ข้ามไปเนื้อหา

แมวสีกระดองเต่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมวลายกระดองเต่าขนสั้น

กระดองเต่า เป็นสีขนของแมว ซึ่งตั้งชื่อตามลายที่ความคล้ายคลึงกับกระดองเต่า คล้ายกับคาลิโก แมวกระดองเต่านั้นเป็นเพศหญิงโดยเฉพาะ[1][2][3][4] แมวกระดองเต่าตัวผู้นั้นหายากและมักเป็นหมัน[a][6][4]

แมวลักษณะนี้เรียกโดยย่อว่า ทอร์ดีร์ แมวที่มีลักษณะเป็นสองสีแต่เป็นสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาว ยังสามารถเรียกว่าแมวกระดองเต่าได้[2] สีที่ผสมอย่างใกล้ชิดหรือเป็นหย่อมใหญ่ มักจะได้รับการอธิบายว่าสีเป็นเฉดสีแดงและสีดำ แต่แท้จริงแล้ว "สีแดง" อาจหมายถึงเป็นสีส้ม สีเหลือง หรือสีครีมแทน[2]และ "สีดำ" อาจหมายถึงเป็นสีคล้ายช็อกโกแลต เทา แท็บบี หรือสีน้ำเงิน[2] แมวกระดองเต่าที่มีรูปแบบแท็บบี เป็นสีหนึ่งของพวกมันในบางครั้งจะเรียกว่า ทอร์ดี[7]

สำหรับนิยามของคำว่า "กระดองเต่า" มักไม่รวมสำหรับแมวบางสีที่มีจุดสีขาวค่อนข้างเล็กหรือไม่มีเลย แมวที่มีสีขาวเป็นส่วนใหญ่และมีหย่อมกระดองเต่าจะถือว่าเป็น แมวสามสี[2] หรือในสหราชอาณาจักร เรียกว่ากระดองเต่าและสีขาว ในประเทศแคนาดาและสหรัฐ จะเรียกว่าคาลิโก[8]

หรือหากแมวที่มีลวดลายกระดองเต่าและมีจุดเล็ก ๆ สีขาว บางครั้งเจ้าของเรียกกันว่า "ทอร์ดิโก" เป็นการรวมกันระหว่าง "ทอร์ดิ" และ "คาบิโก" แมวทอร์ทิ ที่มีสีขาวบริเวณคอไปจนเกือบถึงขามักถูกเรียกว่า "คาลิบี" เป็นการควบรวมของ "คาลิโก" และ "แท็บบี" ลายกระดองเต่ามักปรากฏในหลายสายพันธุ์ รวมทั้งในแมวบ้านที่ไม่ใช่พันธุ์แท้[8] และนิยมปรากฎในสายพันธุ์แจแพนีสบ็อบเทล[9] และคอร์นิชเรกซ[10]

รูปแบบ

[แก้]
แมวลายกระดองเต่า ที่มีรูปแบบเฉพาะเป็น "ลายหน้าแตก"
แมวที่มีลายกระดองเต่าเจือจาง

แมวสีกระดองเต่า จะมีลักษณะคล้ายเสื้อคลุมสีต่าง ๆ ด้วยเฉดสีแดงและดำหลากหลายเฉด และบางครั้งก็เป็นสีขาว ขนาดของแผ่นแปะอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ลวดลายที่มีจุดเล็ก ๆ ไปจนถึงพื้นที่สีขนาดใหญ่ โดยทั่วไปยิ่งแมวมีสีขาวมากเท่าไหร่ สีอีกส่วนก็จะยิ่งเข้มขึ้นเท่านั้น ซึ่งยีนเจือจางอาจปรับเปลี่ยนสีทำให้ขนสว่างขึ้นเป็นสีครีม น้ำเงิน ม่วง หรือสีเหลืองอ่อน ลายบนแมวกระดองเต่ามักจะไม่สมมาตร[11]

ในบางครั้งแท็บบีที่มีสีน้ำตาล และแดง หรือสีสันอื่น ลวดลายเหล่านี้มักเรียกว่า ทอร์บิ-แท็บบี ซึ่งทอร์บีหรือแมวที่มีพื้นที่สีขาวขนาดใหญ่จะเรียกว่า คาลิบี มักไม่เป็นเรื่องแปลกที่จะมีลาย "หน้าแตก" โดยมีสีดำอยู่ด้านหนึ่งและสีส้มอีกด้านหนึ่ง โดยมีเส้นแบ่งที่สันจมูก สีของกระดองเต่ายังสามารถแสดงในรูปแบบจุด ซึ่งเรียกว่าจุดทอร์ตี[11]

สมุดภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

บันทึก

[แก้]
  1. ทั้งนี้เป็นเพราะแมวกระดองเต่ารับช่วงโครโมโซม X หนึ่งตัวที่มียีนสีดำ และโครโมโซม X ซึ่งมียีนสีเหลืองหรือสีส้มจากพ่อหรือแม่ ซึ่งการมีโครโมโซม X สองตัวหมายความว่าลูกแมวที่คลอดมาจะเป็นตัวเมีย ในแต่ก็สามามารถเป็นตัวผู้ได้หากมีโครโมโซมสามตัว คือ X สองตัวและ Y[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Centerwall, W. R.; Benirschke, K. (1975). "An animal model for the XXY Klinefelter's syndrome in man: Tortoiseshell and calico male cats". American Journal of Veterinary Research. 36 (9): 1275–1280. PMID 1163864.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Centerwall, W.R.; Benirschke, K. (1973). "Male Tortoiseshell and Calico (T-C) Cats: Animal models of sex chromosome mosaics, aneuploids, polyploids, and chimerics". Journal of Heredity. 64 (5): 272–278. doi:10.1093/oxfordjournals.jhered.a108410. PMID 4798734.
  3. Atkins (2003), p. 61
  4. 4.0 4.1 Feline dermatology. Noli, Chiara., Colombo, Silvia. Cham: Springer. 2020. ISBN 978-3-030-29836-4. OCLC 1159164563.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  5. "Characteristics of Tortoiseshell Cats, by Leslie Carver". the nest. สืบค้นเมื่อ December 19, 2015.
  6. Atkins (2003), p.105
  7. King, Ingrid. "'Tortitude' – The Unique Personality of Tortoiseshell Cats", The Conscious Cat. consciouscat.net. August 17, 2009. Retrieved 2015-12-19
  8. 8.0 8.1 Syufy, Franny. "More Cat Color Patterns: Calicos, Tortoiseshell, Tuxedo Cats". สืบค้นเมื่อ 2009-01-22.
  9. "Breed Profile: Japanese Bobtail". Cat Fancier's Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 2007-06-02.
  10. Atkins (2003), p. 90
  11. 11.0 11.1 "Cat Colors FAQ: Common Colors". fanciers.com. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
  12. "Tortie Ragdolls". FloppyCats. สืบค้นเมื่อ 2021-07-10.

แหล่งที่มา

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]