ข้ามไปเนื้อหา

แฉลบแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฉลบแดง
ดอกแฉลบแดงที่เมืองไฮเดอราบาด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Mimosoideae
สกุล: Vachellia
สปีชีส์: V.  leucophloea
ชื่อทวินาม
Vachellia leucophloea
(Roxb.) Maslin, Seigler & Ebinger
varieties
  • Vachellia leucophloea var. leucophloea (Roxb.) Maslin, Seigler & Ebinger
  • Vachellia leucophloea var. microcephala (Kurz) Maslin, Seigler & Ebinger
ชื่อพ้อง
  • Acacia leucophloea (Roxb.) Willd.
  • Mimosa leucophloea Roxb.
  • Kuteera-gum

แฉลบแดง หรือ กะถินแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vachellia leucophloea) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) วงศ์ย่อยสีเสียด (Mimosoideae) ลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูงได้ถึง 12–30 เมตร ลำต้นมีเปลือกเรียบสีเขียวอ่อน เมื่อมีอายุมากขึ้น เปลือกต้นมักขรุขระและมีสีเข้มขึ้น ตามโคนกิ่งมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบประกอบแต่ละใบมีช่อใบ 5–12 คู่ แต่ละช่อใบมีใบย่อย 15–30 คู่ ใบย่อยเล็กมาก ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ ฐานใบค่อนข้างเบี้ยว ดอกออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่งแล้วแตกแขนงเป็นช่อเล็กกลมสีขาวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกันรูปแตร กลีบดอกติดกัน ปลายกลีบยื่นออกมาเหนือกลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้ยื่นออกมาเหนือส่วนอื่น ๆ ของกลีบดอก ผลเป็นฝักโค้งเล็กน้อย ปลายฝักมนหรือมีติ่งสั้น ๆ เมื่อแก่จะแตกออก ภายในมีเมล็ดรูปไข่ แบน สีน้ำตาลคล้ำ 10–20 เมล็ด[1][2]

แฉลบแดงมีถิ่นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนไปจนถึงหมู่เกาะซุนดาน้อย[3] เป็นพืชที่ชอบแสงแดด ทนความแห้งแล้งได้ดี เปลือกต้นมีรสฝาด ต้มเป็นยาลดไข้ แก้ไอ[4] ใช้เป็นยาสมาน แก้ท้องร่วงท้องเสีย เนื้อไม้มีความแข็งแน่น ขัดเงาได้ดี ใช้ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรือทำเครื่องเรือน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 199–200, พ.ศ. 2558, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  2. Warrier, P. K.; Nambiar, V. P. K. (1993). Indian Medicinal Plants: A Compendium of 500 Species, Volume 1. Hyderabad, Telangana, India: Orient Blackswan. p. 23. ISBN 9788125003014.
  3. "Vachellia leucophloea (Roxb.) Maslin, Seigler & Ebinger - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ February 20, 2020.
  4. Quattrocchi, Umberto (2016). CRC World Dictionary of Medicinal and Poisonous Plants: Common Names, Scientific Names, Eponyms, Synonyms, and Etymology (5 Volume Set). Boca Raton, Florida, US: CRC Press. p. 22–23. ISBN 9781482250640.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แฉลบแดง
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acacia leucophloea ที่วิกิสปีชีส์