แผนมันชไตน์
แผนมันชไตน์/เหตุเหลือง | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่สอง | |
วนซ้ายจากบนขวา: ลำดับขั้นของแผนมันชไตน์ การบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ | |
ขอบเขตปฏิบัติการ | ยุทธศาสตร์ทหาร |
ตำแหน่ง | ภาคตะวันตกเฉียงใต้เนเธอร์แลนด์, ภาคกลางเบลเยียม, ภาคเหนือฝรั่งเศส 50°51′00″N 04°21′00″E / 50.85000°N 4.35000°E |
วางแผนเมื่อ | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 |
โดย | เอริช ฟ็อน มันชไตน์ |
ผู้บังคับบัญชา | แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท |
วัตถุประสงค์ | พิชิตเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส |
วันที่ | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 |
ผู้ลงมือ | กองทัพกลุ่ม A |
ผลลัพธ์ | ประสบผลสำเร็จ |
แผนมันชไตน์ (อังกฤษ: Manstein Plan) หรือในเยอรมนีเรียกว่า แผนเคียวตัด (เยอรมัน: Sichelschnittplan) เป็นชื่อปฏิบัติการสงครามของกองทัพเยอรมันในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศสในปี 1940 แผนรุกรานฉบับดั้งเดิมถูกร่างขึ้นอย่างคร่าวๆโดยพลเอกอาวุโสฟรันทซ์ ฮัลเดอร์ เสนาธิการกองทัพบก ซึ่งไม่มีใครพอใจเลย เอกสารแผนการนี้หลุดไปถึงมือเบลเยียมจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในวันที่ 10 มกราคม 1940 ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนใหม่อยู่หลายครั้ง แผนการมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการบุกโจมตีผ่านป่าอาร์แดนโดยกองทัพกลุ่ม A เป็นพิเศษ ลดอานุภาพการบุกตีกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำลง กลายเป็นเพียงการบุกตีเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
ในฉบับสุดท้ายของร่างแผนการนี้ กองทัพเยอรมันจะรุกหนักเข้าไปในป่าอาร์แดนของฝรั่งเศส เหล่าผู้นำทหารของฝรั่งเศสเชื่อกันว่า "ไม่มีวันแตก" จึงคุ้มกันพื้นที่นี้ด้วยกองทัพที่ 2 และกองทัพที่ 9 ซึ่งถือเป็นกองทัพชั้นกลาง อย่างไรก็ตาม อุปสรรคของเยอรมันในการบุกเส้นทางนี้คือเส้นมาฌีโนซึ่งเต็มไปด้วยป้อมปราการคอนกรีตและสิ่งกีดขวางของฝรั่งเศส ฝ่ายเยอรมันจำเป็นต้องยกกำลังทหารและยุทโธปกรณ์จำนวนมากผ่านเส้นนี้ไปให้เร็วที่สุดเพื่อไม่ให้ฝรั่งเศสส่งกำลังมาเสริมทัพในอาร์แดน ในการนี้ เยอรมันต้องล่อกองทัพที่ 7 ของฝรั่งเศสที่เป็นกองทัพชั้นเยี่ยมที่สุดให้รุดหน้าขึ้นเหนือไปช่วยเบลเยียมก่อน
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิล เรียกแผนการนี้ว่าปฏิบัติการเคียวตัด ทำให้หลังสิ้นสุดยุทธการ นายพลเยอรมันบางส่วนเข้าใจผิดคิดว่านี่เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของแผน หรือเป็นชื่อของการบุกโดยกองทัพกลุ่ม A ทั้งนี้ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ วิธีการทัพหมายเลข 4 เหตุเหลือง (Aufmarschanweisung N°4, Fall Gelb) ส่วนการเคลื่อนทัพผ่านอาร์แดนไม่มีชื่อเรียก
เบื้องหลัง
[แก้]แผนมันชไตน์เป็นแผนที่คิดค้นเพื่อรับมือแผนดีล (Dyle Plan) ของฝรั่งเศส ซึ่งพลโทเอริช ฟ็อน มันชไตน์ ปรับปรุงขึ้นจากเหตุเหลืองเวอร์ชันปี 1939 ที่คิดโดยพลเอกอาวุโสฟรันทซ์ ฮัลเดอร์ วิธีการทัพหมายเลข 1 เหตุเหลือง (Aufmarschanweisung N°1, Fall Gelb) ซึ่งเป็นฉบับแรกนั้น วางแผนผลักดันกองทหารสัมพันธมิตรผ่านทางภาคกลางของเบลเยียมไปสู่แม่น้ำซอมม์ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นวิธีการทัพแบบเดียวกันกับที่เยอรมันเคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1914 [1]
ในวันที่ 10 มกราคม 1940 เครื่องบินเม็สเซอร์ชมิท เบเอ็ฟ 108 ซึ่งบรรทุกแฟ้มเอกสารบางส่วนเกี่ยวกับแผนหมายเลข 3 ได้หลงทางและขัดข้องจนตกลงบริเวณชายแดนเบลเยียม-เนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเบลเยียมได้เอกสารดังกล่าวไป ทำให้ฝ่ายเยอรมันต้องปรับปรุงแผนใหม่อีกครั้ง มันชไตน์นำเสนอแผนหมายเลข 4 ให้แก่ฮิตเลอร์ในการประชุมวันที่ 17 กุมภาพันธ์ เขาเสนอว่าควรให้แวร์มัคท์บุกเข้าฝรั่งเศสผ่านป่าอาร์แดน และรีบรุดหน้าไปยังชายฝั่ง[1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Jackson 2003, p. 30.