เอ็มวี สวิฟต์เรสคิว
เอ็มวี สวิฟต์เรสคิว ภายในฐานทัพเรือชางงี
| |
ประวัติ | |
---|---|
สิงคโปร์ | |
ชื่อ | เอ็มวี สวิฟต์เรสคิว |
เจ้าของ | เฟิสต์รีสพอนส์มารีน |
ผู้ให้บริการ | กองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ |
อู่เรือ | เอสที มารีน |
ปล่อยเรือ | 1 เมษายน ค.ศ. 2008 |
เดินเรือแรก | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 |
สร้างเสร็จ | 30 เมษายน ค.ศ. 2009 |
รหัสระบุ |
|
สถานะ | ประจำการ |
ลักษณะเฉพาะ | |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): | 4,290 ตัน |
ความยาว: | 85 ม. (278 ฟุต 10 นิ้ว) |
กินน้ำลึก: | 4.3 ม. (14 ฟุต 1 นิ้ว) |
ระบบขับเคลื่อน: |
2 เครื่องยนต์ดีเซลเอ็มเอเอ็น 2,040 กิโลวัตต์ 3 เครื่องยนต์ดีเซลแคเตอร์พิลลาร์ 1,360 กิโลวัตต์ 2 ใบจักรซีพีพีคอร์ตนอซเซิล 1 ไฟสำรอง 95 กิโลวัตต์ |
ความเร็ว: | 12 นอต (22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 14 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 7,500 ไมล์ทะเล (13,900 กม.; 8,600 ไมล์) |
พิสัยปฏิบัติการ: | 28 วัน |
จำนวนเรือและอากาศยาน: | ยานดำน้ำกู้ภัย 1 ลำ |
อัตราเต็มที่: | ลูกเรือ 27 นาย |
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: | แท่นจอดเฮลิคอปเตอร์ |
เอ็มวี สวิฟต์เรสคิว (อังกฤษ: MV Swift Rescue) เป็นเรือสนับสนุนและกู้ภัยเรือดำน้ำ (SSRV) ที่ดำเนินการโดยกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ (RSN) เรือลำนี้ประจำการในฐานทัพเรือชางงี และมีลูกเรือรวม 27 นายจากกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมถึงบริษัทเอกชน สไวร์แปซิฟิกออฟชอร์โอเปอเรชันส์ จำกัดโดยหุ้น ซึ่งเป็นกำลังทางทะเลของสไวร์กรุป[1]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 กองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์ได้มอบสัญญาออกแบบ, สร้าง, เป็นเจ้าของ และดำเนินการกับเอสที มารีน ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเอสที เอนจิเนียริง[2] สัญญามูลค่า 400 ล้านดอลลาร์ได้ระบุโครงการหุ้นส่วนภาครัฐ 20 ปีสำหรับระบบกู้ภัยเรือดำน้ำและบริการซ่อมบำรุง ต่อมา เอสที มารีน และเจมส์ ฟิชเชอร์ ดีเฟนส์ ได้ตกลงร่วมทุน 50-50 ในชื่อบริษัทเอกชน เฟิสต์รีสพอนส์มารีน จำกัดโดยหุ้น เพื่อสร้างเรือ[3]
สวิฟต์เรสคิวได้รับการปล่อยลงน้ำในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 และเป็นเรือลำแรกของกองทัพเรือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสามารถในการกู้ภัยและช่วยเหลือเรือดำน้ำ (SER)[4] โดยมีการติดตั้งยานกู้ภัยน้ำลึกดีปเสิร์ชแอนด์เรสคิวซิกส์ (DSAR 6) ซึ่งดีปเสิร์ชแอนด์เรสคิวซิกส์ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายกำลังพลออกจากเรือดำน้ำได้อย่างรวดเร็ว และใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการปล่อยยานลงน้ำ[3]
ภารกิจกู้ภัย
[แก้]สวิฟต์เรสคิวได้เข้าร่วมในภารกิจค้นหาเรือดำน้ำครั้งแรกหลังจากเรือดำน้ำของกองทัพเรืออินโดนีเซียที่ชื่อกาเอร์อี นังกาลา (402) สูญหายไปจากน่านน้ำของจังหวัดบาหลีระหว่างการฝึกตอร์ปิโดเมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2021[5][6][7] โดยหุ่นยนต์ดำน้ำของเรือนี้ได้ถ่ายภาพเรือจมที่ความลึก 838 เมตร เมื่อวันที่ 25 เมษายน[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Singapore Rescue Systems". International Submarine Escape and Rescue Liaison Office. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
- ↑ "Submarine Support & Rescue Vessel (SSRV)". Singapore Technologies Engineering. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2014. สืบค้นเมื่อ 29 December 2014.
- ↑ Koh, Swee Lean Collin (30 January 2014). "Submarines in Southeast Asia: Proliferation, Not a Race". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 22 April 2021.
- ↑ "Indonesia searching for missing submarine with 53 on board". Reuters. The Strait Times. 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
- ↑ "Indonesian submarine KRI Nanggala goes missing during torpedo firing drill". Defense Brief (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 21 April 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
- ↑ Siregar, Kiki (22 April 2021). "Vessels from Singapore and Malaysia to assist in search for missing Indonesian submarine". Channel News Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 22 April 2021.
- ↑ "Sunken missing Indonesian submarine found cracked open, officials say 53 crew members dead". The Straits Times. 25 April 2021. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.