เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เรือ เวสเตอร์ดัม เทียบท่าเมืองซานฮวน ปวยร์โตรีโก พ.ศ.2558
| |
ประวัติ | |
---|---|
ชื่อ | เวสเตอร์ดัม |
ตั้งชื่อตาม | ทิศตะวันตกในเข็มทิศ (ภาษาดัตช์) |
ผู้ให้บริการ | สายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา |
ท่าเรือจดทะเบียน | เนเธอร์แลนด์ |
อู่เรือ | บ. ฟินกันติเอริ (Fincantieri) |
Yard number | มาร์เกรา (Marghera), 6077 |
เดินเรือแรก | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 |
Christened | 25 เมษายน พ.ศ. 2547 |
บริการ | พ.ศ. 2547–ปัจจุบัน |
ท่าจอด | รอตเทอร์ดัม |
รหัสระบุ | |
สถานะ | ดำเนินการ |
ลักษณะเฉพาะ (เมื่อแรกสร้าง) | |
ชั้น: | เรือสำราญ ชั้นวิสตา |
ขนาด (ตัน): | 81,811 ตันกรอส |
ความยาว: | 285.23 m (935.8 ft) |
ความกว้าง: | 32.25 m (105.8 ft) |
ดาดฟ้า: | 11 ชั้น (ผู้โดยสาร) |
ระบบพลังงาน: | ดีเซล-ไฟฟ้า |
ระบบขับเคลื่อน: | เอบีบี อะซิพอด (Azipod) |
ความเร็ว: |
|
ความจุ: | ผู้โดยสาร 1,964 คน |
ลูกเรือ: | 800 คน |
ลักษณะเฉพาะ (หลังซ่อมบำรุง เมษายน 2550) | |
ขนาด (ตัน): | 82,500 ตันกรอส |
เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม เป็นเรือสำราญในชั้นวิสตา (Vista-class) ของสายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา (Holland America Line) เป็นเรือลำที่สามที่มีชื่อเวสเตอร์ดัม ขณะเดียวกันก็เป็นเรือลำที่สามในชั้นวิสตาที่ดำเนินการโดยสายการเดินเรือ เวสเตอร์ดัมมีเรือพี่น้องคือเรือ โอสเตอร์ดัม (Oosterdam), เซาเดอร์ดัม (Zuiderdam) และ นอร์ดัม (Noordam) จุดเริ่มต้นของชื่อเรือทั้งสี่ลำนั้น มาจากคำบอกทิศทั้งสี่ในเข็มทิศในภาษาดัตช์
การต่อเรือและปูมเรือที่สำคัญ
[แก้]เวสเตอร์ดัม ได้มีพิธีตั้งชื่อเรือเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2547 ในนครเวนิส ประเทศอิตาลี โดยนักแสดงชาวดัตช์ เรเน เซาเต็นเดก (Renée Soutendijk)[1] เช่นเดียวกับเรือระดับชั้นวิสตาทั้งหมด เวสเตอร์ดัม ติดตั้งเครื่องกำเนิดกำลังร่วมดีเซลและกังหันก๊าซ (CODAG) และระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า อะซิพอด (Azipod) รูปแบบของชุดงานศิลปะที่ประดับตกแต่งในเรือคือ มรดกของชาวดัตช์ในโลกใหม่ ภาพวาดของเรือในประวัติศาสตร์ของดัตช์เช่น เรือฮัลเฟอมาน (Halve Maen) ของเฮนรี ฮัดสัน ประติมากรรมและรูปปั้นต่าง ๆ จัดแสดงอยู่ทั่วทั้งเรือ ผลงานร่วมสมัยรวมถึงภาพวาดของ แอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol) และประติมากรรมต้นฉบับโดยศิลปินจากเมืองเซโดนา แอริโซนา ซูซานนา โฮลต์ (Susanna Holt)[2] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ได้มีการเพิ่มห้องพัก 34 ห้องรวมทั้งการดัดแปลงพื้นที่สาธารณะหลายแห่งของเรือ[3][4]
วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ในขณะที่เดินเรือผ่านอ่าวยากุตัต (Yakutat Bay) ทางใต้ของอุทยานแห่งชาติคลูอานี (Kluane National Park) รัฐบริติชโคลัมเบีย เรือเวสเตอร์ดัมได้ชนกับก้อนน้ำแข็งและสร้างความเสียหายให้กับตัวเรือยาว 4.6 เมตร (15 ฟุต) ใต้แนวระดับน้ำ[5]
เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เรือเวสเตอร์ดัมเกิดเพลิงไหม้ในห้องเครื่องกลั่นน้ำทะเล หลังจากออกจากท่าเรือซีแอตเทิล มีผู้โดยสาร 2,086 คนและลูกเรือ 798 คนบนเรือโดยไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ เรือได้กลับไปที่ซีแอตเทิลและได้รับการตรวจสอบเพื่อได้รับอนุญาตในการเดินทาง ในวันถัดมาโดยหน่วยยามฝั่งสหรัฐ[6][7]
ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เครื่องบินน้ำรุ่น เดอฮาวิลแลนด์แคนาดา ดีเอชซี-3 โอตเตอร์ (de Havilland Canada DHC-3 Otter) ของสายการบิน โพรเมช (Promech Air) นำนักบินและผู้โดยสารอีกแปดคน จากเรือเวสเตอร์ดัม บนเส้นทางท่องเที่ยวของสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐอะแลสกา ได้ชนกับหน้าผาหินแกรนิตระยะห่าง 32 กม. (20 ไมล์) ใกล้ทะเลสาบเอลลา (Ella Lake, Alaska) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเคตชิแกน (Ketchikan) ทั้งเก้าคนเสียชีวิต[8]
เหตุการณ์จากการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562-2563
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เรือเวสเตอร์ดัมออกเดินทางหลังจากหยุดพักที่ฮ่องกงในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ได้ถูกปฏิเสธไม่ให้เทียบท่าในประเทศฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น และเกาะกวม จากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)[9][10] หลังจากได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นฝั่งในประเทศไทย เนื่องจากเรือกำลังมุ่งหน้าไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ใกล้กรุงเทพมหานคร การอนุญาตให้จอดเทียบท่านั้นกลับถูกปฏิเสธในวันถัดไป อย่างไรก็ตามเรือยังคงรักษาเส้นทางสู่กรุงเทพมหานคร และเวลาประมาณ 16.30 น. ของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เรือเวสเตอร์ดัมได้แล่นเรือไปรอบ ๆ น่านน้ำทางตอนใต้ของเวียดนาม[11][12][13] จากข้อมูลของฟลิป คนิบเบอ (Flip Knibbe) ผู้โดยสารชาวดัตช์บนเรือ ผู้โดยสารทุกคนต้องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นครั้งที่สอง ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอ็นโอเอส (NOS) ของเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ คนิบเบอ กล่าวว่า "Dit schip is virusvrij": 'เรือลำนี้ปราศจากไวรัส' ต่างจากเรือสำราญไดมอนด์พรินเซส ซึ่งจอดเทียบท่าอยู่ที่ท่าเรือโยโกฮามะ ในประเทศญี่ปุ่น เรือลำนี้ไม่ได้ถูกกักกัน ทุกคนสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ร้านค้าและร้านอาหารเปิดให้บริการ และรายการบันเทิงยังคงดำเนินต่อไป[13]
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์เรือได้รับอนุญาตให้จอดเทียบท่าที่เมืองพระสีหนุ ประเทศกัมพูชา[14] ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ มาเลเซียรายงานว่าพลเมืองชาวอเมริกันวัย 83 ปีที่ลงจากเรือเวสเตอร์ดัม และบินไปมาเลเซียเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ มีผลการทดสอบในเชิงบวกสำหรับ COVID-19[15] ในการทดสอบครั้งที่สองซึ่งขอโดยทั้งสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา และทางการกัมพูชาผู้โดยสารหญิงรายนั้นมีผลทดสอบยืนยันเป็นบวก[16] แม้จะมีการพบกรณีดังกล่าว นายกรัฐมนตรีฮุนเซนก็ได้เข้าเยี่ยมชมเรือโดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย และสนับสนุนผู้โดยสารในการเที่ยวชมเมือง ซึ่งจุดกระแสความกังวลว่าการพบปะสนทนาดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อ[17]
ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ผู้โดยสาร 233 คนสุดท้ายของเรือ ได้ทำการขึ้นฝั่งทั้งหมดหลังจากการทดสอบการติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งผู้โดยสาร 781 คนของเวสเตอร์ดัมให้ผลการทดสอบเป็นลบ[18] ส่วนลูกเรือ 747 คนยังคงอยู่บนเรือ ในระหว่างรอการตัดสินใจจากเจ้าของสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา[19]
เป็นที่เชื่อกันว่ามีผู้โดยสารประมาณ 650 คนบนเรือที่มาจากสหรัฐอเมริกา, 270 คนมาจากแคนาดา, 130 คนมาจากสหราชอาณาจักร, 100 คนจากเนเธอร์แลนด์, 50 คนจากเยอรมนี และผู้โดยสารอีกหลายคนมาจากออสเตรเลีย โดยลูกเรือประกอบด้วยชาวอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เป็นส่วนใหญ่[20]
เรือที่ใช้ชื่อ เวสเตอร์ดัม ในอดีต
[แก้]เรือเวสเตอร์ดัมลำแรกอยู่ในสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง 2508 โดยเป็นเรือสินค้า/เรือโดยสาร ซึ่งมีที่พัก 143 ที่สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ขณะที่ถูกสร้างขึ้นเป็นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรือลำนี้จึงจมลงสามครั้งก่อนที่จะออกเดินทางในครั้งแรก เรือถูกทิ้งระเบิดและจมโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ในอู่ต่อเรือในรอตเทอร์ดัม ฝ่ายเยอรมันยกเรือขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2487 แต่เรือถูกจมลงอย่างรวดเร็วโดยกองกำลังใต้ดินของชาวดัตช์ หลังจากถูกยกขึ้นเป็นครั้งที่สอง กองกำลังต่อต้านได้จมเรือลงอีกครั้งในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2488 ต่อมาในที่สุดเรือก็เสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการเดินเรือในเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งใช้เวลาเที่ยวละแปดวัน จำนวนสองเที่ยวในแต่ละเดือนระหว่างรอตเตอร์ดัมและนิวยอร์ก[21] เรือได้ปลดระวางเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 และถูกขายไปยังสเปนในฐานะเศษซาก[22]
เรือเวสเตอร์ดัม ลำที่สองให้บริการในสายการเดินเรือโฮม (Home Lines) ในชื่อเรือเอ็มเอส โฮเมอริก (MS Homeric) ในปี พ.ศ. 2529 ต่อมาสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ได้เข้าซื้อเรือในปี พ.ศ. 2531 และเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเอส เวสเตอร์ดัม ในปี พ.ศ. 2533 เรือมีการปรับปรุงเพิ่มความยาวอีก 36.9 เมตร (121 ฟุต 1 นิ้ว) ที่อู่ต่อเรือไมยาร์ (Meyer Werft) ในเยอรมัน โดยหลังจากการเดินเรือ 643 เที่ยวในระยะเวลา 13 ปีกับสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา เรือได้ถูกขายต่อไปยังบริษัทในเครือของกอสตาโกรเชรี (Costa Crociere) ในปี พ.ศ. 2545 และเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเอส กอสตาเออูโรปา (MS Costa Europa)[21] และตั้งแต่นั้นเรือถูกเช่าเป็นระยะเวลาสิบปีโดยสายการเดินเรือทอมสันครูซ (Thomson Cruises) ซึ่งเริ่มเดินเรือในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเอส ทอมสันดรีม (MS Thomson Dream)[23] ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อตามชื่อของบริษัทอีกครั้งเป็น เอ็มเอส มาเรลลาดรีม (MS Marella Dream) ในสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Holland America Names Dutch Actress Renée Soutendijk As Godmother To MS Westerdam". News release. Holland America Lines. 9 April 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
- ↑ "MS Westerdam". Holland America Line. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2016. สืบค้นเมื่อ 25 September 2007.
- ↑ "Holland America Line's Investment in Signature of Excellence Surpasses $425 Million". News release. Holland America Line. 1 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
- ↑ "Fast Fact Sheet – MS Westerdam" (PDF). Holland America Line. September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2011. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
- ↑ "Cruise ship hits fixed ice; some damage but hull not breached". The Anchorage Daily News. Associated Press. 11 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Reuters (30 June 2014). "Boiler Room Fire Forces Cruise Ship Back to Port". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 1 July 2014.
- ↑ Associated Press (29 June 2014). "Boiler room fire forces cruise ship back to port". New York Post. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
- ↑ Varandani, Suman (26 June 2015). "Alaska Plane Crash: 9 People Killed After Sightseeing Plane Carrying Cruise Ship Passengers Crashes". ibtimes.com.
- ↑ "Cruise ship that visited Hong Kong searches for a port after Philippines, Japan deny entry". USA Today. 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
- ↑ Jerick Sablan (7 February 2020). "Guam denies entry to ship over coronavirus concerns". Pacific Daily News. สืบค้นเมื่อ 9 February 2020.
- ↑ "Thailand bars Westerdam cruise ship, China virus toll tops 1,000". Bangkok Post. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
- ↑ "Thailand refuses entry to cruise ship with no coronavirus cases". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
- ↑ 13.0 13.1 "Nederlanders vast op cruiseschip Westerdam: 'We hebben behoorlijk spijt'". nos.nl (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
- ↑ "Cruise ship rejected by five ports docks at last". BBC News. 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
- ↑ "Coronavirus: Westerdam cruise passenger infected, Malaysia confirms". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
- ↑ "American Woman from Cruise Ship Tests Positive Again for Coronavirus in Malaysia". The New York Times. 16 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-17. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020.
- ↑ Beech, Hannah (2020-02-17). "Cambodia's Coronavirus Complacency May Exact a Global Toll". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-02-18.
- ↑ "Last passengers leave the cruise ship in Cambodia after discarding COVID-19". La Vanguardia. 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 2020-02-20.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Updated Statement Regarding Westerdam". hollandamerica. 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
- ↑ "Coronavirus: How did Cambodia's cruise ship welcome go wrong?". BBC News Asia. 20 February 2020.
- ↑ 21.0 21.1 "What's in a Name: Vista Ships Reflect Tradition" (PDF). Holland America Lines. January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2011. สืบค้นเมื่อ 29 July 2008.
- ↑ "The History of Holland America's Westerdam Ships". ships of the past. shipsandcruises.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2015. สืบค้นเมื่อ 1 April 2010.
- ↑ Niemelä, Teijo (6 July 2009). "Costa charters Costa Europa for Thomson Cruises". Cruise Business Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 6 July 2009.
แหลงข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ – สายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา