ข้ามไปเนื้อหา

เอสเอช-60 ซีฮอว์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสเอช-60 / เอ็มเอช-60 ซีฮอว์ก
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเฮลิคอปเตอร์ทางน้ำหลากภารกิจ
บริษัทผู้ผลิตซิคอร์สกี้ แอร์คราฟท์
สถานะประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพเรือสหรัฐ
กองทัพเรือไทย
ประวัติ
สร้างเมื่อทศวรรษที่ 2513-ปัจจุบัน
เริ่มใช้งานพ.ศ. 2527
เที่ยวบินแรก12 ธันวาคม พ.ศ. 2522
พัฒนาจากยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก
สายการผลิตเอชเอช-60 เจย์ฮอว์ก
มิตซูบิชิ เอสเอช-60


เอสเอช-60/เอ็มเอช-60 ซีฮอว์ก (อังกฤษ: SH-60/MH-60 Seahawk) เป็นเฮลิคอปเตอร์หลากภารกิจที่มีเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์สองเครื่องยนต์ โดยมีพื้นฐานโครงสร้างมาจาก ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก และเฮลิคอปเตอร์ตระกูลซิคอร์สกี้ เอส-70 การดัดแปลงที่เด่นชัดที่สุดคือที่ส่วนหางเพื่อลดรอยขูดขีดที่อาจเกิดขึ้นเมื่อลงจอดบนดาดฟ้าเรือ

กองทัพเรือสหรัฐใช้โครงสร้างของ เอช-60 พัฒนารุ่นที่มีชื่อว่า เอสเอช-60 บี เอสเอช-60 เอฟ เอชเอช-60 เอช เอ็มเอช-60 อาร์ และเอ็มเอช-60 เอส มันสามารถใช้ได้บนเรือฟริเกต เรือพิฆาต เรือลาดตระเวน เรือสนับสนุนการรบ เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก หรือเรือบรรทุกเครื่องบิน ซีฮอว์กสามารถใช้ทำหน้าที่ในสงครามปราบเรือดำน้ำ สงครามใต้น้ำ สงครามทำลายกำลังพื้นผิว สงครามพิเศษทางน้ำ ภารกิจค้าหาและช่วยเหลือ การกิจค้นหาและช่วยเหลือการรบ การส่งกำลังเพิ่มเติมทางดิ่ง และการเคลื่อนย้ายคนเจ็บ

การออกแบบและการพัฒนา

[แก้]

ต้นกำเนิด

[แก้]

ในทศวรรษที่ 2513 กองทัพเรือสหรัฐได้เริ่มมองหาเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่เพื่อเข้ามาแทนที่ เอสเอช-2 ซีสไปรท์[1] ซีสไปรท์นั้น ถูกใช้เพื่อเป็นฐานให้กับระบบอเนกประสงค์ทางอากาศขนาดเบา เป็นระบบอิเลคทรอนิกอากาศสำหรับสงครามทางทะเลและมีความสามารถรองคือการค้นหาและช่วยเหลือ ด้วยความก้าวหน้าในเทคโนโลยีเซ็นเซอร์และระบบอิเลคทรอนิกทางอากาศ ที่นำระบบดังกล่าวไปสู่รุ่นที่สอง แต่เอสเอช-2 ก็ไม่ใหญ่พอที่จะติดตั้งอุปกรณ์เหล่านั้นได้หมด ในกลางทศวรรษที่ 2513 กองทัพได้ประเมินซิคอร์สกี้ วายยูเอช-60 และโบอิง-เวอร์ทอล วายยูเอช-31 ในการแข่งขันหาอากาศยานขนส่งแบบใหม่[2] กองทัพเรือมีความต้องการเดียวกับกองทัพบกเพื่อลดค่าใช้จ่าย[1] ซิคอร์สกี้และโบอิง-เวอร์ทอลได้ยื่นข้อเสนอให้กับกองทัพเรือโดยเป็นรุ่นที่ดัดแปลงมาจากของกองทัพบกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2520 กองทัพเรือยังได้มองหาเฮลิคอปเตอร์ที่ผลิตโดยเบลล์ คาแมน เวสท์แลนด์ และเอ็มบีบี แต่ก็ล้วนมีขนาดเล็กเกินไป พอต้นปี พ.ศ. 2521 กองทัพเรือได้เลือกการออกแบบ เอส-70 บี ของซิคอร์สกี้[1] ซึ่งใช้ชื่อว่า "เอสเอช-60 บี ซีฮอว์ก"

เอสเอช-60 บี ซีฮอว์ก

[แก้]
ซีฮอว์กที่บินรอรับผู้บาดเจ็บที่ถูกหามมาบนเปล ทั้งหมดเป็นเพียงการซ้อมเท่านั้น

เอสเอช-60 บี นั้นมีความคล้ายคลึงกับ ยูเอช-60 เอ ถึง 83%[3] การเปลี่ยนแปลงหลักการป้องกันการกัดกร่อน เครื่องยนต์ที 700 ที่ทรงพลังมากขึ้น เลื่อนตำแหน่งของล้อหลังไปด้านหน้า 13 ฟุต แทนที่ประตูด้านข้างด้วยโครงสร้างลำตัว และเพื่อจุดติดอาวุธเข้าไปสองตำแหน่ง การเปลี่ยนแปลงส่วนอื่นๆ ก็มีทั้งเซลล์เชื้อเพลิงขนาดใหญ่ขึ้น ระบบับเก็บใบพัดด้วยไฟฟ้า ครีบหางที่พับเก็บได้ และท่อปล่อยกระบอกโซนาร์ 25 ท่อที่ด้านข้าง การเปลี่ยนตำแหน่งของล้อด้านหลังทำให้ลดรอยขูดขีดที่เกิดขึ้นเมื่อจอดลงบนดาดฟ้าเรือ[4]

มีวายเอสเอช-60 บี ซีฮอว์ก แลมป์ส 3 ที่เป็นต้นแบบ 5 ลำถูกสั่งซื้อ วายเอสเอช-60 บี ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 เอสเอช-60 บีที่เป็นรุ่นผลิตนั้นทำการบินครั้งแรกในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 เอสเอช-60 บี ได้เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2527 โดยใช้งานครั้งแรกในปีพ.ศ. 2528[2]

เอสเอช-60 บี แลมป์ส 3 จะถูกใช้บนเรือฟริเกต เรือพิฆาต และเรือลาดตระเวนเป็นหลัก ภารกิจหลักของมันคือสงครามทำลายกำลังพื้นผิวและการปราบเรือดำน้ำ

เอสเอช-60 บี มีระบบเซ็นเซอร์ที่ซับซ้อนรวมทั้งเครื่องตรวจจับความผิดปกติของแม่เหล็กหรือแมด (Magnetic Anomaly Detector, MAD) และกระบอกโซนาร์ เซ็นเซอร์อื่นๆ รวมทั้งเรดาร์ค้นหาเอพีเอส-124 ระบบอีเอสเอ็ม เอแอลคิว-142 และป้อมอินฟราเรดส่วนหน้าตรงปลายจมูก มันบรรทุกตอร์ปิโดมาร์ก 46 มาร์ก 50 หรือมาร์ก 54 ขีปนาวุธเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ และปืนกล เอ็ม60/เอ็ม240 ขนาด 7.62 หรือปืนกลจีเอยู-16 ขนาด 12.7 ม.ม.

เอสเอช-60 บี ต้องการนักบินเพียงหนึ่งนายและผู้ควบคุมระบบการสงครามหรือเซ็นเซอร์อีกหนึ่งนาย

เอสเอช-60 เจ เป็นรุ่นหนึ่งของเอสเอช-60 บี ที่ผลิตมาเพื่อกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น เอสเอช-60 เค เป็นรุ่นที่ดัดแปลงมาจากเอสเอช-60 เจ เอสเอช-60 เจ และ เคถูกสร้างขึ้นภายใต้ใบอนุญาตโดยอุตสาหกรรมิตซูบิชิในญี่ปุ่น[5][6]

เอสเอช-60 เอฟ โอเชียนฮอว์ก

[แก้]

หลังจากที่ เอสเอช-60 บี ได้เข้าประจำการ กองทัพเรือก็เริ่มทำการพัฒนา เอสเอช-60 เอฟ ขึ้นมาเพื่อแทนที่เอสเอช-3 ซีคิง[7] การพัฒนาเริ่มขึ้นเมื่อได้ทำสัญญากับซิคอร์สกี้เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 เอสเอช 060 บี แบบแรกๆ นั้นถูกดัดแปลงให้กลายเป็นรุ่นเอฟ บริษัทได้ผลิตรุ่นเอฟออกมา 7 ลำในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 และทำการบนทดสอบครั้งแรกในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2530[8]

เอสเอช-60เอฟทำหน้าที่ในหมวดเรือบรรทุกเครื่องบิน มันมีภารกิจหลักในสงครามปราบเรือดำน้ำและเป็นเฮลิคอปเตอร์ในการค้นหาและช่วยเหลือ มันจะล่าเรือดำน้ำด้วยการหย่อนโซนาร์เอเอ็น/เอคิวเอส-13 และมีโซนาร์กระบอก 14 กระบอก เอสเอช-60เอฟมีตอร์ปิโด มาร์ก 46 และปืนกลที่ประตู อาจเป็นเอ็ม60ดี เอ็ม240 หรือจีเอยู-16 มันมีนักบินหนึ่งนาย นักบินผู้ช่วยหนึ่งนาย ผู้ควบคุมเซ็นเซอร์ยุทธวิธีหนึ่งนาย และผู้ควบคุมเซ็นเซอร์เสียงอีกหนึ่งนาย

เอสเอช-60เอฟเข้าประจำการครั้งแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2532[9] ฝูงบินเอสเอช-60เอฟจะเปลี่ยนมาใช้เอสเอช-60เอสในปีพ.ศ. 2552[10]

เอชเอช-60 เอช เรสคิวฮอว์ก

[แก้]
เอชเอช-60เอชพร้อมนักดำน้ำค้นหาและช่วยเหลือ

เอชเอช-60 เอช ทำการพัฒนาขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2529 โดยในสัญญาจะผลิตออกมา 5 ลำ มันทำการบินครั้งแรกในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2531 เอชเอช-60 เอช ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับเอชเอช-60 เจย์ฮอว์กของยามชายฝั่งสหรัฐ การส่งมอบเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2532 พวกมันเริ่มปฏิบัติการได้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2533[8]

มันมีพื้นฐานมาจาก เอสเอช-60 เอฟ ทำให้มันมีหน้าที่หลักในการค้นหาและช่วยเหลือการรบ การรบพิเศษทางทะเล และสงครามทำลายกำลังพื้นผิว มันมีเซ็นเซอร์แบบรุกและป้องกันมากมาย จึงทำให้มันเป็นหนึ่งในเฮลิคอปเตอร์ที่อยู่รอดได้ดีที่สุดในโลก เซ็นเซอร์นั้นประกอบด้วยป้อมออนฟราเรดหน้าที่มีเลเซอร์ระบบุตำแหน่งและอุปกรณ์ช่วยชีวิต โดยมีเครื่องรบกวนอินฟราเรดเอเแอลคิว-144 เครื่องตรวจจับเลเซอร์ เอวีอาร์-2 เครื่องตรวจจับเรดาร์ เอพีอาร์-39 (วี) 2 เครื่องตรวจจับการปล่อยขีปนาวุธเอเออาร์-7 และเครื่องปล่อยพลุล่อเป้า เอแอลอี-47 นอกจากนี้แล้วมันยังได้รับการพัฒนาด้านโครงสร้างของตัวสะท้อนไอเสียเครื่องยนต์ที่จะลดความร้อนซึ่งขีปนาวุธติดตามความร้อนมักมองหา เอชเอช-60เอชสามารถติดตั้งขีปนาวุธเฮลไฟร์ได้ถึง 4 ลูกบนปีกโดยใช้เครื่องยิงแบบเอ็ม 299 และยังมีหน้าต่างที่หลากหลายเพื่อติดตั้งปืนกลอย่างเอ็ม 60 ดี เอ็ม 240 จีเอยู-16 และจีเอยู-17/เอ ลูกเรือจะประกอบด้วยนักบินหนึ่งนาย นักบินผู้ช่วยหนึ่งนาย และพลปืนประจำประตูสองนาย

เอ็มเอช-60เอส ไนท์ฮอว์ก

[แก้]
เอ็มเอช-60เอส ไนท์ฮอว์ก (MH-60S Knighthawk) ที่กำลังส่งกำลังเพิ่มเติมในแนวดิ่ง

กองทัพเรือได้ติดสินใจว่าจะแทนที่ ซีเอช-46 ซีไนท์ ของพวกเขาในปี พ.ศ. 2540 หลังจากมีการสาธิต ยูเอช-60 ที่ถูกดัดแปลง กองทัพเรือก็ทำสัญญาให้มีการผลิต ซีเอช-60 ในปี พ.ศ. 2541 มันทำการบินครั้งแรกในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2543 และเริ่มทำการบินทดสอบในปีต่อมา ซีเอช-60 ถูกตั้งชื่อใหม่ว่า เอ็มเอช-60 เอส ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2544[9]

เอ็มเอช-60 เอส นั้นมีพื้นฐานมาจาก ยูเอช-60 แอล และมีจุดเด่นมากมายจาก เอสเอช-60[11] มันถูกใช้งานบนเรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกและเรือเร็วสนับสนุนการรบ มันมีสองภารกิจ คือ ขนส่งทหารและการส่งกำลังเพิ่มเติมในแนวดิ่ง แต่ก็สามารถทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือได้เช่นกัน เอ็มเอช-60 เอส ไม่มีเซ็นเซอร์ด้านการรุกแต่มีเครื่องรบกวนเรดาร์ เอแอลคิว-144 ในอนาคตมันจะมีระบบตรวจหาทุ่นระเบิด เอคิวเอส-20 เอ และระบบตรวจหาทุ่นระเบิดเลเซอร์ทางอากาศสำหรับการระบุวัตถุที่ถูกฝังอยู่ใต้น้ำ รุ่นเอสนั้นเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบแรกของกองทัพเรือสหรัฐที่ใช้ห้องนักบินแก้วซึ่งข้อมูลการบินจะถูกส่งให้กับนักบินผ่านทางหน้าจอดิจิตอลแทนที่จะใช้เกจ์ธรรมดา การป้องกันหลักของมันคือปืนกล เอ็ม 60 ดี เอ็ม 240 หรือจีเอยู-17/เอ ปีกของมันมีพื้นฐานมาจาก ยูเอช-60 แอล ของกองทัพบกเพื่อติดตั้งขีปนาวุธเฮลไฟร์ ไฮดรา 70 หรืออาวุธที่ใหญ่กว่านั้น

เอ็มเอช-60 เอส รู้จักกันอย่างไม่เป็นทางการว่า"ไนท์ฮอว์ก" (Knighthawk) เพื่อสะท้อนการสืบทอดตำแหน่งจาก"ซีไนท์" (Sea Knight) แม้ว่าชื่อดังกล่าวยังไม่ได้รับการอนุมัติเพื่อมีชื่อ "ซีฮอว์ก" แล้ว[12][13] ลูกเรือของซีไนท์ประกอบด้วยนักบินหนึ่งนาย นักบินผู้ช่วยหนึ่งนาย และทหารอีกสองนายที่ขึ้นอยู่กับภารกิจ ฝูงบินที่ใช้เอ็มเอช-60เอสถูกตั้งชื่อใหม่เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีทางทะเล (Helicopter Sea Combat, HSC)[14]

มันไม่เหมือนกับ เอช-60 ทั้งหมดของกองทัพเรือ เอ็มเอช-60 เอส นั้นไม่ได้มีพื้นฐานมาจาก เอส-70 บี/เอสเอช-60 บี ที่มันมีล้อคู่ด้านท้ายที่เยื้องไปทางด้านหน้าและประตูเลื่อนเพียงด้านเดียว แทนที่จะเป็นเช่นนั้นรุ่นเอสเป็นแบบผสม มันมีจุดเด่นที่โครงสร้างหลักของ เอส-70 เอ/ยูเอช-60 โดยมีประตูเลื่อนทั้งสองด้านและล้อเพียงอันเดียวที่เยื้องไปด้านหลัง และเครื่องยนต์กับใบพัดนั้นมาจากเอส-70บี/เอสเอช-60[15]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 สาธารณรัฐเกาหลีได้ร้องของ เอ็มเอช-60 เอส 8 ลำ เครื่องยนต์จีอี ที 700-401 ซี 16 เครื่อง และระบบเซ็นเซอร์สัมพันธ์ ซึ่งจะขายในการขายทางกองทัพข้ามประเทศ [16]

เอ็มเอช-60 อาร์ ซีฮอว์ก

[แก้]
เอ็มเอช-60อาร์กำลังใช้โซนาร์

เดิมทีนั้น เอ็มเอช-6 0อาร์ คือ "การพัฒนาแลมป์ส มาร์ก 3 บล็อก 2" (LAMPS Mark III Block II Upgrade) เมื่อมันเริ่มพัฒนาในปีพ.ศ. 2536 เอสเอช-60 บี สองลำถูกดัดแปลงโดยซิคอร์สกี้เพื่อโครงการดังกล่าว เอสเอช-60 ลำแรกที่ถูกดัดแปลงทำการบินครั้งแรกในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2542 การดัดแปลงทำให้มันได้ชื่อว่า วายเอสเอช-60 เอส มันถูกส่งมอบเพื่อทำการทดสอบในปีพ.ศ. 2544 แบบสำหรับการผลิตได้รับชื่อใหม่ว่าเอ็มเอช-60 เอส[17]

เอ็มเอช-60อาร์ถูกออกแบบมาโดยผสมลักษณะเด่นของเอสเอช-60 บี และเอสเอช-60 เอฟ[18] เซ็นเซอร์ของมันมีทั้งชุดเอเอสอี อินฟราเรดหน้า การเชื่อมโยงข้อมูลทางอากาศที่ก้าวหน้า และโซนาร์ทางอากาศแบบใหม่ มันไม่มีเครื่องตรวจจับความผิดปกติของแม่เหล็ก นักบินจะอยู่ในห้องนักบินแก้วแบบเดียวกับเอ็มเอช-60 เอส ซึ่งใช้หน้าจอดิจิตอลแทนที่จะเป็นเกจ์วัด ความสามารถในการรุกของมันเพิ่มขึ้นโดยมีตอร์ปิโด มาร์ก 54 และขีปนาวุธเฮลไฟร์

รุ่นอาร์ทำการส่งมอบในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 และเริ่มทำการฝึกนักบิน ในปีพ.ศ. 2550 เอ็มเอช-60 ก็เข้าสู่การทดสอบสุดท้ายเพื่อเข้าทำงานในกองบิน เมื่อถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 มันถูกส่งไปประจำการบนเรือยูเอสเอส จอห์น ซี. สเตนนิส ตามที่ล็อกฮีด มาร์ตินอ้าง "ภารกิจรองของมันคือการค้นหาและช่วยเหลือ การเพิ่มเติมกำลังในแนวดิ่ง การยิงสนับสนุนพื้วผิวทะเล การสนับสนุนทางจำนวน ยานลำเลียงพล การเคลื่อนย้ายคนเจ็บ และการสื่อสารและส่งข้อมูล"[19]

รุ่นต่างๆ

[แก้]

ในสหรัฐ

[แก้]
  • วายเอสเอช-60 บี ซีฮอว์ก เป็นรุ่นในการพัฒนาที่ทำให้เกิดเอสเอช-60 บี[20]
  • เอสเอช-60 บี ซีฮอว์ก
  • เอ็นเอสเอช-60 บี ซีฮอว์ก รุ่นหลักที่ใช้ในการบินทดสอบ [20]
  • เอสเอช-60 เอฟ โอเชียนฮอว์ก
  • เอ็นเอสเอช-60 เอฟ ซีฮอว์ เอสเอช-60เอฟที่ถูกดัดแปลงเพื่อทำการสนับสนุนโครงการพัฒนาห้องนักบิน[20]
  • เอชเอช-60 เอช เรสคิวฮอว์ก
  • วายเอสเอช-60 อาร์ ซีฮอว์ก
  • เอ็มเอช-60 อาร์ ซีฮอว์ก:
  • วายซีเอช-60 เอส ไนท์ฮอว์ก (Knighthawk)
  • เอ็มเอช-60 เอส ไนท์ฮอว์ก (Knighthawk)

รุ่นส่งออก

[แก้]
  • เอส-70บี ซีฮอว์ก ซิคอร์สกี้ที่ออกแบบมาโดยมีชื่อว่าซีฮอว์ก เป็นชื่อที่มักใช้เรียกรุ่นที่ส่งออก
    • เอส-70 บี-1 ซีฮอว์ก รุ่นปราบเรือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือสเปน ซีฮอว์กรุ่นนี้มีระบบแลมป์สติดตั้งอยู่ด้วย (Light Airbone Multipurpose System, LAMPS)
    • เอส-70 บี-2 ซีฮอว์ก รุ่นปราบเรือดำน้ำสำหรับกองทัพเรือออสเตรเลีย คล้ายคลึงกับเอสเอช-บี ซีฮอว์กของสหรัฐ
    • เอส-70 บี-3 ซีฮอว์ก รุ่นปราบเรือดำน้ำสำหรับกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น มีอีกชื่อหนึ่งว่าเอสเอช-60 เจ กองทัพเรือญี่ปุ่นได้ทำการสั่งซื้อทั้งสิ้น 101 ลำ โดยเริ่มทำการส่งมอบเมื่อปีพ.ศ. 2534
    • เอส-70 บี-6 อีเจียนฮอว์ก เป็นรุ่นของกองทัพกรีกซึ่งเป็นการผสมของ เอสเอช-60 บีกับเอฟ มีพื้นฐานมาจากเอส-70 ซี (เอ็ม)1/2 ของไต้หวัน
    • เอส-70 บี-7 ซีฮอว์ก รุ่นส่งออกสำหรับกองทัพเรือไทย
    • เอส-70 ซี (เอ็ม)-1/2 ธันเดอร์ฮอว์ก รุ่นส่งออกสำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
    • เอส-70 เอ (เอ็น) นาวัลฮอว์ก รุ่นทางทะเลที่เป็นการผสมของ เอส-70 เอ แบล็กฮอว์กและ เอส-70 บี ซีฮอว์ก

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]
 สหรัฐ
ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
ธงของประเทศบราซิล บราซิล
ธงของประเทศกรีซ กรีซ
  • ได้รับเอส-70บี-6 อีเจียนฮอว์ก 11 ลำ[23]และมีเอส-70บี 11 ลำในประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2551[22]
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ธงของประเทศสเปน สเปน
 สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
  • กองทัพเรือสาธารณรัฐจีน ได้รับเอส-70ซี 21 ลำ (เอส-70ซี(เอ็ม)-1 จำนวน 10 ลำและเอส-70ซี(เอ็ม)-2 จำนวน 11 ลำ)[25]และมีเอส-70ซี 19 ลำในประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2551[22] ประจำการอยู่ในฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ที่ 702[26]
 ไทย
  • กองทัพเรือไทย ได้รับเอส-70บี-7 ซีฮอว์ก 6 ลำ[27]และสั่งซื้อเอ็มเอช-60เอส ไนท์ฮอว์ค 6 ลำ[28] โดยมีเอส-70บีทั้งหมด 6 ลำในประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2541[22]
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
  • กองทัพเรือตุรกี ได้รับเอส-70บี-28 ซีฮอว์ก 8 ลำโดยมีอีก 17 ลำในรายการสั่งซื้อ[29] โดยมีเอส-70บี 7 ลำในประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2551[22]

รายละเอียดของเอสเอช-60 บี

[แก้]
  • ลูกเรือ 3-4 นาย
  • ความจุ ผู้โดยสาร 5 คนหรือขนย้ายด้วยสลิงในน้ำหนัก 6 พันปอนด์หรือบรรทุกน้ำหนักภายในได้ 4,100 ปอนด์สำหรับรุ่นบี เอฟ และเอช ส่วนรุ่นเอสบรรทุกผู้โดยสารได้ 11 คนหรือสลิงบรรทุกได้ 9 พันปอนด์
  • ความยาว 19.75 เมตร
  • เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 16.35 เมตร
  • ความสูง 5.2 เมตร
  • พื้นที่ในการหมุน 210 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 6,895 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบรรทุก 8,055 กิโลกรัม
  • น้ำหนักของจำเป็น 3,031 กิโลกรัม
  • น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 9,927 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์เจเนรัล อิเลคทริก ที700-จีอี-401ซี สองเครื่องยนต์ โดยให้กำลังเครื่องละ 1,890 แรงม้า
  • ความเร็วสูงสุด 333 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ความเร็วประหยัด 146 นอท
  • พิสัย 834 กิโลเมตรที่ความเร็วประหยัด
  • เพดานบินทำการ 12,000 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 1,650 ฟุตต่อนาที
  • อาวุธ

[30][12][31][32]

ดูเพิ่ม

[แก้]
การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Leoni 2007, pp. 203–4.
  2. 2.0 2.1 Sikorsky S-70B Seahawk, Vectorsite.net, 1 July 2006.
  3. Eden, Paul. "Sikorsky H-60 Black Hawk/Seahawk", Encyclopedia of Modern Military Aircraft, p. 431. Amber Books, 2004. ISBN 1904687849.
  4. Leoni 2007, pp. 206–9.
  5. Mitsubishi (Sikorsky) SH-60J (Japan). Jane's, 17 April 2007.
  6. Mitsubishi SH-60K Upgrade, Jane's, 11 June 2008.
  7. Leoni 2007, p. 211.
  8. 8.0 8.1 Donald 2004, pp. 158. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Donald_p158" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  9. 9.0 9.1 Donald 2004, pp. 159-160.
  10. Helicopter Sea Combat Wing, Pacific. GlobalSecurity.org
  11. Donald 2004, pp. 160-161.
  12. 12.0 12.1 SH-60 Seahawk fact file, US Navy, สืบค้นเมื่อ 2008-10-05
  13. Sikorsky SH-60 Seahawk helicopter, Fact File เก็บถาวร 2008-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sikorsky. checked 2008-10-05
  14. Airscoop, US Navy, 2003, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-04, สืบค้นเมื่อ 2009-10-24
  15. MH-60S Knighthawk — Multi-Mission Naval Helicopter, USA, Naval Technology, สืบค้นเมื่อ 2008-10-05
  16. "Korea – MH-60S Multi-Mission Helicopters" เก็บถาวร 2009-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. US Defense Security Cooperation Agency, 22 July 2009.
  17. Donald 2004, pp. 161-162.
  18. Donald 2004, p. 161.
  19. "MH-60R Helicopter Departs Lockheed Martin To Complete First Operational Navy Squadron" เก็บถาวร 2008-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Lockheed Martin, July 30, 2008.
  20. 20.0 20.1 20.2 DoD 4120-15L, Model Designation of Military Aerospace Vehicles. DoD, 2004.
  21. Leoni 2007, pp. 250-256.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 "Directory: World Air Forces". Flight International, 11-17 November 2008.
  23. Leoni 2007, pp. 274-277.
  24. Leoni 2007, pp. 303-304.
  25. Leoni 2007, pp. 292–98.
  26. Taiwan Air Power, ROCN S-70C(M)-1/2 page เก็บถาวร 2010-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Taiwanairpower.org, update April 12, 2008. Retrieved Sept. 15, 2009.
  27. Leoni 2007, pp. 304-305.
  28. Up to $246M for 6 Royal Thai Navy MH-60S Helicopters Defense Industry Daily
  29. Leoni 2007, pp. 306–13.
  30. Taylor, M J H (editor) (1999). Brassey's World Aircraft & Systems Directory 1999/2000 Edition. Brassey's. ISBN 1 85753 245 7. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  31. S-70B Seahawk Technical Information, 2001.
  32. S-70B Seahawk Technical Information, 2008 เก็บถาวร 2011-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sikorsky.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]