ข้ามไปเนื้อหา

สโตนฟลาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แมลงสโตนฟลาย)
สโตนฟลาย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 299–0Ma Permian–Recent
Eusthenia sp.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
ชั้นย่อย: Pterygota
ชั้นฐาน: Neoptera
อันดับใหญ่: Exopterygota
อันดับ: Plecoptera
Burmeister, 1839
Suborders

Arctoperlaria
and see text

พลีคอปเทอร่าหรือเรียกว่า สโตนฟลาย(อังกฤษ: stonefly) เป็นแมลงในอันดับพลีคอปเทอร่า (Order Plecoptera)

ลักษณะตัวเต็มวัย (adult)

[แก้]

แบ่งออกเป็น ส่วนหัว ส่วนอก ส่วนท้อง

  1. ส่วนหัว (head) มีหนวด (antennae) ยาว 1 คู่ มีตารวม (compound eyes) 1 คู่ มีตาเดี่ยว (ocelli) 0-3 ตา มีปากแบบกัดกิน (Chewing mouthpart)
  2. ส่วนอก (thorax) มีขา 3 คู่ มีปีก 2 คู่เป็นแผ่นบางใส (membranous wings) ปีกคู่หลัง (hind wings) จะซ้อนพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า (fore wings)
  3. ส่วนท้อง (abdomen) ยาวแบ่งเป็นปล้อง

การเจริญเติบโต

[แก้]

มีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) คือเจริญเติบโตจากไข่ ฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ลอกคราบหลายครั้งจนเป็นตัวเต็มวัย โดยไม่มีระยะดักแด้ ในระยะตัวอ่อน (nymph) มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่ไม่มีปีก อาจพบเหงือก (gills) รูปร่างต่าง ๆ ตามลำตัวเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล (Lotic habitat, running water) บางชนิดมีนิสัยการกินแบบผู้ล่า (predator) กินสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร แต่บางชนิดกินเศษซากตะกอนในแหล่งน้ำเป็นอาหาร (detritivore) และเมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายเป็นตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่บนบกใกล้แหล่งน้ำ

วงจรชีวิต

[แก้]

สโตนฟลายบางชนิดที่มีวงจรชีวิตระยะตัวอ่อนเป็นเวลายาวนาน เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะจับคู่ผสมพันธุ์ทันทีโดยไม่กินอาหาร แต่ในบางชนิดที่มีวงจรชีวิตใช้เวลาในระยะตัวอ่อนน้อย เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะกินน้ำหรือเศษซากพืชหรือซากตะกอนเพียงเล็กน้อย เพื่อพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้เจริญเต็มที่ ก่อนจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ลงในแหล่งน้ำไหลเพื่อให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนอาศัยเจริญเติบโตในแหล่งน้ำไหลนั้นต่อไป จากลักษณะการดำรงชีวิตโดยอาศัยพึ่งพาแหล่งน้ำอยู่เกือบตลอดทั้งวงจรของชีวิต แมลงชนิดนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มของแมลงน้ำ (Aquatic insects) สโตนฟลายไม่สามารถทนมลพิษทางน้ำได้ ดังนั้นการพบแมลงพวกนี้ในน้ำไหลหรือน้ำนิ่งจึงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำได้เป็นอย่างดี[1]


อ้างอิง

[แก้]