ข้ามไปเนื้อหา

แขนนายพราน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างที่สังเกตของแขนชนิดก้นหอยของทางช้างเผือก[1]

แขนนายพราน (อังกฤษ: Orion Arm) เป็นแขนชนิดก้นหอยย่อยของดาราจักรทางช้างเผือก กว้าง 3,500 ปีแสง (1,100 พาร์เซก) และยาวประมาณ 10,000 ปีแสง (3,100 พาร์เซก)[2] ระบบสุริยะและโลกอยู่ในแขนนายพราน นอกจากนี้ แขนนายพรานยังมีชื่อเรียกเต็มว่า แขนหงส์-นายพราน รวมไปถึง แขนท้องถิ่น, สะพานนายพราน, เดือยท้องถิ่น และเดือยนายพราน

แขนนายพราน ตั้งชื่อตามชื่อกลุ่มดาวนายพราน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวที่โดดเด่นที่สุดในฤดูหนาวทางซีกโลกเหนือ (หรือฤดูร้อนทางซีกโลกใต้) ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดและเทห์วัตถุที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มดาวนายพราน (ดาวบีเทลจุส ดาวไรเจล ดาวฤกษ์ในเข็มขัดนายพราน เนบิวลานายพราน) อยู่ในแขนนายพราน ดังที่แสดงในแผนที่อินเตอร์แอคทีฟด้านล่าง

แขนท้องถิ่นตั้งอยู่ระหว่างแขนซาจิตทาเรียส-แครินา (เข้าใกล้ศูนย์กลางดาราจักร) และแขนเพอร์ซีอุส (เข้าใกล้เอกภพด้านนอก) แขนเพอร์ซีอุสเป็นหนึ่งในสองแขนหลักของดาราจักรทางช้างเผือก แต่ก่อน "เดือย" ระหว่างแขนเพอร์ซีอุสและแขนซาจิตทาเรียส-แครินา ที่ติดกันเคยคาดกันว่าเป็นโครงสร้างย่อย ปัจจุบันมีการนำเสนอหลักฐานในกลางปี 2556 ว่า เดือยดังกล่าวแท้จริงแล้วอาจเป็นแขนงของแขนเพอร์ซีอุส หรืออาจเป็นแขนอิสระส่วนหนึ่งก็ได้

ในแขนนายพราน ระบบสุริยะและโลกตั้งอยู่ใกล้กับขอบด้านในในฟองท้องถิ่น ราวครึ่งหนึ่งของความยาวแขนนายพราน คือ ราว 8,000 พาร์เซ็ก (26,000 ปีแสง) จากศูนย์กลางดาราจักร

วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย

[แก้]
The shape of the Orion Spur[3]

แขนนายพราน มีจำนวนวัตถุท้องฟ้าของเมซีเย ดังนี้

แผนที่อินเตอร์แอคทีฟ

[แก้]
Rosette NebulaเนบิวลาปูเนบิวลานายพรานTrifid NebulaเนบิวลาทะเลสาบOmega NebulaเนบิวลาอินทรีเนบิวลาอเมริกาเหนือดาวไรเจลดาวไถPolarisดวงอาทิตย์ดาวบีเทลจุสDenebPerseus armแขนนายพรานแขนคนยิงธนู
แขนและกระจุกดาวที่ใกล้ที่สุด (แผนที่สามารถคลิกได้)
Rosette NebulaSeagull NebulaCone NebulaCalifornia NebulaHeart NebulaเนบิวลานายพรานSoul NebulaเนบิวลาอเมริกาเหนือCocoon NebulaGamma Cygni NebulaVeil NebulaTrifid NebulaCrescent NebulaเนบิวลาทะเลสาบOmega NebulaเนบิวลาอินทรีCat's Paw NebulaเนบิวลากระดูกงูเรือเนบิวลาปูMessier 37Messier 36Messier 38Messier 50Messier 46Messier 67Messier 34Messier 48Messier 41Messier 47กระจุกดาวรวงผึ้งMessier 45Messier 37Messier 52Messier 93Messier 7Messier 6Messier 25Messier 23Messier 21Messier 18Messier 26กระจุกดาวเป็ดป่าMessier 35NGC 2362IC 2395NGC 3114NGC 3532IC 1396IC 2602NGC 6087NGC 6025NGC 3766NGC 4665IC 2581IC 2944NGC 4755NGC 3293NGC 6067NGC 6193NGC 6231NGC 6383Tr 14Tr 16เมซีเย 103Messier 29HPerChi PerCol 228O VelPerseus ArmแขนนายพรานSagittarius Armกระจุกดาวเนบิวลา
เนบิวล่าและกระจุกดาวที่ใกล้ที่สุด (แผนที่สามารถคลิกได้)

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "See the "Spiral Arms" part of this [[NASA]] animation for details". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-10. สืบค้นเมื่อ 2013-06-08.
  2. Harold Spencer Jones, T. H. Huxley, Proceedings of the Royal Institution of Great Britain, Royal Institution of Great Britain, v. 38–39
  3. Vázquez, Ruben A.; May, Jorge; Carraro, Giovanni; Bronfman, Leonardo; Moitinho, André; Baume, Gustavo (January 2008). "Spiral Structure in the Outer Galactic Disk. I. The Third Galactic Quadrant". The Astrophysical Journal. 672 (2): 930–939. arXiv:0709.3973. Bibcode:2008ApJ...672..930V. doi:10.1086/524003.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]