แผนที่ลิ้น
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e7/Taste_buds.svg/220px-Taste_buds.svg.png)
แผนที่ลิ้น หรือ แผนที่ตุ่มรับรส เป็นความเข้าใจผิดที่พบบ่อยอย่างหนึ่ง โดยกล่าวว่าแต่ละส่วนของลิ้นทำหน้าที่รับรสต่าง ๆ กันไป มีการอธิบายแนวคิดนี้ด้วยแผนผัง และเคยสอนทั่วไปในโรงเรียน แต่ผลวิจัยสมัยใหม่พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง ทุกส่วนของลิ้นรับรสได้ทุกรส แม้บางส่วนจะรับรสบางรสได้มากกว่าก็ตาม[1]
ประวัติ
[แก้]ทฤษฎีที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดแผนที่ลิ้นนี้มาจากผลงานวิชาการ Zur Psychophysik des Geschmackssinnes ของชาวเยอรมันชื่อ D.P. Hanig ซึ่งเขียนขึ้นในไป พ.ศ. 2444[2] ต่อมา Edwin G. Boring ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้แปลงานของ D.P. Hanig ผิดพลาด โดยได้สรุปว่าแต่ละส่วนของลิ้นทำหน้าที่รับรสเพียงแค่ 1 รสเท่านั้น และเป็นที่มาของการจัดทำแผนที่ลิ้นขึ้น[3][4]
เนื้อหางานวิจัยของ D.P. Hanig จริง ๆ แล้วแสดงให้เห็นว่ามีแต่ละส่วนของลิ้นที่ความไวของการรับรสแตกต่างกัน "เล็กน้อย" (minute)[2][5] ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปความแตกต่างของความไวนี้ก็ถูกนำไปตีความผิด และถูกเขียนลงตำราเพียงว่าลิ้นแต่ละส่วนมีการรับสัมผัสแตกต่างกัน[5]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ O'Connor, Anahad (November 10, 2008). "The Claim: The tongue is mapped into four areas of taste". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 24, 2011.
- ↑ 2.0 2.1 Hänig, David (1901). "Zur Psychophysik des Geschmackssinnes" (PDF). Philosophische Studien. 17: 576–623. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-22. สืบค้นเมื่อ June 24, 2011.
- ↑ Wanjek, Christopher (August 29, 2006). "The Tongue Map: Tasteless Myth Debunked". Livescience.com. สืบค้นเมื่อ June 24, 2011.
- ↑ March 2001 Scientific American Magazine: The Taste Map: All Wrong
- ↑ 5.0 5.1 The Chemotopic Organization of Taste เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน wwwalt.med-rz.uni-sb.de