แคว้นตาราปากา
หน้าตา
แคว้นตาราปากา Región de Tarapacá | |
---|---|
ภาพเขียนบนพื้นดินเซร์โรสปินตาโดส เขตสงวนแห่งชาติปัมปาเดลตามารูกัล | |
ที่ตั้งแคว้นตาราปากาในประเทศชิลี | |
พิกัด: 20°17′S 69°20′W / 20.283°S 69.333°W | |
ประเทศ | ชิลี |
เมืองหลัก | อิกิเก |
จังหวัด | ตามารูกัล อิกิเก |
การปกครอง | |
• ผู้แทนประธานาธิบดี | ดานิเอล กินเตโรส โรฆัส |
• ผู้ว่าการ | โฆเซ มิเกล การ์บาฆัล |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 41,799.5 ตร.กม. (16,138.9 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | 6 |
ความสูงจุดต่ำสุด | 0 เมตร (0 ฟุต) |
ประชากร (สำมะโน ค.ศ. 2017)[1] | |
• ทั้งหมด | 324,930 คน |
• อันดับ | 12 |
• ความหนาแน่น | 7.8 คน/ตร.กม. (20 คน/ตร.ไมล์) |
จีดีพี (พีพีพี)[2] | |
• ทั้งหมด | 9.076 พันล้านดอลลาร์ (ค.ศ. 2014) |
• ต่อหัว | 27,604 ดอลลาร์ (ค.ศ. 2014) |
รหัส ISO 3166 | CL-TA |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.882[3] สูงมาก |
เว็บไซต์ | www |
ตาราปากา (สเปน: Tarapacá, ออกเสียง: [taɾapaˈka]) เป็นหนึ่งในสิบหกแคว้นของประเทศชิลี อยู่ติดกับแคว้นอาริกาและปารินาโกตาทางทิศเหนือ ติดกับแคว้นโอรูโรของประเทศโบลิเวียทางทิศตะวันออก ติดกับแคว้นอันโตฟากัสตาทางทิศใต้ และติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก เมืองหลักซึ่งเป็นเมืองท่าคืออิกิเก
พื้นที่ส่วนใหญ่ของแคว้น ในอดีตอยู่ในจังหวัดตาราปากาของประเทศเปรู ซึ่งชิลีได้เข้าครอบครองภายใต้สนธิสัญญาอังกอน ค.ศ. 1883 ช่วงสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (ค.ศ. 1879–1884) ในอดีตแคว้นมีเศรษฐกิจที่สำคัญคือการทำเหมืองดินประสิว แต่จากนั้นหลายเหมืองก็ร้างไป แต่ก็ยังสามารถพบเห็นได้บ้างในแคว้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Tarapacá Region". Government of Chile Foreign Investment Committee. สืบค้นเมื่อ 13 March 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Regions and Cities > Regional Statistics > Regional Economy > Regional GDP per Capita, OECD.Stats.
- ↑ "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.