เอแนร์จีกา เอโก
เอแนร์จีกา เอโก แสดงที่สนามแข่งรถอาสเซิน ค.ศ. 2018 | |
ผู้ผลิต | บริษัท เอแนร์จีกา โมตอร์ |
---|---|
ประเภท | สปอร์ตไบก์ |
ความเร็วสูงสุด | 245 กม./ชม. |
กำลังเครื่องยนต์ | 107 kW (143 hp; 145 PS) |
แรงบิด | 200 N·m (150 lbf·ft) |
ระบบส่งกำลัง | ไฟฟ้าพร้อมระบบช่วยจอด (สโลว์ ถอยหลัง และเดินหน้า) |
ประเภทโครงรถ | เหล็กกล้าถัก (Steel trellis) |
กันสะเทือน | หน้า: 43 มม., ตัวหน่วงการสั่นสะเทือนปรับค่าการยุบและคืนตัวได้, สปริงปรับความแข็งสัมพันธ์กับน้ำหนักได้ หลัง: สวิงอาร์มแบบตัวหน่วงการสั่นสะเทือนเดี่ยวปรับค่าการคืนตัวได้, สปริงปรับความแข็งสัมพันธ์กับน้ำหนักได้ |
ห้ามล้อ | เบรมโบ
หน้า: ดิสก์คู่แบบ Radial Mount ขนาด 330 มม., คาลิเปอร์แบบ 4 สูบ, หลัง: ดิสก์เดี่ยวขนาด 240 มม., คาลิเปอร์แบบ 2 สูบ |
ยางรถ | พีเรลลี่ ดีอาโบล รอสโซ III
หน้า: 120/70 ขอบ 17 หลัง: 180/55 ขอบ 17 |
ฐานล้อ | 1,465 มม. |
มิติรถ | L: 2,140 มม. W: 870 มม. H: 1,220 มม. |
ความสูงเบาะ | 795 มม. |
น้ำหนักรถ | 258–280 กิโลกรัม (น้ำหนักรถเปล่าไม่รวมของเหลว) |
ความจุเชื้อเพลิง | 13.4 kWh (EGO), 21.5 kWh (EGO+ และ EGO+ RS) |
ระยะทางที่วิ่งได้ | 130–190 กม. |
สิ่งเกี่ยวข้อง | เอแนร์จีกา เอวา (Energica Eva) |
เอแนร์จีกา เอโก (Energica Ego) เป็นรถจักรยานยนต์ประเภทสปอร์ตสำหรับการขับขี่บนท้องถนนขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ออกแบบและทำการตลาดโดยบริษัทเอแนร์จีกา โมตอร์ (Energica Motor) โดยบริษัทอ้างว่าเป็นรถจักรยานยนต์สปอร์ตไฟฟ้าสัญชาติอิตาลีรุ่นแรกที่จดทะเบียนได้ตามกฎหมาย รถต้นแบบสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2556 และเปิดจำหน่ายใน พ.ศ. 2558[1][2] รถต้นแบบผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่เช่น CNC และการพิมพ์ 3 มิติซึ่งใช้ในการผลิตแผงหน้าปัดและไฟหน้า[3][4]
การออกแบบ
[แก้]เอโก เป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ขนาด 107 กิโลวัตต์พร้อมแรงบิด 200 นิวตันเมตร (ที่รอบต่ำ) ให้ความเร็วสูงสุดที่ 240 กม./ชม.[5][6] มอเตอร์ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาด 11.7 กิโลวัตต์ชั่วโมง เอโกมีน้ำหนักประมาณ 258–280 กิโลกรัม เนื่องจากแบตเตอรี่มีน้ำหนักมาก[7][8]
การเบรกด้วยเครื่องยนต์สามารถปรับได้สี่ระดับซึ่งสามารถใช้การเบรกเป็นการชาร์จไฟ[9] มอเตอร์ตั้งอยู่ใกล้กับสวิงอาร์มที่ทำจากอะลูมิเนียมหล่อมีตัวหน่วงการสั่นสะเทือนเดี่ยวติดตั้งด้านข้าง ไฟหน้าเป็นแบบโปรเจคเตอร์[10] แผงหน้าปัดเป็นจอแสดงผลแบบ TFT ขนาด 109.22 มิลลิเมตร[10]
ก่อน พ.ศ. 2560 เอโกใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 136 แรงม้า ที่มีแรงบิด 180 นิวตันเมตร[11] อย่างไรก็ตาม เอวา (Eva) รถรุ่นใกล้เคียงกันที่มีตัวถังเปลือย ผลิตกำลังได้ 108 แรงม้าจากที่ก่อนหน้าทำได้เพียง 95 แรงม้า และภายหลังปี 2560 ทั้งสองรุ่นได้ผ่านมาตรฐานยูโรสี่ (EURO IV)[11][12] ราคาได้ลดลงเหลือประมาณ 20,000 ปอนด์สเตอร์ลิง[13]
จักรยานยนต์รุ่นนี้มีโครงตัวถังท่อเหล็กกล้าถัก (steel trellis frame) ซึ่งมองเห็นได้บางส่วนแม้จะมีโครงสร้างภายนอก (fairing) ครอบอยู่ก็ตาม[14]
ในปี 2562 เอโกได้รับการปรับปรุงอีกครั้งโดยติดตั้งคันเร่งไฟฟ้าที่สามารถอ่านค่าการปรับได้ละเอียดถึงหนึ่งในสิบมิลลิเรเดียน (mrad) เพิ่มคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น "การชาร์จแบบเงียบ" และมือจับแบบปรับความอุ่นได้[15]
ประสิทธิภาพ
[แก้]เอโกสามารถเร่งความเร็ว 0–100 กม./ชม. ได้ใน 3 วินาที มีระบบกันสะเทือนหน้าขนาด 43 มม. ของมาร์ซอกกี (Marzocchi) พร้อมด้วยระบบช่วยจอดและเบรกของเบรมโบ (Brembo) ที่มีคุณสมบัติเช่น ABS และระบบป้องกันการพลิกคว่ำ[7] ผู้ทำการทดสอบบางคนระบุว่าระบบกันสะเทือนได้รับการปรับตั้งค่อนข้างนุ่มนวล มีอุปกรณ์ควบคุมชื่อ "VCU" ผลิตโดยบริษัทเอแนร์จีกา ซึ่งคล้ายกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (ESC) ซึ่งอ้างว่าควบคุมในทุกด้านตั้งแต่แบตเตอรี่ไปจนถึงเครื่องยนต์ (รวมถึงการเบรกด้วยเครื่องยนต์)
ในการใช้งานปกติ เอโกมีระยะทางใช้งานประมาณ 160 กิโลเมตร (190 กิโลเมตรในโหมด "eco")[7]
สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ถึงร้อยละ 85 ใน 30 นาทีที่สถานีชาร์จด่วน (โหมด 4, ชาร์จเร็วกระแสตรง) หรือร้อยละ 100 ใน 3 ชั่วโมงครึ่ง (โหมด 2 หรือ 3, กระแสสลับ 240 โวลต์) อย่างไรก็ตามการชาร์จจนเต็มโดยใช้แหล่งจ่ายไฟมาตรฐาน 120 โวลต์ของสหรัฐจะใช้เวลา 8 ชั่วโมง อายุการใช้งานแบตเตอรี่คือ 1,200 รอบที่ร้อยละ 80 ของความจุ[16]
การผลิต
[แก้]รถต้นแบบคันแรกสร้างสำเร็จโดยบริษัทเอแนร์จีกาใน พ.ศ. 2556 และต่อมาเข้าสู่สายการผลิตโดยเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จากข้อมูลของนิตยสาร ท็อป สปีด ในปัจจุบันกำลังเผชิญกับ "การขาดแคลนสินค้าคงคลัง" เนื่องจากกำลังการผลิตมีน้อยกว่าความต้องการ[17]
โมโตอี
[แก้]รุ่นการแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โมโตอี (MotoE) ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับการสนับสนุน ถูกเพิ่มในการแข่งรถมอเตอร์ไซค์กรังด์ปรีซ์ตั้งแต่ปี 2562[6] โดยเป็นรุ่นที่ใช้รถจากผู้ผลิตเดียว แตกต่างจากการแข่งขันรุ่นอื่น ๆ ที่ใช้รถที่แตกต่างกันจากทีมผู้ผลิตต่าง ๆ ซึ่งรถรุ่น เอโก กอร์ซา (Ego Corsa) เป็นรุ่นที่ปรับแต่งเน้นประสิทธิภาพสำหรับการแข่งขันโมโตอี[18][19]
เอโก คอร์ซา
[แก้]เป็นรุ่นของเอโก สำหรับแข่งขันในสนามแข่ง โดยใช้ยางมิชลินและทำการปรับแต่งสมรรถนะ จากข้อมูลของบริษัทเอแนร์จีกา มอเตอร์ของรุ่นนี้ผลิตกำลังต่อเนื่อง 120 กิโลวัตต์ (จากเดิม 110 กิโลวัตต์) และแรงบิด 200 นิวตันเมตร ทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 168 ไมล์ต่อชั่วโมง (จากเดิม 155 ไมล์ต่อชั่วโมง)[20] การเร่งความเร็วจาก 0 ถึง 60 ไมล์ต่อชั่วโมงนั้นน้อยกว่า 2.8 วินาที จากข้อมูลด้านกำลังและความเร็วสูงสุด เอโก คอร์ซา จะมีกำลังอย่างน้อย 149 แรงม้า และความเร็วสูงสุด 175 ไมล์ต่อชั่วโมง (281 กิโลเมตร/ชั่วโมง)[21]
เอโก คอร์ซา ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนขนาด 20 kWh เบากว่าและกะทัดรัดกว่ารถรุ่นมาตรฐาน
กำลังขับเทียบได้กับรถรุ่นโมโตทู (Moto2, เครื่องยนต์ 3 สูบ 765 ซีซี) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแบตเตอรี่มีน้ำหนักที่มากกว่า อัตราส่วนกำลังต่อน้ำหนักจึงค่อนข้างใกล้เคียงกับรุ่นโมโตทรี (Moto3, เครื่องยนต์กระบอกสูบเดียว 250 ซีซี) จากสี่สนามที่ใช้แข่งขันในปัจจุบันมีเพียงสนามเรดบูลริง (Red Bull Ring) ซึ่งมีสภาพเป็นเนินเขาเท่านั้นที่ส่งผลให้เวลาต่อรอบเร็วกว่ารุ่นโมโตทรี โดยในสนามอื่น เอโก คอร์ซา จะทำเวลาช้ากว่า 1–1.5 วินาทีต่อรอบ
จนถึงขณะนี้การแข่งขันที่ยาวที่สุดมีระยะทาง 29.582 กิโลเมตร (18.381 ไมล์)
เอโก 45
[แก้]ในวันครบรอบ 45 ปีของกลุ่มชิแอร์เรปี (CRP Group) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเอแนร์จีกา ได้มีการสร้างรุ่นพิเศษของเอแนร์จีกา เอโก ในชื่อเอโก 45 (Ego 45) ซึ่งได้เปิดตัวในงาน Top Marques Monaco ในปี 2557[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Energica Ego Electric Superbike Now Coming in 2015 - Asphalt & Rubber". Asphalt & Rubber (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 4 กุมภาพันธ์ 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2018.
- ↑ "The Energica Ego is Released: 100% Electric Motorcycle Prototyped with 3D Printing" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2018.
- ↑ "2015 Energica Ego Review - First Ride". Motorcycle.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 25 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2018.
- ↑ Leadership, The Berlin School Of Creative. "Italian E-Motorcycle Maker Energica Challenges Harley Davidson". Forbes. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2018.
- ↑ "Energica's Ego is a 150MPH electric superbike". British GQ (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 27 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2019.
- ↑ 6.0 6.1 "Electric MotoGP class to race the Energica Ego in 2019". newatlas.com (ภาษาอังกฤษ). 13 ธันวาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Energica Ego Is The Electric Motorcycle Of The Year | CleanTechnica". cleantechnica.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 14 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
- ↑ "2015 Energica Ego - Riding Impression". Cycle World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
- ↑ "ENERGICA EGO (2016-on) Review". Motorcycle News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
- ↑ 10.0 10.1 "Up-Close with the Energica Ego Electric Superbike - Asphalt & Rubber". Asphalt & Rubber. 17 กรกฎาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2018.
- ↑ 11.0 11.1 "2017 Energica Electric Bikes Get More Power - NDTV CarAndBike". CarAndBike (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2018.
- ↑ "2017 Energica Electric Motorcycles Upgrade | More Power and Euro 4 Status". Ultimate Motorcycling. 8 เมษายน 2017. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2018.
- ↑ "Energica Lowers Prices in U.S. | RideApart". RideApart. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2018.
- ↑ "2019 Energica Ego". www.topspeed.com. 18 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2019.
- ↑ Toll, Micah (7 ตุลาคม 2018). "Energica electric motorcycles' 2019 update with 150 mph Ego Sport Black". Electrek. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2019.
- ↑ "Review: Energica EGO Electric Motorcycle | Riding in the Zone". www.ridinginthezone.com. 31 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2018.
- ↑ "Energica Experiences Inventory Shortfall As Demand Outstrips Supply @ Top Speed". Top Speed (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2018.
- ↑ Brandt, Eric. "MotoE World Cup Electric Motorcycle Racing Details Announced". The Drive (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2018.
- ↑ Klein, Jamie. "MotoGP reveals electric bike for 2019 MotoE World Cup". Autosport.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2018.
- ↑ "FIM Enel MotoE World Cup. MyEgoCorsa". Energica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2018.
- ↑ "Energica Becomes The Motorcycle Supplier For FIM Moto-E World Cup @ Top Speed". Top Speed (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2018.
- ↑ "Energica Ego 45 a Hit at Top Marques Monaco - Motorcycle USA". Motorcycle USA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2018.