แผ่นดินไหวเมกะทรัสต์
แผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ (อังกฤษ: megathrust earthquake) เกิดขึ้นที่เขตมุดตัวของเปลือกโลกที่แนวแผ่นเปลือกโลก โดยธรณีภาคแผ่นหนึ่งถูกแรงกระทำให้มุดตัวเข้าใต้ธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่ง เนื่องจากการลดเอียงตื้น ๆ ของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งทำให้ชิ้นส่วนขนาดใหญ่ติดไม่สามารถขยับได้ แผ่นดินไหวเหล่านี้จึงเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีโมเมนต์แมกนิจูด (Mw) เกินกว่า 9.0 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1900 แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 9.0 แมกนิจูดขึ้นไปแล้วแต่เป็นแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ทั้งสิ้น เท่าที่ทราบไม่มีกิจกรรมแผ่นดินไหวอื่นใดที่สามารถสร้างแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเช่นนี้
ศัพทวิทยา
[แก้]ระหว่างการแตกออก ด้านหนึ่งของรอยเลื่อนจะถูกดันขึ้นไปเมื่อเทียบกับอีกด้านหนึ่ง และการเคลื่อนที่ประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันว่า รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust)[1] ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของรอยเลื่อนปกติ รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำนี้เป็นรอยเลื่อนแบบกลับทิศโดยมีมุมเท 45° หรือน้อยกว่า[2] รอยเลื่อนตามแนวเฉียงมีส่วนประกอบที่สำคัญของรูปแบบการเลื่อนไถล ถึงแม้ว่าเมกะทรัสต์จะไม่มีการจำกัดความอย่างเป็นทางการ คำดังกล่าวได้ถูกใช้อย่างกว้างขวาง[3] และมักจะพิจารณาว่าเป็นรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำขนาดใหญ่มาก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นที่พื้นผิวของแผ่นเปลือกโลกตามเขตมุดตัวของเปลือกโลก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Tsunami Terms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-25. สืบค้นเมื่อ 2011-03-20.
- ↑ Earthquake Glossary - dip slip
- ↑ Park; และคณะ (2005). "Performance Review of the Global Seismographic Network for the Sumatra-Andaman Megathrust Earthquake". Seismological Research Letters. 76 (3): 331–343. doi:10.1785/gssrl.76.3.331.