0-201-50397-2]
- ↑ Wald, Robert M. (1984). General Relativity. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0-226-87033-2.
- ↑ Polchinski, Joseph (1998). String Theory, Cambridge University Press. A modern textbook
- ↑ Thompson, Clive (August 2003). "The Antigravity Underground". Wired. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-18. สืบค้นเมื่อ 23 July 2010.
- ↑ "On the Verge of Antigravity". About.com. สืบค้นเมื่อ 23 July 2010.
- ↑ Mooallem, J. (October 2007). A curious attraction. Harper's Magazine, 315(1889), pp. 84–91.
- ↑ "List of winners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-28. สืบค้นเมื่อ 2016-03-06.
- Cady, W. M. (15 September 1952). "Thomas Townsend Brown: Electro-Gravity Device" (File 24-185). Pasadena, CA: Office of Naval Research. Public access to the report was authorized on 1 October 1952.
- Li, N., & Torr, D. (1991). Physical Review, 43D, 457.
- Li, N., & Torr, D. (1992a). Physical Review, 46B, 5489.
- Li, N., & Torr, D. (1992b). Bulletin of the American Physical Society, 37, 441.