แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส
gamma-glutamyltransferase | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
Identifiers | |||||||
EC number | 2.3.2.2 | ||||||
CAS number | 9046-27-9 | ||||||
IntEnz | IntEnz view | ||||||
BRENDA | BRENDA entry | ||||||
ExPASy | NiceZyme view | ||||||
KEGG | KEGG entry | ||||||
MetaCyc | metabolic pathway | ||||||
PRIAM | profile | ||||||
PDB | structures | ||||||
Gene Ontology | AmiGO / EGO | ||||||
|
แกมมา-กลูตามิลทรานสเฟอเรส (อังกฤษ: gamma-glutamyltransferase) หรือ แกมมา-กลูตามิล ทรานสเปปทิเดส (อังกฤษ: gamme-glumatyl transpeptidase) γ-glutamyltransferase, GGT, GGTP, gamma-GT เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย้ายหมู่ฟังก์ชันแกมมา-กลูตามิล พบในเนื้อเยื่อหลายส่วนในร่างกาย ส่วนใหญ่พบในตับ มีความสำคัญเป็นตัวบ่งชี้ในการวินิจฉัยทางการแพทย์
การประยุกต์ใช้ทางการแพทย์
[แก้]มีการใช้ GGT เป็นตัวบ่งชี้การวินิจฉัยทางการแพทย์หลายอย่าง
การเพิ่มขึ้นของระดับ GGT ในเซรั่มสามารถพบได้ในโรคของตับ ระบบทางเดินน้ำดี และตับอ่อน เอนไซม์นี้มีที่ใช้คล้ายคลึงกับ alkaline phosphatase ในการตรวจหาโรคของทางเดินน้ำดี ตัวบ่งชี้ทั้งสองนี้ค่อนข้างมีความสอดคล้องกันดีแม้จะมีแหล่งข้อมูลที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า GGT อาจจะมีความไวสูงกว่าก็ตาม[1][2] โดยทั่วไป ALP ยังคงเป็นการทดสอบที่เป็นตัวเลือกแรกในการตรวจหาโรคของทางเดินน้ำดี คุณค่าที่ GGT มีเหนือกว่า ALP คือการใช้ยืนยันว่าระดับ ALP ที่สูงขึ้นนั้นมาจากโรคของทางเดินน้ำดีจริงหรือไม่ เนื่องจากระดับ ALP อาจสูงขึ้นได้ในโรคกระดูกบางโรค ในขณะที่ GGT ไม่[2]
ระดับ GGT อาจสูงขึ้นได้จากการดื่มสุราเป็นปริมาณมาก[3] การเพิ่มขึ้นของ GGT โดยไม่เป็นสัดส่วนกับเอนไซม์ตับอื่น (เช่น ALP หรือ ALT) อาจบ่งชี้ถึงการติดสุราหรือโรคตับจากสุรา[4] โดยอาจบ่งชี้ว่ามีการกินแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมากในช่วง 3-4 สัปดาห์ก่อนการตรวจ กลไกของการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ในกรณีนี้ยังไม่ชัดเจน แอลกอฮอล์อาจเพิ่มการผลิต GGT โดยกระตุ้นให้มีการผลิต microsome ในเซลล์ตับมากขึ้น หรืออาจเป็นสาเหตุทำให้มีการรั่วไหลของ GGT ออกจากเซลล์ตับก็ได้[5]
มียาหลายชนิดที่สามารถเพิ่มระดับ GGT ได้ เช่น barbiturate และ phenytoin[6] ยาอื่น ๆ เช่น NSAID, St. John's wort และแอสไพริน หรืออาจเกิดจากภาวะหัวใจวายก็ได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Betro MG, Oon RC, Edwards JB (November 1973). "Gamma-glutamyl transpeptidase in diseases of the liver and bone". American Journal of Clinical Pathology. 60 (5): 672–8. doi:10.1093/ajcp/60.5.672. PMID 4148049.
- ↑ 2.0 2.1 Lum G, Gambino SR (April 1972). "Serum gamma-glutamyl transpeptidase activity as an indicator of disease of liver, pancreas, or bone". Clinical Chemistry. 18 (4): 358–62. doi:10.1093/clinchem/18.4.358. PMID 5012259.
- ↑ Lamy J, Baglin MC, Ferrant JP, Weill J (1974). "Determination de la gamma-glutamyl transpeptidase senque des ethyliques a la suite du sevrage". Clin Chim Acta. 56 (2): 169–73. doi:10.1016/0009-8981(74)90225-3. PMID 4154814.
- ↑ Kaplan MM, และคณะ (1985). "Biochemical basis for serum enzyme abnormalities in alcoholic liver disease". ใน Chang NC, Chan NM (บ.ก.). Early identification of alcohol abuse. Research Monograph No. 17. NIAAA. p. 186.
- ↑ Barouki R, Chobert MN, Finidori J, Aggerbeck M, Nalpas B, Hanoune J (1983). "Ethanol effects in a rat hepatoma cell line: induction of gamma-glutamyltransferase". Hepatology. 3 (3): 323–9. doi:10.1002/hep.1840030308. PMID 6132864. S2CID 84080031.
- ↑ Rosalki SB, Tarlow D, Rau D (August 1971). "Plasma gamma-glutamyl transpeptidase elevation in patients receiving enzyme-inducing drugs". Lancet. 2 (7720): 376–7. doi:10.1016/S0140-6736(71)90093-6. PMID 4105075.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- MedlinePlus Encyclopedia 003458
- gamma-Glutamyltransferase ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)
แม่แบบ:Transferase-stub แม่แบบ:Acyltransferases แม่แบบ:Amino acid metabolism enzymes แม่แบบ:Eicosanoid metabolism enzymes