ข้ามไปเนื้อหา

เอ็ม1 กาแรนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปืน M1 Garand
ปืน M1 Garand พร้อมคลิปกระสุนแบบ en bloc
ปืน M1 Garand
ชนิด ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ semi-automatic rifle
สัญชาติ  สหรัฐอเมริกา
สมัย สงครามโลกครั้งที่ 2
การใช้งาน อาวุธประจำกาย
เป้าหมาย บุคคล
เริ่มใช้ 1939
ช่วงผลิต 1936-1957
ช่วงการใช้งาน 1936-ปัจจุบัน
ผู้ใช้งาน
สงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม
ขนาดลำกล้อง 0.30 นิ้ว (7.62 มิลลิเมตร) 4 เกลียว เวียนขวา
ระยะครบรอบเกลียว 10 นิ้ว (1:10)
ความยาวลำกล้อง 24 นิ้ว (609.6 มิลลิเมตร)
กระสุน .30-06 Springfield
ซองกระสุน แบบ En Bloc ความจุ 8 นัด
ระบบปฏิบัติการ ขับดันด้วยแก๊ส (Gas-operated) ขัดกลอนด้วยลูกเลื่อนหมุนตัว (Rotating Bolt)
อัตราการยิง
ความเร็วปากลำกล้อง 2,800 ฟุต/วินาที (853 เมตร/วินาที)
ระยะยิงหวังผล 440 หลา (402 เมตร)
ระยะยิงไกลสุด 3,450 หลา (3,200 เมตร)
น้ำหนัก 9.5 ปอนด์ (4.31 กก.) น้ำหนักปืนเปล่า
11.6 ปอนด์ (5.3 กิโลกรัม) น้ำหนักปืนพร้อมกระสุน
ความยาว 43.5 นิ้ว (1,107.4 มิลลิเมตร)
แบบอื่น M1C, M1D

ปืน เอ็ม1 กาแรนด์ (M1 Garand) เป็นอาวุธปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติประจำกายขนาด 0.30 นิ้ว ที่เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐฯในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงสงครามเกาหลี และยังพบเห็นบ้างในช่วงสงครามเวียดนาม ปืนไรเฟิลเอ็ม 1 ส่วนใหญ่ถูกผลิตและใช้ในกองกำลังสหรัฐ แต่ก็มีหลายแสนกระบอกที่ส่งไปให้กับประเทศพันธมิตรของอเมริกา ปืนกาแรนด์ยังคงถูกใช้งานในการฝึกซ้อมและในกองทหารเกียรติยศ สำหรับพลเรือนใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการล่าสัตว์ การยิงเป้า และเป็นของสะสมทางทหาร

ปืนเอ็ม 1 ได้ชื่อตามจอห์น ซี กาแรนด์ (John C. Garand) ผู้ออกแบบชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส มันเป็นปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติมาตรฐานกองทัพชนิดแรก[1] ปืนเอ็ม 1 ได้เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐทดแทนปืนเอ็ม1903 สปริงฟิลด์ในปี ค.ศ. 1936[2] และปลดประจำการในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1958 โดยมีปืนเล็กยาวเอ็ม 14 มาประจำการแทน[3] โดยปืนบางส่วนทางการสหรัฐฯได้มอบให้แก่กองกำลังท้องถิ่นและมิตรประเทศตามโครงการให้ความช่วยเหลือทางทหาร (JUSMAG) ในช่วงสงครามเย็นซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยประเทศไทยได้รับมอบปืนรุ่นนี้สำหรับใช้ในภารกิจปราบปรามและรักษาความสงบภายในประเทศ ก่อนจะทยอยปลดประจำการเป็นอาวุธสำรองราชการและใช้เป็นปืนฝึกท่าอาวุธสำหรับนักศึกษาวิชาทหารและนักเรียนนายสิบตำรวจ ในภายหลัง

ปืนเอ็ม1 กาแรนด์มีคุณสมบัติในการยิงแบบกึ่งอัตโนมัติ ความแม่นยำสูง สามารถเล็งยิงซ้ำได้อย่างรวดเร็ว ตอนแรกนายการ์แรนด์ได้ออกแบบปืนเอ็ม1 กาแรนด์ให้ใช้กับกระสุนขนาด 7×51 มิลลิเมตร (.276 Pedersen) และสามารถบรรจุในคลิปกระสุนได้ 10 นัด แต่เมื่อกองทัพสหรัฐฯรับมาพิจารณาใน ค.ศ.1932 ก็มีคำสั่งให้ใช้กระสุน .30-06 ทำให้ความจุเหลือเพียง 8 นัด[4]

ปืน T20 ตัวต้นแบบ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hogg, Ian V., & Weeks, John. Military Small-Arms of the 20th Century (London: Arms & Armour Press, 1977), p.183, "US Rifle, Caliber .30in ('Garand'), M1-M1E9, MiC, M1D, T26".
  2. jonfrye. "History of the M1 Garand Rifle". Garand Collectors Association (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2019-12-03.
  3. "The M14 Rifle: John Garand's Final Legacy". www.americanrifleman.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-03.
  4. Julian S. Hatcher, Hatcher's Notebook, MSPC 1947, pp.44–46, 155–156, 165–166.