แม่น้ำหมิ่น
แม่น้ำหมิ่น แม่น้ำหมิ่งเก๋ง | |
---|---|
แม่น้ำหมิ่นในนครฝูโจว | |
ที่ตั้งในมณฑลฝูเจี้ยน | |
ชื่อท้องถิ่น | 闽江 |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | จีน |
มณฑล | ฝูเจี้ยน |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | ทิวเขาอู่อี๋ |
• ตำแหน่ง | ระหว่างมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจียงซี |
ปากน้ำ | ทะเลจีนตะวันออก |
ความยาว | 541 km (336 mi) |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 60,992 ตารางกิโลเมตร (23,549 ตารางไมล์) |
ลุ่มน้ำ | |
ลำน้ำสาขา | |
• ซ้าย | แม่น้ำเจี้ยน (建溪) และสาขา ได้แก่แม่น้ำฉงหยาง (崇阳溪), แม่น้ำซง (松溪), แม่น้ำหนานผู่ (南浦溪) |
• ขวา | แม่น้ำฟู่ถุน (富屯溪; ฟู่ถุนซี), แม่น้ำชา (沙溪; ชาซี) แม่น้ำโหยว (尤溪) และแม่น้ำต้าจาง (大樟溪) |
แม่น้ำหมิ่น | |||||||||||||||
ภาษาจีน | 闽江 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แม่น้ำหมิ่น (จีนตัวย่อ: 闽江; จีนตัวเต็ม: 閩江; พินอิน: Mǐn Jiāng, หมิ่นเจียง; หมิ่นตะวันออก: Mìng-gĕ̤ng, มิ้งเงิ้ง) เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านในมณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความยาว 541 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่เป็นช่องทางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญและมีพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในฝูเจี้ยน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของมณฑลฝูเจี้ยนตอนเหนือและตอนกลาง รวมทั้งฝูโจวเมืองหลวงของมณฑลที่ตั้งอยู่บนตอนล่างของแม่น้ำหมิ่น มีศูนย์กลางประวัติศาสตร์อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำและส่วนต่อชายฝั่งทะเลจีนตะวันออก ซึ่งมีท่าเรือที่สำคัญมาแต่ในอดีต
ภูมิศาสตร์
[แก้]ต้นน้ำของแม่น้ำหมิ่นเกิดที่บริเวณทิวเขาอู่อี๋ ซึ่งเป็นสันปันน้ำระหว่างมณฑลฝูเจี้ยนและมณฑลเจียงซี ไหลผ่านมณฑลฝูเจี้ยนเป็นระยะทางกว่า 541 กิโลเมตร และมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 60,992 ตารางกิโลเมตร[1] ความลาดชันเฉลี่ย 0.5 ต่อล้าน[2]
ปริมาณน้ำประมาณร้อยละ 70 ได้รับจากแม่น้ำสาขาหลัก 3 สาย ได้แก่ แม่น้ำเจี้ยน (建溪; เจี้ยนซี) , แม่น้ำฟู่ถุน (富屯溪; ฟู่ถุนซี) และ แม่น้ำชา (沙溪; ชาซี) แต่เนื่องด้วยภูมิศาสตร์ของฝูเจี้ยนที่เป็นหุบเขา มีแอ่งกระทะในบริเวณตอนเหนือของมณฑลในเขตนครหนานผิง ทำให้เป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจี้ยนที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำหมิ่นมีขนาดใหญ่และประกอบด้วยแควสาขามากมาย ขนาดพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจี้ยนจึงมีสัดส่วนถึงร้อยละ 91 ของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำหมิ่นทั้งหมด[3]
เช่นเดียวกับแม่น้ำส่วนใหญ่สายอื่นของฝูเจี้ยน แม่น้ำหมิ่นไหลจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล สู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ลอดทางช่องเขาต่าง ๆ ซึ่งมีปริมาณน้ำที่ระบายออกสู่ทะเลปีละ 57.4 พันล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของการระบายน้ำทั้งหมดของมณฑลฝูเจี้ยน[3] ซึ่งทำให้มีความสำคัญในระบบการขนส่งทางน้ำของมณฑล อย่างไรก็ตามสำหรับเรือขนาดใหญ่ไม่สามารถใช้แม่น้ำสายนี้เดินเรือได้ในระยะไกลเข้าสู่พื้นที่ภายใน
การตรวจวัดปริมาณการไหลระบายของน้ำ ที่อำเภอหมิ่นโฮ่ว นครฝูโจว วัดได้ 1,750 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีโดยเฉลี่ยต่อปี และจนถึงปัจจุบันสถิติการไหลระบายของน้ำสูงสุดที่เคยวัดได้ในค.ศ.1937 ที่ 2670 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และสถิติต่ำสุดที่ 850 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีในค.ศ.1971 โดยน้ำสามในสี่จะระบายออกไปในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน เฉพาะในเดือนมิถุนายนมีปริมาณการไหลระบายถึงร้อยละ 22.6 ของปริมาณการไหลประจำปีทั้งหมด และในเดือนมกราคมมีเพียงร้อยละ 2.8[4]
แควสาขา
[แก้]- แม่น้ำชา (沙溪)
- แม่น้ำฟู่ถุน (富屯溪)
- แม่น้ำฉงหยาง (崇阳溪)
- แม่น้ำเจี้ยน (建溪)
- แม่น้ำซง (松溪)
- แม่น้ำหนานผู่ (南浦溪)
- แม่น้ำโหยว (尤溪)
- แม่น้ำต้าจาง (大樟溪)
พื้นที่ชุ่มน้ำ
[แก้]เขตอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำหมิ่น เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและพื้นที่นกอพยพหลายชนิดที่รวมตัวอย่างหนาแน่นและเป็นที่อาศัยของนกน้ำหลากสายพันธุ์ เช่น นกยาง นกช้อนหน้าดำ นกอีเสือ และสัตว์น้ำมากมาย ได้แก่ ปลาตีน ปูก้ามดาบ[5] ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 12,500 ไร่ ได้รับการจัดเป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติโดยคณะรัฐมนตรีจีนในปี 2546[6]
เขตอนุรักษ์นี้ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างตอนเหนือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย และเป็นจุดแวะพักของนกน้ำอพยพมากกว่า 50,000 ตัวในแต่ละปี[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fujian sheng zhi. Di li zhi. Fujian Sheng di fang zhi bian zuan wei yuan hui, 福建省地方志编纂委员会. (Di 1 ban ed.). [Beijing]: Fang zhi chu ban she. 2001. p. 93. ISBN 7-80122-612-7. OCLC 51310251.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Fujian sheng zhi. Di li zhi. Fujian Sheng di fang zhi bian zuan wei yuan hui, 福建省地方志编纂委员会. (Di 1 ban ed.). [Beijing]: Fang zhi chu ban she. 2001. p. 94. ISBN 7-80122-612-7. OCLC 51310251.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 Fujian sheng zhi. Di li zhi. Fujian Sheng di fang zhi bian zuan wei yuan hui, 福建省地方志编纂委员会. (Di 1 ban ed.). [Beijing]: Fang zhi chu ban she. 2001. ISBN 7-80122-612-7. OCLC 51310251.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Fujian sheng zhi. Di li zhi. Fujian Sheng di fang zhi bian zuan wei yuan hui, 福建省地方志编纂委员会. (Di 1 ban ed.). [Beijing]: Fang zhi chu ban she. 2001. p. 97. ISBN 7-80122-612-7. OCLC 51310251.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ ส่องความสมบูรณ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำหมิ่นเจียง ในฝูเจี้ยน ซินหัว, 11 พฤศจิกายน 2563.
- ↑ 6.0 6.1 ส่องเขตอนุรักษ์ปากแม่น้ำหมิ่นเจียงในฝูเจี้ยน ซินหัว, 22 เมษายน 2564.