แม่น้ำเซยา
แม่น้ำเซยา | |
---|---|
เกาะในแม่น้ำเซยา | |
แผนที่ลุ่มแม่น้ำอามูร์โดยเน้นสีที่แม่น้ำเซยา | |
ชื่อท้องถิ่น | Зея (รัสเซีย) |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | รัสเซีย |
หน่วยองค์ประกอบ | แคว้นอามูร์ |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | ทิวเขาตากินสกี-สตาโนวิก |
ปากน้ำ | แม่น้ำอามูร์ |
• พิกัด | 50°14′31″N 127°35′53″E / 50.2419°N 127.598°E |
ความยาว | 1,242 กิโลเมตร (772 ไมล์) |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 233,000 ตร.กม. (90,000 ตารางไมล์) |
อัตราการไหล | |
• ตำแหน่ง | เมืองบลาโกเวชเชนสค์[1] |
• เฉลี่ย | 1,800 ลบ.ม./วินาที (64,000 ลบ.ฟุต/วินาที) |
• ต่ำสุด | 1.5 ลบ.ม./วินาที (53 ลบ.ฟุต/วินาที) |
• สูงสุด | 14,200 ลบ.ม./วินาที (500,000 ลบ.ฟุต/วินาที) |
ลุ่มน้ำ | |
ลำดับแม่น้ำ | แม่น้ำอามูร์ → ทะเลโอค็อตสค์ |
แม่น้ำเซยา (รัสเซีย: Зе́я; มาจากคำในภาษาเอเวนค์: де̄е, djee, แปลว่า "ใบมีด"; จีน: 结雅; พินอิน: jié yǎ ; แมนจู: ᠵᡳᠩᡴᡳᡵᡳᠪᡳᡵᠠ , เมิลเลนดรอฟฟ์: jingkiri bira) เป็นสาขาฝั่งซ้ายของแม่น้ำอามูร์ไหลจากทางทิศเหนือ ในแคว้นอามูร์ ประเทศรัสเซีย มีความยาว 1,242 กิโลเมตร (772 ไมล์) และมีพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ 233,000 ตารางกิโลเมตร (90,000 ตารางไมล์)[2] ปริมาณน้ำเฉลี่ยของแม่น้ำคือ 1,800 ลูกบาศก์เมตร/วินาที (64,000 ลูกบาศก์ฟุต/วินาที)
ประวัติ
[แก้]ชาวรัสเซียคนแรกที่สำรวจพื้นที่และเขียนรายงานเกี่ยวกับลำน้ำคือ วาซิลี ปายาร์คอฟ (Василий Данилович Поярков)
เส้นทาง
[แก้]เริ่มต้นบริเวณสันเขาตากินสกี-สตาโนวิก (Токинский Становик) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาสตาโนวอย (Становой хребет)
แม่น้ำเซยาไหลผ่านอ่างเก็บน้ำเซยา ที่จุดแยกของทิวเขาตูกูรินกรา (Хребет Тукурингра) และทิวเขาจักดึย (Хребет Джагды) และบรรจบกับแม่น้ำอามูร์ใกล้เมืองบลาโกเวชเชนสค์ ที่ชายแดนประเทศจีน การควบคุมการปล่อยน้ำในแม่น้ำโดยเขื่อนเซยา ช่วยลดอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำส่วนปลายลงเหลือ 5,000 ลูกบาศ์กเมตร/วินาที แม่น้ำเซยาในปัจจุบันที่มีเขื่อนควบคุม มีส่วนประมาณ 16% ของอัตราการไหลเฉลี่ยและอัตราการไหลสูงสุดของแม่น้ำอามูร์ ขณะที่ในอดีตแม่น้ำเซยามีส่วนในอัตราการไหลได้มากถึงเกือบ 50% ของการไหลสูงสุดของแม่น้ำอามูร์ ที่ประมาณ 30,000 ลูกบาศ์กเมตร/วินาที
แม่น้ำสาขาหลักของแม่น้ำเซยาทางฝั่งขวาของลำน้ำได้แก่ แม่น้ำตอก (Ток), แม่น้ำมุลมูกา (Мульмуга), แม่น้ำเบรียนตา (Брянта), แม่น้ำกิลยูย (Гилюй) และแม่น้ำอูร์คัน (Уркан) และทางฝั่งซ้ายของลำน้ำได้แก่แม่น้ำคูปูรี (Купури), แม่น้ำอาร์กี (Арги), แม่น้ำเดป (Деп), แม่น้ำเซเลมจา (Селемджа) และแม่น้ำตอม (Томь)[3]
ในแต่ละปีแม่น้ำกลายเป็นน้ำแข็งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงพฤษภาคม ขณะที่แม่น้ำไม่มีน้ำแข็ง จะมีการเดินเรือในลำน้ำโดยมีท่าเรือที่สำคัญได้แก่ท่าเรือเมืองเซยา, เมืองสวาโบดนืย (Свобо́дный) และเมืองบลาโกเวชเชนสค์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sokolov, Far East // Hydrography of USSR. (ในภาษารัสเซีย).
- ↑ Река ЗЕЯ [Zeya river]. the State Water Register of Russia (ภาษารัสเซีย).
- ↑ Зея (река в Амурской обл.), Great Soviet Encyclopedia (ในภาษารัสเซีย).
บรรณานุกรม
[แก้]- Гидроэкологический мониторинг зоны влияния Зейского гидроузла [Hydroecological monitoring of the zone of influence of the Zeya hydroelectric complex] (PDF). Гл. ред. С. Е. Сиротский (ภาษารัสเซีย). Хабаровск: ДВО РАН. 2010. ISBN 978-5-7442-1458-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.
- Мина М. В. (1962). Материалы по ихтиофауне реки Зеи [Materials on the ichthyofauna of the Zeya River]. Научные доклады высшей школы. Биологические науки (ภาษารัสเซีย) (4): 33–37. ISSN 1028-0057.