แมงกะพรุนไฟ
แมงกะพรุนไฟ | |
---|---|
แมงกะพรุนไฟบูร์กินาฟาโซ (C. fuscescens) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Cnidaria |
ชั้น: | Scyphozoa |
อันดับ: | Semaeostomeae |
วงศ์: | Pelagiidae |
สกุล: | Chrysaora Péron & Lesueur, 181044 |
ชนิด | |
|
แมงกะพรุนไฟ หรือ ตำแยทะเล เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกจำพวกแมงกะพรุนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Chrysaora (/ไคร-เซ-ออ-รา/) จัดอยู่ในชั้นแมงกะพรุนแท้ หรือไซโฟซัว
โดยแมงกะพรุนไฟ มีลักษณะทั่วไปคล้ายร่ม แต่มีสีลำตัวและหนวดเป็นสีแดงสดหรือสีส้ม ด้านบนมีจุดสีขาวอยู่ทั่วไป สังเกตได้ง่าย ปากและหนวดยื่นออกมาทางด้านล่างหรือด้านท้อง เส้นหนวดมีจำนวนมากเป็นสายยาวกว่าลำตัว พบในทะเลทั้งบริเวณชายฝั่งและไกลฝั่ง ในช่วงฤดูมรสุมอาจพบได้ในเขตน้ำกร่อย จัดเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมากอีกจำพวกหนึ่ง เมื่อโดนต่อยจากเข็มพิษแล้วจะมีอาการเจ็บปวดที่บริเวณบาดแผล จะมีอาการเจ็บ ปวดบริเวณบาดแผลอย่างรุนแรงภายในระยะเวลา 44 นาที บางครั้งอาจพบหนวดแมงกะพรุนขาดติดอยู่บนผิวสัมผัส ผิวหนังมีแนวผื่นแดง หรือรอยไหม้ ตามรอยหนวด ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงจากการอักเสบและอาจเป็นหนองจากการติดเชื้อสำทับ อาการบวมแดงอาจหายไปได้ในเวลาไม่ช้า แต่รอยไหม้และรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลารักษานานหลายปี หรืออยู่ถาวรตลอดไป นอกจากนี้อาจมีอาการไอ, น้ำมูกและน้ำตาไหล และอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อเป็นตะคริว, อ่อนเพลีย และหมดสติ จากการฉีดพิษที่สกัดจากแมงกะพรุนไฟเข้าไปในสัตว์ทดลองพบว่าทำให้การทำงานของตับและไตผิดปรกติ จนอาจเป็นอันตรายถึงตายได้ แต่ยังไม่มีรายงานว่าเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมนุษย์ และผลที่ออกมาค่อนข้างทุกข์โศกพอสมควร[1]
โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงกะพรุนไฟนั้น คือ Chrysaora มีที่มาจากเทพปกรณัมกรีก คือ ไครเซออร์ซึ่งเป็นโอรสของโปเซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลกับเมดูซ่า เป็นอนุชาของเพกาซัส โดยที่ชื่อนี้มีความหมายว่า "บุรุษผู้ถืออาวุธทองคำ"[2]
การจำแนก
[แก้]- Chrysaora achlyos Martin, Gershwin, Burnett, Cargo & Bloom 1997 - แมงกะพรุนไฟดำ
- Chrysaora chinensis Vanhöffen, 1888
- Chrysaora colorata (Russell 1964) - แมงกะพรุนไฟแถบม่วง
- Chrysaora fulgida (Reynaud 1830)
- Chrysaora fuscescens Brandt 1835 - แมงกะพรุนไฟแปซิฟิก
- Chrysaora hysoscella (Linné 1766) - แมงกะพรุนเข็มทิศ
- Chrysaora lactea Eschscholtz 1829
- Chrysaora melanaster Brandt 1838 - แมงกะพรุนไฟสีน้ำตาล, แมงกะพรุนเหนือ
- Chrysaora pacifica (Goette 1886) - แมงกะพรุนไฟญี่ปุ่น
- Chrysaora pentastoma Péron & Lesueur, 1810
- Chrysaora plocamia (Lesson 1832)
- Chrysaora quinquecirrha (Desor 1848) - แมงกะพรุนไฟแอตแลนติก[3]
ชื่อพ้องและชนิดที่ยังเป็นที่สงสัย
[แก้]- Chrysaora africana (Vanhöffen 1902) [ยอมรับในชื่อ Chrysaora fulgida (Reynaud, 1830)]
- Chrysaora blossevillei Lesson 1830 [ชื่อชนิดที่ยังไม่แน่นอน]
- Chrysaora caliparea (Reynaud 1830) [ชนิดที่ยังต้องตรวจสอบต่อไป][3]
- Chrysaora depressa (Kishinouye 1902) [ยอมรับในชื่อ Chrysaora melanaster Brandt 1838]
- Chrysaora helvola Brandt 1838 [accepted as Chrysaora fuscescens Brandt 1835]
- Chrysaora kynthia Gershwin & Zeidler 2008 [ชื่อชนิดที่ยังไม่แน่นอน][3]
- Chrysaora southcotti Gershwin & Zeidler 2008 [ยอมรับในชื่อ Chrysaora pentastoma Péron & Lesueur, 1810][3]
- Chrysaora wurlerra Gershwin & Zeidler 2008 [ชื่อชนิดที่ยังไม่แน่นอน][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สัตว์มีพิษในทะเลไทย:แมงกะพรุน โดย วันทนา อยู่สุข, ธีระพงศ์ ด้วงดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-08. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-12. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Morandini, A.C. & A.C. Marques (2010). "Revision of the genus Chrysaora Péron & Lesueur, 1810 (Cnidaria: Scyphozoa)". Zootaxa. 2464: 1–97.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chrysaora ที่วิกิสปีชีส์