ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำพะโค

พิกัด: 16°45′57″N 96°11′48″E / 16.76583°N 96.19667°E / 16.76583; 96.19667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำพะโค
ชื่อท้องถิ่นพม่า: ပဲခူးမြစ်
ที่ตั้ง
ประเทศประเทศพม่า
ภาค
อำเภอ
Cities
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำภูเขาซินนามอง , อำเภอโจ่บีนเกาะ, ภาคพะโค, พม่า[1]
 • พิกัด18°23′50″N 95°55′1″E / 18.39722°N 95.91694°E / 18.39722; 95.91694
 • ระดับความสูง800 m (2,600 ft) (ประมาณ)
แหล่งที่ 2เขื่อนซองตู, อำเภอและปะด้าน, ภาคพะโค, พม่า
 • พิกัด17°45′20″N 96°11′46″E / 17.75556°N 96.19611°E / 17.75556; 96.19611
 • ระดับความสูง80 m (260 ft) (ประมาณ)
ปากน้ำแม่น้ำย่างกุ้ง
 • ตำแหน่ง
มังกี้พอยต์, ย่างกุ้ง, พม่า
 • พิกัด
16°45′57″N 96°11′48″E / 16.76583°N 96.19667°E / 16.76583; 96.19667
 • ระดับความสูง
1 m (3.3 ft)
ความยาว331 km (206 mi)[2]
พื้นที่ลุ่มน้ำ3,220 km2 (1,240 sq mi) [2]
ความกว้าง 
 • เฉลี่ย150 m (490 ft)[3]
 • สูงสุด1,200 m (3,900 ft)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งแม่น้ำย่างกุ้ง
ลุ่มน้ำ
ลำดับแม่น้ำ'แม่น้ำพะโค→ แม่น้ำย่างกุ้งทะเลอันดามัน
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้าย
 • ขวาคลองพะโค-ซิต้อง

แม่น้ำพะโค (พม่า: ပဲခူးမြစ်) เป็นแม่น้ำทางตอนใต้ของประเทศพม่า ไหลผ่านพะโคและย่างกุ้ง เชื่อมกับ แม่น้ำย่างกุ้ง ทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้ง[4] แม่น้ำพะโคมีต้นน้ำมาจากลำธารหลายสายบนทิวเขาพะโค[5] เดิมเชื่อว่ามีต้นทางจากภูเขาซินนามอง ในอำเภอและปะด้าน[1] การสำรวจทางอุทกวิทยาสมัยใหม่พบลำธารไกลออกไปทางเหนือในอำเภอพยู่ ซึ่งไหลลงสู่ลุ่มแม่น้ำพะโค[3] แม่น้ำพะโคไหลเข้าสู่เขตย่างกุ้งบรรจบกับแม่น้ำย่างกุ้งที่ มังกี้พอยต์ อำเภอโบตะทอง ซึ่งแม่น้ำต่อจากนี้เรียกกันว่าแม่น้ำย่างกุ้ง

ในปี ค.ศ. 1608 นักผจญภัยชาวโปรตุเกส ฟีลีปึ ดึ บรีตู อี นีโกตึ หรือรู้จักในพม่าว่า งะซีนกา ได้ปล้นสะดมเจดีย์ชเวดากอง คนของเขาเอาระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์ 300 ตันไปโดยใช้ช้างและแรงงานบังคับ[6] ดึ บรีตูเจตนาจะหลอมระฆังเพื่อสร้างปืนใหญ่ แต่ระฆังได้ตกลงไปในแม่น้ำขณะกำลังขนย้าย[7]

หลายคนพยายามค้นหาระฆังในน้ำขุ่นของแม่น้ำ จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่สำเร็จ เจมส์ บลันต์ นักประดาน้ำลึกมืออาชีพได้ดำน้ำสำรวจ 115 ครั้ง โดยใช้ภาพ โซนาร์ ของวัตถุในพื้นที่เพื่อเป็นแนวทาง จนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการกู้คืน นักประดาน้ำชาวพม่าหลายคนเสียชีวิตจากการตามหา รวมถึงนักดำน้ำของกองทัพเรือ 2 คนที่ติดอยู่ในซากเรือในบริเวณใกล้เคียง ระฆังได้กลายเป็นเป้าหมายของความเชื่อทางไสยศาสตร์ระดับชาติที่เชื่อว่าการค้นหาจะถูกคำสาป และการนำระฆังกลับมาเป็นกุญแจสู่การหลุดพ้นจากประเทศยากจน[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Myanmar Information Management Unit (December 19, 2019). Bago Myone Daethasaingyarachatlatmya ပဲခူမြို့နယ် ဒေသဆိုင်ရာအချက်လက်များ [Bago Township Regional Information] (PDF) (Report). MIMU. สืบค้นเมื่อ March 2, 2022.
  2. 2.0 2.1 Phue, H.T.; Cheunchooklin, S. (2020). "Existing Water Balance in the Bago River Basin, Myanmar". IOP Conference Series: Earth and Environmental Science. 552 (552): 012003. doi:10.1088/1755-1315/552/1/012003. S2CID 225252599.
  3. 3.0 3.1 Win, Shelly; Win Win Zin; Kawasaki, Akiyuki; Zin Mar Lar Tin San (June 2018). "Establishment of flood damage function models: a case study in the Bago River Basin, Myanmar". International Journal of Disaster Risk Reduction. 28: 688–700. doi:10.1016/j.ijdrr.2018.01.030. S2CID 135356664.
  4. Schellinger, Paul E. and Salkin, Robert M. (editors) (1996) "Bago (Myanmar)" International Dictionary of Historic Places: Asia and Oceania (volume 5) Fitzroy Dearborn Publishers, Chicago, pp. 60-65, page 60, ISBN 1-884964-04-4
  5. Seekins, Donald M. (2006) Historical dictionary of Burma (Myanmar) Scarecrow Press, Lanham, Maryland, page 357, ISBN 0-8108-5476-7
  6. 6.0 6.1 Aung Zaw (23 February 2018). "Chiming with History". The Irrawaddy. The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ March 5, 2022.
  7. "Myanmar's Largest Bell Underwater". Yangon, Myanmar: Myanmar's NET. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2010. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010.