ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำราวี

พิกัด: 30°35′N 71°49′E / 30.583°N 71.817°E / 30.583; 71.817
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำราวี
ลักษณะทางกายภาพ
ปากน้ำแม่น้ำจนาพ ปากีสถาน
ความยาว720 กิโลเมตร (450 ไมล์)

แม่น้ำราวี (อังกฤษ: Ravi River, ปัญจาบ: ਰਾਵੀ) เป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและทางตะวันออกของประเทศปากีสถาน มีความยาวรวม 720 กิโลเมตร (450 ไมล์) เป็นหนึ่งในแม่น้ำในระบบแม่น้ำสินธุและหนึ่งในแม่น้ำห้าสายแห่งภูมิภาคปัญจาบ

ในประวัติศาสตร์ยุคพระเวท เรียกแม่น้ำราวีว่า "อิราวดี" (Iravati หรือ Eeraveti–คนละสายกับแม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า)[2] และมีบันทึกในคัมภีร์ฤคเวทว่า ยุทธการสิบกษัตริย์ที่เกิดขึ้นราวศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาลเกิดขึ้นใกล้กับแม่น้ำแห่งนี้[3]

แม่น้ำราวีมีต้นกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัย ในเขตกางครา รัฐหิมาจัลประเทศ อินเดีย มีลำน้ำสาขาที่สำคัญสองสายคือ แม่น้ำพุทธุหรือพุธิลและแม่น้ำไมหรือโธนา แต่สายหลักเริ่มที่ตีนเขาแดลเฮาซีในเขตจัมพา ผ่านที่ราบปัญจาบใกล้เมืองมาโธปุระและปฐานโกฏ ก่อนจะไหลตามพรมแดนอินเดีย-ปากีสถานเป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) และไหลเข้าปากีสถานไปบรรจบกับแม่น้ำจนาพ

แม่น้ำราวีเป็นหนึ่งในแม่น้ำสามสาย (อีกสองสายคือ แม่น้ำบีอาสและแม่น้ำสตลุช) ที่อยู่ในการดูแลของอินเดียตามสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ มีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในด้านประมงและชลประทาน และมีการสร้างเขื่อนรันชีตสาครขึ้นเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้เมืองปฐานโกฏ เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1981 สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2001 มีความจุ 3,280 ล้านลูกบาศก์เมตร มีโรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิต 600 เมกะวัตต์[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Gauging Station - Data Summary". ORNL. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  2. Hastings, James (2003). Encyclopedia of Religion and Ethics, Part 18. Kessinger Publishing. p. 605. ISBN 0-7661-3695-7. สืบค้นเมื่อ 14 April 2010.
  3. "Dasarajna: Battle of the Ten Kings from Rig Veda". Sanskriti - Indian Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "RANJIT SAGAR DAM". PSPCL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

30°35′N 71°49′E / 30.583°N 71.817°E / 30.583; 71.817