ข้ามไปเนื้อหา

แพตช์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แพตช์ (อังกฤษ: Patch) ในทางคอมพิวเตอร์คือโปรแกรมที่ใช้ซ่อมแซมจุดบกพร่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ [1] หรือปรับปรุงข้อมูลสำหรับโปรแกรมให้ทันสมัย และเพิ่มเติมความสามารถในการใช้งานหรือประสิทธิภาพให้ดีขึ้น

แพตช์จำเป็นต้องเกิดขึ้นเนื่องจาก โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะมีข้อบกพร่องที่บางครั้งตรวจไม่พบในขณะที่เขียน แต่ไปพบภายหลังการออกจำหน่าย รวมถึงบางครั้งตัวโปรแกรมก็จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เช่นโปรแกรมป้องกันไวรัส

การอัปเดต

[แก้]

สำหรับระบบปฏิบัติการในปัจจุบัน จะมีระบบอัปเดตอัตโนมัติซึ่งจะทำการโหลดแพตช์จากเว็บไซต์โดยตรง (ถ้ามีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต) เพื่อใช้แพตช์ซ่อมแซมจุดบกพร่องและอุดช่องโหว่ที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัย

ในกรณีของโปรแกรมป้องกันไวรัส และ โปรแกรมป้องกันสปายแวร์ การอัปเดตมีความสำคัญมาก เพราะในการตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นต้องพึ่ง Virus Signature ในการทำงาน ซึ่งแน่นอนว่ามีไวรัสใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน หากไม่มีการอัปเดตแล้ว ตัวโปรแกรมจะไม่สามารถตรวจพบไวรัสใหม่ ๆ ได้

สำหรับโปรแกรมอื่น ๆ ก็มักจะเป็นเหตุผลเรื่องข้อบกพร่องหรือเรื่องความปลอดภัย หรือเพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น

การอัปเดตสามารถทำได้โดย

  • เข้าไปที่คำสั่งอัปเดตโดยตรง
  • ตั้งค่าให้อัปเดตอัตโนมัติ
  • ในบางโปรแกรม การอัปเดตจะทำตอนปิดเปิดเครื่องหรือเปิดโปรแกรมนั้นใหม่เช่น Google Chrome, Windows 7 เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่ การอัปเดตต้องมีการรีสตาร์ตเครื่องหรือปิดโปรแกรมไปก่อน แต่ก็มีเช่นกันที่ไม่ต้องทำอย่างนั้น เช่น ลินุกซ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Microsoft issues biggest software patch on record". Reuters. 2009-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-16. สืบค้นเมื่อ 14 October 2009.