ข้ามไปเนื้อหา

เอียง ซารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอียง ซารี
អៀង សារី
ซารีใน พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน 2519 – 7 มกราคม 2522
นายกรัฐมนตรีพล พต
นวน เจีย (รักษาการ)
ก่อนหน้าสริน ชาก
ถัดไปฮุน เซน
รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน 2519 – 7 มกราคม 2522
นายกรัฐมนตรีพล พต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Kim Trang

24 ตุลาคม ค.ศ. 1925(1925-10-24)
จังหวัดจ่าวิญ โคชินไชนา อินโดจีนของฝรั่งเศส
เสียชีวิต14 มีนาคม ค.ศ. 2013(2013-03-14) (87 ปี)
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
ที่ไว้ศพMalai District, จังหวัดบันทายมีชัย[1]
เชื้อชาติกัมพูชา
พรรคการเมืองขบวนการสหภาพชาติประชาธิปไตย (2539–2550)
พรรคสามัคคีชาติกัมพูชา (2535–2539)
พรรคกัมพูชาประชาธิปไตย (2524 –2536)
พรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา
พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส
คู่สมรสKhieu Thirith (สมรส 1951)
ศิษย์เก่าSciences Po

เอียง ซารี (Ieng Sary; เขมร: អៀង សារី, เอียง สารี; เกิดเมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2468 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2556) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและสมาชิกระดับสูงของเขมรแดง เป็นสมาชิกของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่นำโดยพล พต และเข้าร่วมรัฐบาลของกัมพูชาประชาธิปไตยในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรองนายกรัฐมนตรี เขาเป็นที่รู้จักในชื่อสหายหมายเลข 3 โดยเขามีอำนาจสั่งการเป็นอันดับ 3 รองจากพล พตและนวน เจีย ภรรยาของเขา เอียง ธิริทธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสังคม เอียง ซารี ถูกจับกุมใน พ.ศ. 2550 ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แต่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวก่อนมีคำตัดสิน

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

เอียง ซารี เกิดที่หมู่บ้านญานฮัวในจังหวัดจ่าวิญ เวียดนามใต้ เมื่อ พ.ศ. 2468 พ่อของเขา กิม เรียม เป็นชาวขแมร์กรอม แม่ของเขาคือจัน ทิลอย เป็นชาวจีนอพยพที่อพยพมายังเวียดนามพร้อมครอบครัวตั้งแต่ยังเด็ก[2][3] แต่ในศาลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เขากล่าวว่าแม่ของเขาเป็นเลือดผสมระหว่างชาวเวียดนามและลูกหลานชาวจีน[4] ซารีมีชื่อเดิมเป็นภาษาเวียดนามว่ากิม จัง แต่เขาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันเมื่อเข้าร่วมกับเขมรแดง เขาเข้าเรียนในโรงเรียนสีสุวัตถิ์ในพนมเปญ เช่นเดียวกับพล พต เขาหมั้นกับเขียว ธิริทธ์ก่อนไปศึกษาต่อที่ปารีส ในระหว่างที่เรียนในปารีส ซารีนิยมเข้ากับกลุ่มหัวรุนแรง และเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส เขาแต่งงานกับธิริทธิ์ที่ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2494[5]

ชีวิตช่วงกลาง

[แก้]

หลังจากกลับสู่กัมพูชา เขาเข้าร่วมในคณะกรรมการกลางของพรรคแรงงานกัมพูชาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2503[6] หลังจากการล่มสลายของสาธารณรัฐเขมรเมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 เขาได้เชื้อเชิญผู้ที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศให้เข้าร่วมในการสร้างกัมพูชาขึ้นมาใหม่ แต่เมื่อคนกลุ่มนี้ไปถึงกลับถูกจับ และส่งเข้าศูนย์กักกัน[7] ในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2520 เขาปฏิเสธการเจรจาอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับผู้อพยพชาวกัมพูชา จนกระทั่งถูกโค่นอำนาจใน พ.ศ. 2522 ต่อมา เอียง ซารีได้รับอภัยโทษจากพระนโรดม สีหนุใน พ.ศ. 2539 เขาเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการสหภาพแห่งชาติประชาธิปไตยแยกตัวออกมาจากพรรคสามัคคีแห่งชาติกัมพูชา

การจับกุม

[แก้]
เอียง ซารีและนวนเจียในศาล

เอียง ซารีซึ่งอาศัยในพนมเปญอย่างเปิดเผยกับภรรยา[8]ถูกจับกุมเมื่อ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ในพนมเปญ[9] ในข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ[10] และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เขาถูกกล่าวหาในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวเวียดนามและมุสลิมในกัมพูชา[11]

เสียชีวิต

[แก้]

ซารีเสียชีวิตในพนมเปญเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556 เขามีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจและถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556 ด้วยปัญหาเกี่ยวกับลำไส้[12] ร่างของเขาถูกเผาก่อนนำไปฝังที่บันเตียนเมียนเจย[13] ทนายของฝ่ายผู้สูญเสียในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กล่าวว่าการเสียชีวิตของเขาทำให้การทำงานของศาลแคบลงจำกัดการค้นหาความจริงและการตัดสิน[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kong Sothanarith (6 June 2014). "Former Khmer Rouge Minister Hospitalized in Thailand" (ภาษาเขมร). Voice of America. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  2. Kim Keo Kanitha, Choung Sphearith and Long Dany. "Magazine of the Documentation Center of Cambodia–Ieng Sary's Brief Biography" (PDF) (Special English Edition, April 2003): 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Bora, Touch. "Jurisdictional and Definitional Issues". Khmer Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 2007-11-19.
  4. Sann Rada, Transcript of Trial Proceedings-Case File Nº 002/19-09-2007-ECCC/TC, Day 4-5 December 2011, Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia, retrieved 29 October 2013
  5. David P. Chandler (1999). Brother Number One: A Political Biography of Pol Pot. Westview Press. p. 32. ISBN 0813335108. สืบค้นเมื่อ 2007-11-15.
  6. Chandler, David P., Revising the Past in Democratic Kampuchea: When Was the Birthday of the Party?: Notes and Comments, in Pacific Affairs, Vol. 56, No. 2 (Summer, 1983), pp. 288–300.
  7. BBC News, Top Khmer Rouge diplomat in court. 30 June 2008
  8. "The Statesman". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-18. สืบค้นเมื่อ 2015-12-04.
  9. Ed Johnson and Paul Tighe, "Khmer Rouge Foreign Minister Arrested in Cambodia", Bloomberg L.P., 12 November 2007.
  10. "Ex-official of Khmer Rouge and wife arrested for crimes against humanity" เก็บถาวร 2008-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Associated Press (International Herald Tribune), 12 November 2007.
  11. "Genocide charges for two former Khmer Rouge Leaders"
  12. "Ieng Sary, Khmer Rouge Leader Tied to Genocide, Dies at 87". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 March 2013.
  13. "Khmer Rouge Founder Ieng Sary Dies". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 15 March 2013.
  14. "KIeng Sary, minister for Cambodia's Khmer Rouge, dies". Yahoo! News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-19. สืบค้นเมื่อ 15 March 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ieng Sary