ข้ามไปเนื้อหา

เอ็ม. ไนต์ ชามาลาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็ม. ไนต์ ชามาลาน
ชามาลาน ใน ค.ศ. 2018
เกิดมาโนช เนลลิยัตตู ชามาลาน
(1970-08-06) 6 สิงหาคม ค.ศ. 1970 (54 ปี)
มาเฮ ปุฑุเจรี อินเดีย
สัญชาติอินเดีย
สหรัฐ[1]
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
อาชีพ
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
  • ผู้อำนวยการสร้าง
  • ผู้เขียนบทภาพยนตร์
  • นักแสดง
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1992–ปัจจุบัน
องค์การบลายดิงเอจพิกเชอส์
ผลงานรายชื่อเต็ม
คู่สมรสภาวนา วาสวานี (สมรส 1992)
บุตร3 รวมถึง ซาลีกาและอิชานะ
รางวัลรายชื่อเต็ม
เกียรติยศปัทมาศรี (2008)[2]

มาโนช เนลลิยัตตู "เอ็ม. ไนต์" ชามาลาน[1] (อังกฤษ: Manoj Nelliyattu "M. Night" Shyamalan; เกิดวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1970)[3] เป็นผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้างและผู้เขียนบทภาพยนตร์ชาวอเมริกา ภาพยนตร์ของเขามักใช้เรื่องเหนือธรรมชาติและตอนจบที่หักมุม ภาพยนตร์ของเขาทำเงินรวมกันมากกว่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก[4]

ชามาลานเกิดใน มาเฮ, อินเดีย และเติบโตใน เพนน์แวลลีย์, เพนซิลเวเนีย ผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ของเขา ได้แก่ เพรย์อิงวิทเองเกอร์ (1992) และ ไวด์อะเวก (1998) ก่อนที่เขาจะมีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง ซิกซ์เซ้นส์...สัมผัสสยอง (1999) ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อในรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม ภาพยนตร์เรื่องถัดมาของเขา ได้แก่ เฉียด…ชะตาสยอง (2000), สัญญาณสยองโลก (2002) และ หมู่บ้านสาปสยอง (2004) ตามมาด้วยภาพยนตร์ที่ได้รับการตอบรับที่ไม่ดีอย่าง ผู้หญิงในสายน้ำ...นิทานลุ้นระทึก (2006), เดอะ แฮปเพนนิ่ง วิบัติการณ์สยองโลก (2008), มหาศึก 4 ธาตุ จอมราชันย์ (2010) และ สยองโลกร้างปี (2013) ก่อนที่เขาจะกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งด้วยภาพยนตร์เรื่อง เดอะ วิสิท (2015), จิตหลุดโลก (2016), คนเหนือมนุษย์ (2019), โอลด์ (2021) และ เสียงเคาะที่กระท่อม (2023)[5]

ชามาลานยังเป็นหนึ่งในผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารและเป็นผู้กำกับบางตอนให้กับละครชุดแนวไซไฟเรื่อง เมืองหลอน คนลวง (2015–2016) ของทเวนตีเทเลวิชัน และละครชุดแนวสยองขวัญทางจิตวิทยาเรื่อง เซอร์เวนต์ (2019–2023) ของแอปเปิลทีวี+ ซึ่งเขาก็ทำหน้าที่เป็นโชว์รันเนอร์ด้วย[6][7]

ผลงาน

[แก้]
ผลงานกำกับภาพยนตร์
ปี ชื่อเรื่อง ผู้จัดจำหน่าย
1992 เพรย์อิงวิทเองเกอร์ ซีเนวิสตาส์ลิมิตเต็ด
1998 ไวด์อะเวก มิราแมกซ์ฟิล์มส์
1999 ซิกซ์เซ้นส์...สัมผัสสยอง บวยนาวิสตาพิกเชอส์
2000 เฉียด…ชะตาสยอง
2002 สัญญาณสยองโลก
2004 หมู่บ้านสาปสยอง
2006 ผู้หญิงในสายน้ำ...นิทานลุ้นระทึก วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเชอส์
2008 เดอะ แฮปเพนนิ่ง วิบัติการณ์สยองโลก ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
2010 มหาศึก 4 ธาตุ จอมราชันย์ พาราเมาต์พิกเจอส์
2013 สยองโลกร้างปี โซนี่พิกเจอส์รีลีดซิง
2015 เดอะ วิสิท ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์
2016 จิตหลุดโลก
2019 คนเหนือมนุษย์
2021 โอลด์
2023 เสียงเคาะที่กระท่อม
2024 แทร็ป วอร์เนอร์บราเธอส์พิกเชอส์

ผลตอบรับ

[แก้]

ผลตอบรับ ทั้งคำวิจารณ์และรายได้ จากการกำกับภาพยนตร์ทั้งหมด 12 เรื่องของ เอ็ม. ไนต์ ชามาลาน

ชื่อ รอตเทนโทเมโทส์[8] เมทาคริติก[9] ซีเนม่าสกอร์[10] ทุนสร้าง รายได้ทั่วโลก
ไวด์ อะเวค 40% (4.81/10) (30 รีวิว) $6,000,000 $282,175
ซิกซ์เซ้นส์...สัมผัสสยอง 86% (7.63/10) (154 รีวิว) 64 (35 รีวิว) A– $40,000,000 $672,806,292
เฉียดชะตา...สยอง 70% (6.34/10) (169 รีวิว) 62 (31 รีวิว) C $75,000,000 $248,118,121
ไซน์:​ สัญญาณสยองโลก 74% (6.79/10) (234 รีวิว) 59 (36 รีวิว) B $72,000,000 $408,247,917
เดอะ วิลเลจ: หมู่บ้านสาปสยอง 43% (5.39/10) (217 รีวิว) 44 (40 รีวิว) C $60,000,000 $256,697,520
ผู้หญิงในสายน้ำ...นิทานลุ้นระทึก 25% (4.26/10) (212 รีวิว) 36 (36 รีวิว) B– $70,000,000 $72,785,169
เดอะ แฮปเพนนิ่ง: วิบัติการณ์สยองโลก 18% (4.01/10) (179 รีวิว) 34 (38 รีวิว) D $48,000,000 $163,403,799
มหาศึก 4 ธาตุ จอมราชันย์ 5% (2.78/10) (189 รีวิว) 20 (33 รีวิว) C $150,000,000 $319,713,881
อาฟเตอร์ เอิร์ธ: สยองโลกร้างปี 11% (3.82/10) (203 รีวิว) 33 (41 รีวิว) B $130,000,000 $243,611,982
เดอะ วิสิท 67% (5.84/10) (224 รีวิว) 55 (34 รีวิว) B– $5,000,000 $98,450,062
สปริท: จิตหลุดโลก 77% (6.49/10) (296 รีวิว) 62 (48 รีวิว) B+ $9,000,000 $278,454,358
กลาส: คนเหนือมนุษย์ 37% (5.12/10) (371 รีวิว) 43 (53 รีวิว) B $20,000,000 $246,985,576
เฉลี่ย และ รวม 46% (5.27/10) 47 B– $685 ล้าน $3,009,556,852

0–59% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ 60–74% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 75–100% คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก

สีแดง 0–19 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบเลย 20–39 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ไม่ชอบ สีส้ม 40–60 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ให้ปานกลาง สีเขียว 61–80 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบ 81–100 คำวิจารณ์ที่นักวิจารณ์ชอบมาก

N/A ไม่ปรากฏ, หาข้อมูลไม่ได้

$ ดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Huber, Robert; Wallace, Benjamin (2006). The Philadelphia Reader. Temple University Press. p. 197. Then [Shyamalan] changed his name. The idea came when he was applying for American citizenship at age 18.
  2. "Padma Shri brings Night to town | India News – Times of India". The Times of India. May 8, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2021. สืบค้นเมื่อ December 6, 2021.
  3. "Monitor". Entertainment Weekly. No. 1219. August 10, 2012. p. 27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2019. สืบค้นเมื่อ April 17, 2020.
  4. McClintock, Pamela (October 13, 2021). "M. Night Shyamalan's Next Movie Gets a Title: 'Knock at the Cabin'". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2021. สืบค้นเมื่อ October 19, 2021.
  5. "Old". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2021. สืบค้นเมื่อ November 9, 2021.
  6. Kornelis, Chris (January 12, 2022). "M. Night Shyamalan on Impostor Syndrome and His Old-School Film Techniques". Wsj.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2022. สืบค้นเมื่อ January 15, 2022.
  7. "The Prizes of the International Jury". Berlinale.de. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2021. สืบค้นเมื่อ January 15, 2022.
  8. "เอ็ม. ไนต์ ชามาลาน". รอตเทนโทเมโทส์. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.
  9. "เอ็ม. ไนต์ ชามาลาน". เมทาคริติก. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.
  10. "ซีเนม่าสกอร์". cinemascore.com. สืบค้นเมื่อ 20 January 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:เอ็ม. ไนต์ ชามาลาน