ข้ามไปเนื้อหา

แม่แบบ:Subst:วิธีใช้:เริ่มต้น/ทดลองหลัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นนทิยา จิวบางป่า

อีกหนึ่งนักร้องหญิงคุณภาพของวงการเพลงไทย ด้วยรางวัลที่เป็นเครื่องยืนยันถึงความสามารถ และผลงานเพลงที่ได้รับความนิยม รวมทั้งผลงานด้านการแสดง ไม่ว่าจะเป็นละครโทรทัศน์ หรือ ละครเวที ตลอดจนอีกหนึ่งบทบาทที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการเพลง ในฐานะ "ครู" ผู้ใช้ประสบการณ์ชีวิต และส่ิงที่ได้เรียนรู้ มาถ่ายทอด ปลูกฝัง เป็นเบื้องหลังคอยผลักดันลูกศิษย์ จนถึงฝั่งฝัน ในเส้นทางของ "ดนตรี" มามากมาย

ประวัติ

ชื่อ : นนทิยา จิวบางป่า (เจี๊ยบ)

เกิดวันที่ : 27 มิถุนายน พ.ศ.2509

การศึกษา : ปริญญาตรี ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

         คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาดนตรีไทยสมัยนิยม
         มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ตำแหน่งงานปัจจุบัน :

       - นักร้องอิสระ นักแสดงอิสระ
       - ครูสอนร้องเพลง

รางวัลที่ภาคภูมิใจ

       - นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2531-เวทีสยามกลการ
       - รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน สาขานักร้องหญิงยอดเยี่ยม พ.ศ. 2540

ละครโทรทัศน์ : โซ่เสน่หา / รวมพลคนก้นบาตร / ดินเนื้อทอง / เทพบุตรชุดวิน / ก๊วนใสหัวใจสะออน / เสน่หาเงินตรา / อีสา / สงครามนางงาม / ดอกไม้ใต้เมฆ / รักแรกของฉันกับคดีพิลึกพิลั่นของเจ้าบ่าว / นางอาย / ริมฝั่งน้ำ / แผ่นดินแม่ / ไฟสิ้นเชื้อ

ผลงานภาพยนต์ : หนูหิ่น The Movie / บังเอิญรักไม่สิ้นสุด / คืนวันเสาร์ถึงเช้าวันจันทร์ / ประโยคสัญญารัก

ผลงานคอนเสิร์ต

- พ.ศ. 2559 - Music is my life - พ.ศ .2560 - This is the Moment - พ.ศ. 2561 - เพื่อนรักนักร้อง เพื่อน้องรัก - พ.ศ. 2563 - คอนเสิร์ต โก๋หลังวัง - พ.ศ. 2563 - ลูกกรุง อิน คอนเสิร์ต

ผลงานการกุศล

- พ.ศ 2558 และ 2558 - คอนเสิร์ต Sing For Help โดยครูโรจน์ (รุ่งโรจน์ ดุลลาพันธ์)- รายได้ส่วนหนึ่งนำบริจาคองค์กรการกุศลต่าง ๆ - พ.ศ. 2558- I Am What I am โดย ต้อม (ไกรวิทย์ พุ่มสุโข) รายได้ส่วนหนึ่งบริจาค โรงพยาบาลรามาธิบดี - พ.ศ. 2559 - TSC Reunion Charity - รายได้ส่วนหนึ่ง ช่วยเหลือเพื่อนนักดนตรี - พ.ศ. 2560 - We are Family โดย TSC - รายได้ส่วนหนึ่งมอบสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา โรงพยาบาลศิริราช - พ.ศ. 2563 - คอนเสิร์ต คนสู้ไฟ - รายได้ส่วนหนึ่ง นำช่วยเหลือเพื่อการดับไฟป่าที่จังหวัดเชียงราย - พ.ศ. 2563 - คอนเสิร์ต เพื่อครู - รายได้ส่วนหนึ่ง มอบให้ ครูชาลี อินทรวิจิตร และครูสุรพล โทณะวณิก