แซนฟอร์ด บี. โดล
แซนฟอร์ด บี. โดล | |
---|---|
ผู้ว่าการดินแดนฮาวาย คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2443 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | จอร์จ อาร์. คาร์เตอร์ |
ประธานาธิบดีฮาวาย | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2443 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 เมษายน พ.ศ. 2387 โฮโนลูลู ราชอาณาจักรฮาวาย |
เสียชีวิต | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2469 (อายุ 82 ปี) โฮโนลูลู ดินแดนฮาวาย |
พรรคการเมือง | พรรคสาธารณรัฐ |
คู่สมรส | แอนนา เพรนทิซ เคต โดล |
แซนฟอร์ด แบลลาร์ด โดล (23 เมษายน พ.ศ. 2387 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2469) เป็นทนายความและนักกฎหมายในหมู่เกาะฮาวายในตอนที่เป็นราชอาณาจักร รัฐในอารักขา สาธารณรัฐ และดินแดน[1] ศัตรูของพระบรมวงศานุวงศ์ฮาวายและเพื่อนของชนชั้นชุมชนผู้อพยพ โดลสนับสนุนความเป็นตะวันตกของรัฐบาลฮาวายและวัฒนธรรม[2] หลังจากการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เขาทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีฮาวายจนกระทั่งรัฐบาลของเขาประสบความสำเร็จในการผนวกฮาวายเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา[3]
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ
[แก้]ลอร์ริน เอ. เทิร์สตัน สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ แต่โดลได้รับเลือกให้เป็นผู้นำรัฐบาลแทน โดลได้ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียว[4]จากพ.ศ. 2437 ถึงพ.ศ. 2443 โดลได้แต่งตั้งเทอร์สตันเพื่อไปพยายามวิ่งเต้นในกรุงวอชิงตันดีซีและผนวกฮาวาย โดลประสบความสำเร็จในฐานะนักการทูต ประเทศที่ได้ให้การยอมรับราชอาณาจักรฮาวายยังได้ให้การยอมรับสาธารณรัฐทุกประเทศ[1]
รัฐบาลของโดลต้องประสบกับปัญหา หลายคนพยายามที่จะฟื้นคืนสถาบันพระมหากษัตริย์รวมถึงการกบฏติดอาวุธเมื่อวันที่ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2438 คณะปฏิวัติ นำโดยรอเบิร์ต วิลเลียม วิลคอกซ์ และผู้สมรู้ร่วมคิดอื่น ๆ ถูกจับและถูกตัดสินประหารชีวิต[5] ต่อมาสมเด็จพระราชินีนาถทรงสละราชสมบัติและสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อสาธารณรัฐฮาวายในเดือนกุมภาพันธ์[1] ในขณะที่ภายใต้การจับกุมพระองค์เขียนว่า "ข้าพเจ้าขอทำอย่างเต็มที่และยอมรับอย่างแจ่มแจ้งและประกาศว่ารัฐบาลของสาธารณรัฐฮาวายเป็นเพียงรัฐบาลเดียวที่ถูกต้องตามกฎหมายของหมู่เกาะฮาวาย และช่วงปลายสถาบันพระมหากษัตริย์มาถึงในที่สุดและสิ้นสุดลงตลอดไป และไม่ขอให้ความถูกต้องตามกฎหมายหรือที่เกิดขึ้นจริงใด ๆ ที่มีผลบังคับใช้หรือผลใด ๆ"[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Liliʻuokalani (Queen of Hawaii) (1898). Hawaii's story by Hawaii's queen, Liliuokalani. Lee and Shepard, reprinted by Kessinger Publishing, LLC (July 25, 2007). ISBN 978-0-548-22265-2.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Nehemiah Cleaveland; Alpheus Spring Packard (1882). History of Bowdoin college: With biographical sketches of its graduates, from 1806 to 1879, inclusive. J. R. Osgood & Company. p. 487.
- ↑ Hawaiian Mission Children's Society (1901). Portraits of American Protestant missionaries to Hawaii. Honolulu: Hawaiian gazette company. p. 73.
- ↑ "Minister of finance office record" (PDF). state archives digital collections. state of Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-03. สืบค้นเมื่อ September 10, 2010.
- ↑ "Attorney General office record" (PDF). state archives digital collections. state of Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-07-30. สืบค้นเมื่อ September 10, 2010.
- ↑ William Adam Russ (1992). The Hawaiian Republic (1894-98) And Its Struggle to Win Annexation. Associated University Presses. pp. 71–72. ISBN 0-945636-52-0.