ข้ามไปเนื้อหา

แคนตันทาวเวอร์

พิกัด: 23°6′32″N 113°19′8″E / 23.10889°N 113.31889°E / 23.10889; 113.31889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แคนตันทาวเวอร์
广州塔
Canton Tower
แคนตันทาวเวอร์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022
แคนตันทาวเวอร์ตั้งอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง
แคนตันทาวเวอร์
ที่ตั้งภายในมณฑลกวางตุ้ง
สถิติความสูง
เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก
ตั้งแต่ สิงหาคม ค.ศ. 2009 ถึง มีนาคม ค.ศ. 2011[I]
ก่อนหน้านี้ซีเอ็นทาวเวอร์
หลังจากนี้โตเกียวสกายทรี
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดใช้งาน
ประเภทภัตตาคาร หอสังเกตการณ์ และหอกระจายคลื่น
สถาปัตยกรรมStructural expressionism
ที่อยู่จีน เขตไฮ่จู, กว่างโจว, มณฑลกวางตุ้ง
พิกัด23°6′32″N 113°19′8″E / 23.10889°N 113.31889°E / 23.10889; 113.31889
ลงเสาเข็ม2005; 20 ปีที่แล้ว (2005)
เริ่มสร้างพฤศจิกายน ค.ศ. 2005
แล้วเสร็จ2010; 15 ปีที่แล้ว (2010)
เปิดใช้งาน1 ตุลาคม ค.ศ. 2010
ค่าก่อสร้างCNY ¥ 2,803,635,000.00
(US$ 450,000,000.00)[1]
ความสูง
ปลายยอด600 m (1,982 ft)[2]
หลังคา462.1 m (1,516 ft)
ชั้นบนสุด488 m (1,601 ft)
ดาดฟ้า449 m (1,473 ft)
ข้อมูลทางเทคนิค
จำนวนชั้น112
2 ชั้นใต้ดิน
พื้นที่แต่ละชั้น114,054 m2 (1,227,700 sq ft)
ลิฟต์9
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกInformation Based Architecture (IBA): มาร์ก เฮเมล, บาร์บารา ควิต
วิศวกรโครงสร้างอารัป
เว็บไซต์
www.cantontower.com
อ้างอิง
[3][4][5][6][7]
แคนตันทาวเวอร์
อักษรจีนตัวย่อ广州塔
อักษรจีนตัวเต็ม廣州塔
เยลกวางตุ้งGwóngjāu Taap
หอโทรทัศน์ ดาราศาสตร์และการท่องเที่ยวกว่างโจว
อักษรจีนตัวย่อ广州电视台天文及观光塔
อักษรจีนตัวเต็ม廣州電視台天文及觀光塔
เยลกวางตุ้งGwóngjāu Dihnsihtòih Tīnmán Kahp Gūngwōng Taap

แคนตันทาวเวอร์ (จีน: 广州塔, อังกฤษ: Canton Tower) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ หอโทรทัศน์ ดาราศาสตร์และการท่องเที่ยวกว่างโจว (จีน: 广州电视台天文及观光塔, อังกฤษ: Guangzhou TV Astronomical and Sightseeing Tower) เป็นหอคอยสังเกตการณ์อเนกประสงค์ความสูง 600 เมตรในเขตไฮ่จู นครกว่างโจว และเคยเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในโลกในช่วงปี พ.ศ. 2552 จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[2] แทนที่ซีเอ็นทาวเวอร์ ก่อนที่จะถูกแซงหน้าโดยโตเกียวสกายทรี แคนตันทาวเวอร์เคยเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในประเทศจีนก่อนที่อาคารเซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์จะก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ปัจจุบันแคนตันทาวเวอร์เป็นหอคอยที่สูงเป็นอันดับ 2 และเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก

แคนตันทาวเวอร์ก่อสร้างโดย Guangzhou New Television Tower Group และออกแบบโดยสถาปนิกชาวดัตช์ มาร์ก เฮเมล และ บาร์บารา ควิต จาก Information Based Architecture (IBA) ร่วมกับอารัป ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบ วิศวกรรม และธุรกิจ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในลอนดอน สหราชอาณาจักร ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการลงเสาเข็มอาคาร[8] หอคอยได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ก่อนการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 ที่นครกว่างโจวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยหอสังเกตการณ์บนดาดฟ้าได้เปิดอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554

แคนตันทาวเวอร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของนครกว่างโจว โดยจัดสถานที่ท่องเที่ยวระดับ AAAA (4A) ในประเทศจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556[9] บนดาดฟ้าประกอบด้วยบริเวณสังเกตการณ์ที่ความสูง 450 เมตรและ 488 เมตร เครื่องเล่นแนวดิ่งความเร็วสูง (Sky drop) ชิงช้าสวรรค์แนวราบรูปไข่มุก (Bubble tram)[10] ส่วนภายในอาคารมีบริเวณสังเกตการณ์ ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังมีสำนักงานไปรษณีย์ที่อยู่สูงที่สุดในโลก ที่ความสูง 428 เมตร[11]

แกลเลอรี

[แก้]
แคนตันทาวเวอร์มองจากประตูหน้าของสวนสาธารณะหงเฉิง
แคนตันทาวเวอร์มองจากประตูหน้าของสวนสาธารณะหงเฉิง 
แคนตันทาวเวอร์ในเวลาเที่ยง
แคนตันทาวเวอร์ในเวลาเที่ยง 
แคนตันทาวเวอร์ในเวลาบ่าย ถ่ายจากพื้นราบ
แคนตันทาวเวอร์ในเวลาบ่าย ถ่ายจากพื้นราบ 
แคนตันทาวเวอร์ขณะเปิดไฟ
แคนตันทาวเวอร์ขณะเปิดไฟ 
พลุจากแคนตันทาวเวอร์ ในระหว่างพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ 2010
พลุจากแคนตันทาวเวอร์ ในระหว่างพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ 2010 
พลุจากแคนตันทาวเวอร์ ในเอเชียนเกมส์ 2010
พลุจากแคนตันทาวเวอร์ ในเอเชียนเกมส์ 2010 

การก่อสร้าง

[แก้]

แผนภาพ

[แก้]
แผนภาพแสดงหอคอยที่สูงที่สุดในโลก แคนตันทาวเวอร์อยู่ลำดับที่ 2
มาสคอตประจำแคนตันทาวเวอร์ "เสี่ยวหมันเยา" (小蛮腰; 'เอวเล็ก') ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อเล่นของหอคอย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Facts and visitor information on the Canton Tower in China >> The World Federation of Great Towers". Great-towers.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2014. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
  2. 2.0 2.1 "แคนตันทาวเวอร์". SkyscraperPage.
  3. "Emporis building ID 220692". Emporis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  4. Andrew Rosenberg (19 November 2010). "Canton Tower / Information Based Architecture". ArchDaily. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  5. Canton Tower 广州塔 – Guangzhou TV Tower. Gztvtower.info. สืบค้นเมื่อ 2013-01-01.
  6. "Canton Tower official website". Cantontower.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-01-01.
  7. "Guangzhou Tower, Guangzhou New TV Tower, Tower official website of Guangzhou :: GuangzhouTower.cc". Guangzhoutower.cc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-01-01.
  8. Van der Heide, Rogier. "Canton Tower Lighting Inaugurated". Rogiervanderheide.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-01-01.
  9. "Introduction of Canton Tower". สืบค้นเมื่อ 2 November 2024.
  10. "World's highest ferris wheel coming to Guangzhou". Guangzhou Asian Games Organizing Committee. 18 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  11. "แคนตันทาวเวอร์". CTBUH Skyscraper Center.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]