ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดเฮียวโงะ

พิกัด: 34°41′26.94″N 135°10′59.08″E / 34.6908167°N 135.1830778°E / 34.6908167; 135.1830778
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เฮียวโงะ)
จังหวัดเฮียวโงะ

兵庫県
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น
 • ญี่ปุ่น兵庫県
 • โรมาจิHyōgo-ken
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
ปราสาทฮิเมจิ, เขตอนุรักษ์กลุ่มอาคารอิซูชิ,
ซูโมโตะอนเซ็ง, สะพานอากาชิไคเกียว,
โรงละครทาการาซูกะ, ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของใจกลางนครโคเบะ
ธงของจังหวัดเฮียวโงะ
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของจังหวัดเฮียวโงะ
ตรา
ที่ตั้งของจังหวัดเฮียวโงะ
แผนที่
พิกัด: 34°41′26.94″N 135°10′59.08″E / 34.6908167°N 135.1830778°E / 34.6908167; 135.1830778
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
เกาะฮนชู, อาวาจิ
เมืองหลวงโกเบะ
เขตการปกครองย่อยอำเภอ: 8, เทศบาล: 41
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการโมโตฮิโกะ ไซโต (ตั้งแต่สิงหาคม ค.ศ. 2021)
พื้นที่
 • ทั้งหมด8,400.94 ตร.กม. (3,243.62 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 12
ประชากร
 (1 เมษายน ค.ศ. 2024)
 • ทั้งหมด5,344,834 คน
 • อันดับที่ 7
 • ความหนาแน่น636 คน/ตร.กม. (1,650 คน/ตร.ไมล์)
จีดีพี[1]
 • ทั้งหมด22,195 พันล้านเยน
203.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2019)
รหัส ISO 3166JP-28
เว็บไซต์web.pref.hyogo.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกกระสาขาวตะวันออก (Ciconia boyciana)
ดอกไม้โนจิงิกุ (Chrysanthemum japonense)
ต้นไม้การบูร (Cinnamomum camphora)

จังหวัดเฮียวโงะ (ญี่ปุ่น: 兵庫県โรมาจิHyōgo-ken) เป็นจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคคันไซ ทางตอนใต้ของเกาะฮนชู[2] มีจำนวนประชากร 5,344,834 คน (1 เมษายน ค.ศ. 2024) และมีขนาดพื้นที่ 8,400 ตารางกิโลเมตร (3,200 ตารางไมล์) มีอาณาเขตติดต่อได้แก่ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดเกียวโต ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดโอซากะ ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดโอกายามะและจังหวัดทตโตริ

นครโคเบะเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดเฮียวโงะ และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 7 ของประเทศ เมืองใหญ่อื่น ๆ ในจังหวัด เช่น ฮิเมจิ นิชิโนมิยะ และอามางาซากิ[3] อาณาบริเวณของจังหวัดเฮียวโงะครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นไปจนถึงทะเลในเซโตะ รวมทั้งเกาะอาวาจิและหมู่เกาะเล็ก ๆ ภายในทะเลในเซโตะ จังหวัดเฮียวโงะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่ง และสถานที่ท่องเที่ยวทางตะวันตกของญี่ปุ่น พื้นที่ร้อยละ 20 ของจังหวัดอยู่ในเขตอุทยานธรรมชาติ จังหวัดเฮียวโงะเป็นส่วนหนึ่งของเขตมหานครเคฮันชิง ซึ่งเป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองในญี่ปุ่น รองจากเขตมหานครโตเกียว

ประวัติศาสตร์

[แก้]
แผนที่จังหวัดเฮียวโงะแสดงขอบเขตของแคว้นในอดีตและเขตพื้นที่สำนักงานสาขาของจังหวัดในปัจจุบัน
1. นครโคเบะ (ถูกแบ่งเป็นแคว้นฮาริมะและแคว้นเซ็ตสึ)
2. สำนักงานฮันชิงใต้ (แคว้นเซ็ตสึ)
3. สำนักงานฮันชิงเหนือ (แคว้นเซ็ตสึ)
4. สำนักงานฮาริมะตะวันออก (แคว้นฮาริมะ)
5. สำนักงานฮาริมะเหนือ (แคว้นฮาริมะ)
6. สำนักงานฮาริมะกลาง (แคว้นฮาริมะ)
7. สำนักงานฮาริมะตะวันตก (แคว้นฮาริมะ)
9. สำนักงานทัมบะ (แคว้นทัมบะ)
8. สำนักงานทาจิมะ แคว้นทาจิมะ
10. สำนักงานอาวาจิ แคว้นอาวาจิ
พื้นที่สำนักงานฮาริมะตะวันตกที่อยู่นอกแคว้นฮาริมะ จะอยู่ในแคว้นมิมาซากะ (เหนือ) และแคว้นบิเซ็ง (ใต้)

จังหวัดเฮียวโงะในปัจจุบันประกอบด้วยแคว้นในอดีต ได้แก่ แคว้นฮาริมะ แคว้นทาจิมะ แคว้นอาวาจิ และบางส่วนของแคว้นทัมบะและแคว้นเซ็ตสึ[4]

ปราสาทฮิเมจิ ในฮิเมจิ แหล่งมรดกโลกของยูเนสโก

ใน ค.ศ. 1180 เมื่อใกล้สิ้นสุดยุคเฮอัง จักรพรรดิอันโตกุ, ไทระ โนะ คิโยโมริ, และราชสำนักของจักรพรรดิ ได้ย้ายไปที่ฟูกูฮาระ (ซึ่งปัจจุบันอยู่ในนครโคบะ) เป็นช่วงสั้น ๆ ในระยะเวลาห้าเดือน ในจังหวัดเฮียวโงะมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือสุสานโบราณโกชิกิซูกะ (ญี่ปุ่น: 五色塚古墳โรมาจิGoshikizuka-kofun)[5] และยังมีปราสาทฮิเมจิ ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ตั้งอยู่ในนครฮิเมจิ

จังหวัดเฮียวโงะทางตอนใต้ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิงเมื่อ ค.ศ. 1995 ขนาด 6.9 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ซึ่งทำลายพื้นที่ส่วนใหญ่ของโคเบะและอาวาจิ รวมถึงนิชิโนมิยะและอาชิยะ และจังหวัดโอซากะที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 6,500 คน ปัจจุบันมีอนุสรณ์รำลึกครบรอบ 10 ปี แผ่นดินไหวที่โคเบะ มีผู้ไปรำลึกเหตุการณ์ครั้งนั้นมากมาย

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของจังหวัดเฮียวโงะเป็นที่ราบสลับหุบเขา ทิศเหนือติดกับทะเลญี่ปุ่น ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดทตโตริและจังหวัดโอกายามะ ทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดโอซากะและจังหวัดเกียวโต เมืองหลวงของจังหวัดคือนครโคเบะ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1,500,000 คน มีความสำคัญคือเป็นเมืองท่า มีโรงงานอุตสาหกรรมมาก

การปกครอง

[แก้]

จังหวัดเฮียวโงะประกอบด้วย 29 เทศบาลนคร และ 12 เทศบาลเมือง ดังนี้

นคร

[แก้]

อำเภอและเมือง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2020年度国民経済計算(2015年基準・2008SNA) : 経済社会総合研究所 - 内閣府". 内閣府ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-18.
  2. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Hyōgo prefecture" in Japan Encyclopedia, pp. 363-365, p. 363, ที่กูเกิล หนังสือ; "Kansai" in Japan Encyclopedia, p. 477, p. 477, ที่กูเกิล หนังสือ.
  3. Nussbaum, "Kobe" in Japan Encyclopedia, p. 537, p. 537, ที่กูเกิล หนังสือ.
  4. Nussbaum, "Provinces and prefectures" in Japan Encyclopedia, p. 780, p. 780, ที่กูเกิล หนังสือ.
  5. "สุสานโบราณโกะชิกิสุกะ". สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเฮียวโงะ. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2018.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]