ข้ามไปเนื้อหา

แบบประเมินความรู้สึกตัวของกลาสโกว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แบบประเมินความรู้สึกตัวของกลาสโกว (อังกฤษ: Glasgow coma scale, GCS) เป็นระบบประเมินแบบคิดคะแนนทางประสาทวิทยาอย่างหนึ่งซึ่งมีขึ้นเพื่อให้สามารถมีการบันทึกระดับความรู้สึกตัวในผู้ป่วยที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวได้อย่างน่าเชื่อถือและเป็นภววิสัย (objective) หรือไม่ขึ้นกับความรู้สึกของผู้สังเกต เพื่อให้สามารถประเมินเปรียบเทียบกันได้ในภายหลัง ผู้ป่วยจะได้รับประการประเมินโดยพิจารณาตามเงื่อนไขของแบบประเมิน ผลคะแนนมีตั้งแต่ 3 (ไม่รู้สึกตัวอย่างมาก) ไปจนถึง 14 (ตามระบบเดิม) หรือ 15 (ตามระบบปรับปรุงใหม่ที่ใช้กันแพร่หลาย)

เนื้อหาของแบบประเมิน

[แก้]
แบบประเมินความรู้สึกตัวของกลาสโกว
1 2 3 4 5 6
ตา (Eye) ไม่ลืมตา ลืมตาเมื่อถูกกระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บปวด ลืมตาเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเสียง ลืมตาเอง ไม่มี ไม่มี
คำพูด (Verbal) ไม่ส่งเสียง ส่งเสียงไม่เป็นคำ พูดคำไม่มีความหมาย สับสน พูดรู้เรื่อง ไม่มี
การเคลื่อนไหว (Motor) ไม่เคลื่อนไหว ตอบสนองการกระตุ้นด้วยความเจ็บปวดในท่าเหยียด (decerebrate) ตอบสนองการกระตุ้นด้วยความเจ็บปวดในท่างอ (decorticate) ตอบสนองการกระตุ้นด้วยความเจ็บปวดโดยระบุตำแหน่งไม่ได้ ตอบสนองการกระตุ้นด้วยความเจ็บปวดโดยระบุตำแหน่งได้ ทำได้ตามสั่ง

อ้างอิง

[แก้]
  • Teasdale, G; Jennett, B (1974). "Assessment of coma and impaired consciousness. A practical scale". Lancet. 2 (7872): 81–4. PMID 4136544.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]