เฮเลน บี. เทาซีก
เฮเลน บรุคเคอ เทาซีก | |
---|---|
เกิด | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1898 แคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตส์ สหรัฐ |
เสียชีวิต | 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1986 เคนเนดีสแควร์ รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ | (87 ปี)
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยบอสตัน วิมยาลัยแพมยศาสตร์จอนส์ ฮอปคินส์ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้มีส่วนริเริ่มสาขากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ การชันต์วิธีเบลล็อก-ทอมัส-เทาซีก บทบาทในการคัดค้านแทลีโดไมด์ |
รางวัล | รางวัล อี มี้ด จอห์นสัน (1947) รางวัลแลสเคอร์-เดบาคี (1954) Presidential Medal of Freedom (1964) รางวัลเอลิซาเบธ แบล็กเวล (1970) รางวัลจอห์น ฮาวลันด์ (1971) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | เวชศาสตร์โรคหัวใจ |
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียง | เอส ไอ ปัทมาวตี[1] |
เฮเลน บรุคเคอ เทาซีก (อังกฤษ: Helen Brooke Taussig; 24 พฤษภาคม 1898 – 20 พฤษภารม 1986) เป็นแพทย์โรคหัวใจชาวอเมริกัน ประกอบวิชาชีพอยู่ในบอลทิมอร์และบอสตันเป็นหลัก เธอได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ริเริ่มสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ (pediatric cardiology) รวมถึงได้รับการยกย่องให้เป็นผู่พัฒนาแนวคิดสำหรับวิธีการรักษาที่ช่วยยืดชีวิตของเด็กที่เกิดมาด้วยภาวะเตตระโลจีออฟฟาโลต์ ซึ่งต่อมาได้นำมาประยุกต์ใช้ในทางคลินิกในหัตการที่เรียกว่าการชันต์วิธีเบลล็อก-ทอมัส-เทาซีก ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยอัลเฟรด เบลล็ก กับ วีเวียน ทอมัส ทั้งคู่เป็นเพื่อนร่วมงานของเธอที่โรงพยาบาลจอนส์ ฮอปคินส์
เทาซีกมีปัญหาการได้ยินเนื่องจากการติดเชื้อในหูตั้งแต่เป็นเด็ก ก่อนที่ต่อมาในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นจะลุกลามเป็นภาวะหูหนวก[2] เพื่อช่วยทดแทนการได้ยินที่เสียไป เธอเรียนรู้วิธีการอ่านปาก และใช้เครื่องช่วยฟังในการพูดคุยกับผู้ป่วย และเธอยังพัฒนาวิธีการในการใช้เพียงนิ้วเพื่อสัมผัสจังหวะหัวใจแทนที่การใช้สเตโตสโคป[3][4] นวัตกรรมบางส่วนของเธอมาจากความสามารถในการวินิจฉัยปัญหาหัวใจได้ผ่านการสัมผัสแทนที่การฟัง[3]
เทาซีกยังเป็นที่รู้จักจากบทบาทในการคัดค้านยาแทลีโดไมด์ และยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นแพทย์ที่มีทักษะสูง เธอเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสมาคมหัวใจอเมริกัน เธอภูมิใจมากกว่าจากการที่เธอได้รับเลือกเป็นประธานของแพทยสมาคมสหรัฐคนแรกที่เป็นกุมารแพทย์ ในปี 1964 เธอได้รับเหรียญเสรีภาพของประธานาธิบดีสหรัฐ[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Who was Dr SI Padmavati, India's first woman cardiologist who died at 103 - IBTimes India". International Business Times. 2023-08-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-06. สืบค้นเมื่อ 2023-08-06.
- ↑ Van Robays, J (2016). "Helen B. Taussig (1898-1986)". Facts, Views & Vision in ObGyn. 8 (3): 183–187. ISSN 2032-0418. PMC 5172576. PMID 28003874.
- ↑ 3.0 3.1 "Changing the Face of Medicine: Dr. Helen Brooke Taussig". National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 5 October 2013.
- ↑ "Helen Brooke Taussig | American physician". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-25.
- ↑ Swaby, Rachel. (2015). Headstrong : 52 Women Who Changed Science - and the World. Broadway Books (A Division of Bantam Doubleday Dell Publishing Group Inc). pp. 20–21. ISBN 978-0-553-44679-1. OCLC 903952884.