ข้ามไปเนื้อหา

เอียน โธร์ป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถิติเหรียญโอลิมปิก
กีฬาว่ายน้ำชาย
ตัวแทนของ ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
กีฬาโอลิมปิก
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซิดนีย์ 2000 400 m freestyle
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ซิดนีย์ 2000 4 × 100 m freestyle relay
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2000 ซิดนีย์ 4 × 200 m freestyle relay
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 200 m freestyle
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 400 m freestyle
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ซิดนีย์ 2000 200 m freestyle
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ซิดนีย์ 2000 4 × 100 m medley relay
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ เอเธนส์ 2004 4 × 200 m freestyle relay
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 เอเธนส์ 2004 100 m freestyle
เอียน โธร์ป

เอียน เจมส์ โธร์ป (อังกฤษ: Ian James Thorpe) เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เจ้าของฉายา "ธอร์ปีโด" เป็นอดีตนักว่ายน้ำฟรีสไตล์ชาวออสเตรเลีย ชนะเหรียญทองโอลิมปิกมาแล้ว 5 ครั้ง และเป็นชาวออสเตรเลียที่ได้รับเหรียญมากที่สุดที่เคยมีมา และในปี 2001 เขาเป็นคนแรกที่ได้ 6 เหรียญทองใน World Championship[1] โดยรวมได้รับ 11 เหรียญทอง World Championship ซึ่งเป็นที่ 2 ในบรรดานักว่ายน้ำ[2] โธร์ปยังเป็นคนแรกที่ได้ตำแหน่งนักว่ายน้ำแห่งปีของโลก ถึง 4 ครั้งโดยนิตยสารสวิมมิงเวิลด์ และยังเป็นนักว่ายน้ำออสเตรเลียประจำปี 1999 ถึง 2003 และด้วยความประสบความสำเร็จของเขาทำให้เขาเป็นนักกีฬาชาวออสเตรเลียที่โด่งดังที่สุด และด้วยภาพลักษณ์ การร่วมกิจกรรมการกุศล ทำให้เขาได้รับรางวัล Young Australian of the Year ในปี 2000 อีกด้วย[2]

พออายุได้ 14 ปี เขาเป็นนักกีฬาชายที่อายุน้อยที่สุดที่เป็นตัวแทนของออสเตรเลีย[3] และเขาชนะในการแข่งขันว่ายน้ำฟรีสไตลื 400 เมตรในปี 1998 ที่ Perth World Championships ทำให้เขาเป็นนักว่ายน้ำที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับตำแหน่ง World Champion ในฐานะว่ายน้ำเดี่ยวชาย[4] หลังจากนั้นโธร์ปยังชนะในการแข่งว่ายน้ำฟรีสไตล์ 400 เมตร ใน Olympic, World, Commonwealth และ Pan Pacific Swimming Championships[5]

นอกจากนั้นเขายังเป็นเจ้าของสถิติโลกถึง 13 สถิติ นอกจากนั้นโธร์ยังอยู่ในทีมว่ายน้ำผลัดออสเตรเลีย มีชัยชนะในการแข่ง 4 × 100 เมตร และ 4 × 200 เมตรฟรีสไตล์ ที่ซิดนีย์ และเหรียญทองแดงในการแข่งขันฟรีสไตล์ 100 เมตร ที่เอเธนส์ ทำให้เขาเป็นผู้ชายคนเดียวที่ได้รับเหรียญในการแข่งขัน 100-200-400 เมตร[5]

หลังจากการแข่งขันโอลิมปิกที่เอเธนส์ โธร์ปก็ไม่ได้ว่ายน้ำ เขาวางแผนว่าจะกลับมาแข่งใน Commonwealth Games ในปี 2006 แต่เขาก็ถอนตัวไปเพราะป่วย จนเขาประกาศลาวงการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2006[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hunter (2004), pp. 274–275.
  2. 2.0 2.1 "Ian Thorpe". Grand Slam International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-19. สืบค้นเมื่อ 2006-11-14.
  3. Hunter (2004), p. 75.
  4. Andrews, Malcolm (2000). Australia at the Olympics. Sydney: Australian Broadcasting Corporation. pp. 434–436, 487. ISBN 0-7333-0884-8.
  5. 5.0 5.1 "Ian Thorpe - Career at a glance". Australian Broadcasting Corporation. 2006-11-21. สืบค้นเมื่อ 2006-11-22.
  6. "Thorpe announces retirement". Australian Broadcasting Corporation. 2006-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-11-21.