แนวจำกัดตอนเหนือ
แนวจำกัดตอนเหนือ (NLL) เป็นเส้นแบ่งเขตที่ยังเป็นกรณีพิพาทในทะเลเหลืองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มีบทบาทเป็นพรมแดนทางทะเลโดยพฤตินัยระหว่างทั้งสองประเทศ[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]แนวดังกล่าวได้รับการกำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยกองกำลังสหประชาชาติ นำโดยสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2496 หลังจากกองบัญชาการสหประชาชาติและเกาหลีเหนือล้มเหลวที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกัน[2] แนวดังกล่าวไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการโดยเกาหลีเหนือ[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวดังกล่าวมิได้รวมอยู่ในข้อตกลงหยุดยิงในปี พ.ศ. 2496 ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ แนวดังกล่าวเดิมถูกร่างขึ้นเพื่อป้องกันการรุกล้ำเข้าไปในเกาหลีเหนือของเกาหลีใต้ แต่ในภายหลัง บทบาทของมันกลับเปลี่ยนเป็นการป้องกันมิให้เรือเกาหลีเหนือรุกล้ำมาทางใต้แทน[4]
แนวดังกล่าวตัดระหว่างส่วนแผ่นดินใหญ่ของจังหวัดคย็องกีโดที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของฮวังแฮมาก่อน พ.ศ. 2488 และเกาะนอกชายฝั่งที่อยู่ใกล้กัน ผลที่เกิดขึ้น คือ ส่วนแผ่นดินใหญ่กลับคืนไปสู่การควบคุมของเกาหลีเหนือ ในขณะที่เกาะต่าง ๆ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีใต้ แนวดังกล่าวลากผ่านต่อไปจนถึงทะเลจากเส้นแบ่งเขตทางทหาร ในปี พ.ศ. 2520 เกาหลีเหนือพยายามสร้างพื้นที่พรมแดนทหารยาว 50 ไมล์โดยรอบเกาะที่อ้างสิทธิ์โดยเกาหลีใต้ตามแนวจำกัดตอนเหนือ อย่างไรก็ตาม การอ้างสิทธิ์ดังกล่าวถูกบอกปัด[5] นับตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เกาหลีเหนือได้อ้างสิทธิ์ไปทางใต้ "เส้นแบ่งเขตทางทหารทะเล" ซึ่งจะทำให้เกาะเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีเหนือด้วย[6]
กองทัพเรือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ลาดตระเวนเป็นประจำในพื้นที่โดยรอบแนวจำกัดตอนเหนือ เมื่อเกาหลีเหนือไม่ยอมรับแนวดังกล่าว เรือประมงเกาหลีเหนือที่ประกอบอาชีพใกล้กับแนวหรือล้ำแนวดังกล่าวจึงได้รับการคุ้มครองโดยเรือเกาหลีเหนือ[7] สำนักข่าวทางการเกาหลีเหนือ เคซีเอ็นเอ ได้อธิบายแนวดังกล่าวว่า "แนวสุดท้ายสำหรับการหยุดผู้แปรพักตร์ไปทางเหนือ" ซึ่งถูกร่างขึ้นเพื่อให้เป็นไปตาม "ผลประโยชน์อันชอบธรรมเฉพาะของวอชิงตัน"[8]
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หลังจากการทดลองนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ ทางการได้เตือนว่าความพยายามที่จะบังคับใช้แนวจำกัดตอนเหนือจะถูกตอบโต้โดยกำลังทหารในทันที[9] วันที่ 21 ธันวาคม ปีเดียวกัน เกาหลีเหนือได้สร้าง "เขตยิงเวลาสันติ" ขึ้นตามแนวดังกล่าวโดยคุกคามที่จะยิงปืนใหญ่ใส่น่านน้ำของเกาหลีใต้[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Elferink, Alex G. Oude (1994). The law of maritime boundary delimitation: a case study of the Russian Federation. Martinus Nijhoff Publishers. p. 314. ISBN 978-0792330820.
- ↑ Yŏnʼguwŏn, Hanʼguk Kukpang (1999). "Defense white paper". Ministry of National Defense, Republic of Korea.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Roehrig, Terence (2009). "North Korea and the Northern Limit Line". North Korean Review. 5 (1): 8–22. doi:10.3172/NKR.5.1.8.
- ↑ Kotch, John Barry; Abbey, Michael (2003). "Ending naval clashes on the Northern Limit Line and the quest for a West Sea peace regime" (PDF). Asian Perspectives. 27 (2): 175–204. doi:10.1353/apr.2003.0024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
- ↑ Johnston, Douglas M.; Valencia, Mark J. (1991). Pacific Ocean boundary problems: status and solutions. Martinus Nijhoff Publishers. p. 81. ISBN 978-0792308621.
- ↑ KPA urges U.S. and S. Korea to accept maritime demarcation line at West Sea. Korean Central News Agency. July 21, 1999.
- ↑ Hyŏn, In-tʻaek; Schreurs, Miranda Alice (2007). The environmental dimension of Asian security: conflict and cooperation over energy, resources, and pollution. US Institute of Peace Press. p. 121. ISBN 978-1929223732.
- ↑ "Truth behind "Northern Limit Line" Disclosed". Korean Central News Agency. June 25, 2007.
- ↑ Pike, John Northern Limit Line (NLL) West Sea Naval Engagements. GlobalSecurity.org.
- ↑ N. Korea sets 'firing zone' along western sea border. Yonhap. December 21, 2009.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Van Dyke, Jon M., Mark J. Valencia and Jenny Miller Garmendia. "The North/South Korea Boundary Dispute in the Yellow (West) Sea". Marine Policy 27 (2003), 143–158.
- Roehrig, Terence. "The Origins of the Northern Limit Line Dispute". NKIDP e-Dossier no. 6 (May 2012).