ข้ามไปเนื้อหา

เอ็มบีดีเอ มีทีเออร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มีทีเออร์
ชนิดอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ
แหล่งกำเนิด ยุโรป
บทบาท
ประจำการ2016
ผู้ใช้งาน สหราชอาณาจักร
 เยอรมนี
 ฝรั่งเศส
 กรีซ
 อินเดีย
 อิตาลี
 กาตาร์
 สเปน
 สวีเดน
 บราซิล
 โครเอเชีย
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตเอ็มบีดีเอ
มูลค่าต่อหน่วย>2,000,000 ยูโร[1]
ข้อมูลจำเพาะ
มวล190 กิโลกรัม[2]
ความยาว3.65 เมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง17.8 เซ็นติเมตร
หัวรบระเบิดแรงสูง สะเก็ดระเบิด
กลไกการจุดชนวน
ชนวนกระทบ

เครื่องยนต์แรมเจ็ท
พิสัยปฏิบัติการ
สูงสุด 200 กิโลเมตร[3]
ความสูงปฏิบัติการN/A
ความเร็วสูงสุดมากกว่า 4 มัค
ระบบนำวิถี
ระบบนำทางเฉื่อย ปรับปรุงข้อมูลระหว่างเดินทางผ่านดาต้าลิงก์, เรดาร์
ฐานยิง
ผู้ใช้งาน:
ดาโซราฟาล
ยูโรไฟต์เตอร์ ไทฟูน
ยาส 39

เอ็มบีดีเอ มีทีเออร์ เป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ นอกระยะสายตา นำวิถีด้วยเรดาร์ (BVRAAM) พัฒนาและผลิตโดยเอ็มบีดีเอ มีความสามารถในการโจมตีอากาศยานที่มีความคล่องตัวสูง และอากาศยานขนาดเล็ก เช่น อาวุธปล่อยครูซ โดรน มีระยะยิง 200 กิโลเมตร[4]

ด้วยเครื่องยนต์แรมเจ็ทที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งช่วยให้ขีปนาวุธสามารถบินด้วยความเร็วมากกว่า 4 มัค และให้แรงขับและการเร่งความเร็วกลางทางแก่ขีปนาวุธ ระบบการเชื่อมต่อข้อมูลแบบสองทางช่วยให้เครื่องบินที่ปล่อยขีปนาวุธสามารถอัปเดตเป้าหมายกลางทางหรือเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ได้ตามต้องการ รวมถึงข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ

มีทีเออร์เป็นผลผลิตจากโครงการร่วมของยุโรป เริ่มเข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนบนเครื่องบินยาส 39[5] กองทัพอากาศและกองทัพเรือฝรั่งเศสบนเครื่องบิน ดาโซราฟาล และยูโรไฟเตอร์ ไทฟูน ของกองทัพอากาศอังกฤษ กองทัพอากาศเยอรมัน กองทัพอากาศอิตาลี และกองทัพอากาศสเปน นอกจากนี้มีทีเออร์ยังถูกวางแผนให้ติดตั้งบนเครื่องบิน เอฟ-35 ไลท์นิง 2 ของอังกฤษและอิตาลี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "MBDA Bags €200M Meteor Missile Deal for Brazilian Gripen NG Jets". DefenseMirror.com. 10 June 2019.
  2. "METEOR | Air Dominance".
  3. "Gripen-E performs 1st Meteor Missile test shot". Flightglobal.
  4. "METEOR". Πολεμική Αεροπορία (ภาษากรีก). สืบค้นเมื่อ 2023-04-18.
  5. Tomkins, Richard (11 July 2016). "Meteor missiles now on Swedish Gripens". UPI.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]