เฮง สัมริน
สมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน | |
---|---|
สัมรินใน ค.ศ. 2018 | |
ประธานรัฐสภากัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง 21 มีนาคม ค.ศ. 2006 – 22 สิงหาคม ค.ศ. 2023 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี |
รอง | Nguon Nhel Say Chhum Khuon Sodary Kem Sokha You Hockry |
ก่อนหน้า | สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ |
ถัดไป | สมเด็จมหารัฐสภาธิการธิบดี ฆวน สุดารี |
เลขาธิการพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ธันวาคม ค.ศ. 1981 – 17 ตุลาคม ค.ศ. 1991 | |
ก่อนหน้า | Pen Sovan |
ถัดไป | เจีย ซิม (ประธาน) |
ประธานสภาปฏิวัติประชาชน | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มกราคม ค.ศ. 1979 – 6 เมษายน ค.ศ. 1992 | |
นายกรัฐมนตรี | Pen Sovan Chan Sy ฮุน เซน |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | เจีย ซิม (Council of State) |
สมาชิกรัฐสภากัมพูชา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน ค.ศ. 1993 | |
เขตเลือกตั้ง | จังหวัดกันดาล (ค.ศ. 1993 - ค.ศ. 1998) จังหวัดกำปงจาม (ค.ศ. 1998 - ค.ศ. 2018) จังหวัดตโบงฆมุม (ค.ศ. 2018 - ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | พญาแกฺรก, จังหวัดกำปงจาม, พระราชอาณาจักรกัมพูชา (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดตโบงฆมุม) | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1934
พรรคการเมือง | พรรคประชาชนกัมพูชา |
คู่สมรส | Sao Ty |
บุตร | 4 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | กัมพูชา |
สังกัด | กองทัพกัมพูชา |
ยศ | อุดมเสนีย์นายก (พลเอกอาวุโส)[1][2] |
พลเอกอาวุโส สมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน (เขมร: សម្តេចអគ្គមហាពញាចក្រី ហេង សំរិន, สมฺเตจอคฺคมหาพญาจกฺรี เหง สํริน; เกิด 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1934) อดีตผู้นำกัมพูชา เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาปฏิวัติประชาชนกัมพูชา ดำรงตำแหน่งผู้นำสาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา และรัฐกัมพูชา ระหว่างปี ค.ศ. 1979 ถึง 1993 อดีตประธานรัฐสภาของกัมพูชา และดำรงตำแหน่งประธานอาวุโสพรรคประชาชนกัมพูชา พรรครัฐบาลกัมพูชาในปัจจุบัน [3]
สมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน เกิดที่จังหวัดไพรแวง เคยเป็นทหารสมาชิกขบวนการเขมรแดงภายใต้การนำของพล พต ซึ่งเข้ายึดอำนาจกัมพูชาในปี ค.ศ. 1975 ต่อมาได้แยกตัวออกจากเขมรแดงในปี ค.ศ. 1978 และหลบหนีการกวาดล้างเข้าสู่เวียดนาม เฮง สัมรินได้ร่วมก่อตั้งแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา (Kampuchea United Front for National Salvation - FUNSK) โดยการสนับสนุนจากเวียดนามและสหภาพโซเวียต นำกำลังเข้าสู้รบกับเขมรแดง ที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนแผ่นดินใหญ่
สมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพล พต ในปี ค.ศ. 1979 และจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ สถาปนาชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ต่อมาเมื่อฮุน เซน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในปี ค.ศ. 1985 พร้อมกับการถอนกำลังสนับสนุนจากเวียดนาม ทำให้อิทธิพลของเฮง สัมรินลดน้อยลง
เมื่อกัมพูชาเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี ค.ศ. 1993 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ขุนนางชั้นสมเด็จ สถาปนาเฮง สัมริน ขึ้นเป็น "สมเด็จอัครมหาพญาจักรี เฮง สัมริน" พร้อมกับเจีย ซีม และได้รับพระราชทานเลือนยศทหารจากพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี ให้เป็นพลเอกอาวุโส พร้อมกับฮุน เซน และเจีย ซีมเมื่อปี ค.ศ. 2009[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.phnompenhpost.com/national/royal-letter-sihanouk-praises-five-star-leaders
- ↑ http://cppdailynews.blogspot.com/2009/12/his-majesty-promotes-cambodian-leaders.html
- ↑ "Biographies of Heng Samrin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2011-02-09.
- ↑ สมเด็จสีหมุนี เลื่อนยศ 3 สมเด็จ เป็นจอมพลแห่งกองทัพกัมพูชา[ลิงก์เสีย] ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 23 ธันวาคม 2552
ก่อนหน้า | เฮง สัมริน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เขียว สัมพัน ประธานสภาเปรซิเดียมแห่งรัฐ |
ประธานสภาปฏิวัติประชาชนกัมพูชา (1979 – 1981) |
ตัวเอง ประธานสภาแห่งรัฐกัมพูชา | ||
ตัวเอง สภาปฏิวัติประชาชนกัมพูชา |
ประธานสภาแห่งรัฐกัมพูชา (1981 – 1992) |
เจีย ซีม | ||
เจ้านโรดม รณฤทธิ์ | ประธานรัฐสภากัมพูชา (2006 - ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง | ||
แปน สุวัน | เลขาธิการพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา (1981 - 1991) |
เจีย ซีม ประธานพรรคประชาชนกัมพูชา |