ข้ามไปเนื้อหา

เฮนรี สตีล โอลคอต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮนรี สตีล โอลคอต
Colonel Henry Steel Olcott
เกิด2 สิงหาคม ค.ศ. 1832
ออเรนจ์ นิวเจอร์ซีย์
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907 (74 ปี)
Adyar, Chennai
สัญชาติอเมริกัน
การศึกษาCity College of New York
มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
อาชีพข้าราชการทหาร
นักหนังสือพิมพ์
นักนิติศาสตร์
มีชื่อเสียงจากการฟื้นฟูพุทธศาสนา
สมาคมเทวปรัชญา
สงครามกลางเมืองอเมริกัน
คู่สมรสแมรี เอปพลี มอร์แกน

พันเอก เฮนรี สตีล โอลคอต (สิงหล: කර්නල් හෙන්රි ස්ටීල් ඔල්කට්; อังกฤษ: Henry Steel Olcott; 2 สิงหาคม ค.ศ. 1832 – 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1907) เป็นข้าราชการทหาร นักหนังสือพิมพ์ และนักนิติศาสตร์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นประธานคนแรกแห่งสมาคมเทวปรัชญา

โอลคอตเป็นผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกาเชื้อสายยุโรปคนแรกที่เข้ารีตเป็นพุทธศาสนิกชน การต่าง ๆ ที่เขาปฏิบัติในภายหลังในฐานะประธานสมาคมเทวปรัชญานั้นมีส่วนช่วยฟื้นฟูการศึกษาพุทธศาสนา โอลคอตยังชื่อว่าเป็นนักนวนิยมทางพุทธที่ลงทุนลงแรงไปในการตีความพุทธศาสนาผ่านมุมมองแบบตะวันตก

นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวเรือในการฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา จึงได้รับการยกย่องเรื่องนี้ในประเทศศรีลังกา โดยชาวศรีลังกากล่าวขานกันว่า เขา "เป็นวีรบุรุษคนหนึ่งซึ่งฝ่าฝันเพื่อเอกราชของเรา และเป็นนักบุกเบิกการรื้อฟื้นทางศาสนา ชาตินิยม และวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน"

โอลคอตนั้นเกิดในครอบครัวคริสต์เพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ที่เคร่งครัด ในเมืองออเรนจ์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ เขาเดินทางและเริ่มงานของเขาเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองปานะดุระ ประเทศศรีลังกา และเพียงเพราะหนังสือพิมพ์ Times Of Ceylon จาก ดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิลส์ ที่นำไปให้ เพื่อหน้าที่ของเขา และคนสำคัญจากส่วนต่าง ๆ ของโลก เขาเดินทางมาถึงประเทศศรีลังกาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1880 โดยที่ ภารกิจของพันเอกเฮนรี สตีล โอลคอต มีดังนี้

  • ศึกษาพระพุทธศาสนาจากพระศรีสุมังคลเถระ (พระอาจารย์ของท่าน อานาคาริกธรรมปาละ)
  • เข้าพิธีปฏิญานตนเป็นพุทธมามกะกับพระธัมมารามเถระ ณ วัด วิชยานันทวิหาร
  • ก่อตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนา(ธรรมราชวิทยาลัย)เพื่อฟื้นฟูศาสนาที่กำลังเสื่อมโทรมในศรีลังกา
  • เป็นผู้เรียกร้องให้ล้มเลิกคำสั่งห้ามการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาในประเทศศรีลังกา
  • เป็นผู้ประดิษฐ์ธงศาสนาขึ้นใช้ในสากล โดยนำแถบสีสัญลักษณ์แห่งฉัพพรรณรังสีมาประกอบ

ชาวต่างประเทศเชื่อว่าเขาเป็นชาวต่างชาติคนเดียวที่รัฐบาลศรีลังกามีมติให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นอนุสรณ์