ข้ามไปเนื้อหา

เอ็มเอร์เต จาการ์ตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจาการ์ตา
Jakarta MRT at Lebak Bulus depot
Jakarta MRT at Lebak Bulus depot
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของกรุงจาการ์ตา
ที่ตั้งจาการ์ตา  อินโดนีเซีย
ประเภทรถไฟรางหนัก
จำนวนสาย2
จำนวนสถานี13 (เฉพาะสายเหนือ-ใต้)
สำนักงานใหญ่วิซมานูซันตารา, ชั้นที่ 21, Jl. M.H. Thamrin 59, จาการ์ตา 10350 - อินโดนีเซีย - โทรศัพท์ (62)21 3103629, โทรสาร (62) 21 3155846
เว็บไซต์MRT Jakarta
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน24 มีนาคม 2019
เริ่มให้บริการ2017-2018 (planned)
ผู้ดำเนินงานบริษัท เอ็มเอร์เต จาการ์ตา
ระยะห่าง5–10 นาที
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง15.7 km (9.8 mi) (เริ่มแรก)
รางกว้าง1,067 mm (3 ft 6 in)
การจ่ายไฟฟ้า1,500V DC ผ่านระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว
ผังเส้นทาง

เอ็มเอร์เต จาการ์ตา (อินโดนีเซีย: MRT Jakarta) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจาการ์ตา (Mass Rapid Transit Jakarta) เป็นระบบขนส่งมวลชนเร็วของกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2013 เป็นการก่อสร้างในระยะที่ 1 และได้เปิดให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2019

เส้นทาง

[แก้]

ระยะทางทั้งโครงการคือ 108 กิโลเมตร เป็นสายเหนือ-ใต้ 21.7 กิโลเมตร (จากเลอบักบูลุซ ไปยังกัมปุงบันดัน) และสายตะวันออก-ตะวันตก 87 กิโลเมตร (จากบาลาราจา ไปยังจีการัง)[1]

สายเหนือ–ใต้

[แก้]

การก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ระยะ

  • ระยะที่ 1 สร้างเชื่อมระหว่างเลอบักบูลุซ ไปยังบันดารัน ระยะทาง 15.5 กิโลเมตร จำนวน 13 สถานี (ยกระดับ 7 สถานี ใต้ดิน 6 สถานี) [2]
  • ระยะที่ 2 เป็นส่วนต่อขยาย สร้างเชื่อมระหว่างบันดารัน ไปยังกัมปุงบันดัน (ใต้ดิน 7 สถานี ระดับดิน 1 สถานี) คาดว่าจะเปิดให้บริการใน ค.ศ. 2024 [3][4]

ระยะที่ 1

[แก้]

ระยะที่ 1 มีระยะทาง 15.7 กิโลเมตร (9.8 ไมล์) สร้างเชื่อมระหว่างเลอบักบูลุซ ไปยังบันดารัน เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 2013 เปิดให้บริการแล้วเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 คาดว่าจะรองรับผู้โดยสารได้ 212,000 คนต่อวัน ใช้เวลาการในเดินทางตลอดสาย (เที่ยวเดียว) ไม่ถึง 30 นาที[5]

สถานียกระดับ

  • เลอบักบูลุซ
  • ฟัตมาวาตี
  • จีเปเต
  • ฮาจีนาวี
  • บลกอา
  • บลกเอ็ม
  • ซีซีงามางาราจา

สถานีใต้ดิน

  • เซอนายัน
  • อิสโตรา
  • เบินดูงันฮีลีร์
  • เซอตียาบูดี
  • ดูกุฮ์อาตัซ (เปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมืองกาเอร์เอ็ล โกมูเตอร์ไลน์)
  • บันดารัน

สายตะวันออก–ตะวันตก

[แก้]

ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาโครงการ คาดว่าจะเปิดให้บริการใน ค.ศ. 2030

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ เว็บไซต์ทางการ เก็บถาวร 2009-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Urban rail news in brief". Railway Gazette International. 2010-10-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-10-05.
  3. "MRT Development Accelerated". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
  4. MRT Takes Small Step Forward as Contractors Approved - The Jakarta Globe
  5. "MRT construction likely to disrupt public utility networks". October 7, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]