อึชตาดูโนวู (โปรตุเกส)
สาธารณรัฐโปรตุเกส República Portuguesa | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2476–พ.ศ. 2517 | |||||||||
เมืองหลวง | ลิสบอน | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาโปรตุเกส | ||||||||
ศาสนา | นิกายโรมันคาทอลิก | ||||||||
การปกครอง | เผด็จการ รัฐบรรษัท พรรคการเมืองเดียว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐภายใต้ลัทธิอำนาจนิยมเผด็จการ | ||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||
• พ.ศ. 2469–2494 | ออชการ์ การ์โมนา | ||||||||
• พ.ศ. 2494–2501 | ฟรังซิชกู กราไวรู ลอปึช | ||||||||
• พ.ศ. 2501–2517 | อาแมรีกู ตูมัช | ||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||
• พ.ศ. 2475–2511 | อังตอนียู ดือ ออลีไวรา ซาลาซาร์ | ||||||||
• พ.ศ. 2511–2517 | มาร์แซลู ไกตานู | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | ระบบสองสภา | ||||||||
• สภาสูง | สภานิติบัญญัติ | ||||||||
• สภาล่าง | สมัชชาแห่งชาติ | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ประกาศจัดตั้ง | 19 มีนาคม พ.ศ. 2476 | ||||||||
• เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2498 | ||||||||
25 เมษายน พ.ศ. 2517 | |||||||||
พื้นที่ | |||||||||
พ.ศ. 2483 | 2,168,071 ตารางกิโลเมตร (837,097 ตารางไมล์) | ||||||||
พ.ศ. 2513 | 2,168,071 ตารางกิโลเมตร (837,097 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• พ.ศ. 2483 | 17103404 | ||||||||
• พ.ศ. 2513 | 22521010 | ||||||||
สกุลเงิน | อึชกูดู | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | โปรตุเกส แองโกลา โมซัมบิก กินี-บิสเซา กาบูเวร์ดี เซาตูแมอีปริงซีป อินเดีย (กัว, อินเดีย) (อินเดียของโปรตุเกส) เบนิน (เซาฌูเอาบาติชตาดืออาฌูดา) ติมอร์-เลสเต มาเก๊า |
อึชตาดูโนวู (โปรตุเกส: Estado Novo แปลว่า: "รัฐใหม่") หรือ สาธารณรัฐที่ 2 คือระบอบเผด็จชาตินิยมโปรตุเกสก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476[1]พัฒนาจากรัฐบาลยุคเผด็จการแห่งชาติ (Ditadura Nacional) ที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐประหารเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 เพื่อล้มล้างรัฐบาลสาธารณรัฐที่หนึ่งที่ไร้เสถียรภาพ โดยเผด็จการแห่งชาติและอึชตาดูโนวูได้รับการยอมรับว่าเป็นสาธารณรัฐโปรตุเกสที่สอง รัฐใหม่มีแนวคิดการปกครองแบบอนุรักษ์นิยมและเผด็จการซึ่งได้รับการพัฒนาโดยอังตอนียู ดือ ออลีไวรา ซาลาซาร์ นายกรัฐมนตรีของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471–2511 ก่อนที่จะลงจากตำแหน่งให้มาร์แซลู ไกตานู เนื่องจากปัญหาสุขภาพ
แนวคิดนี้ขัดแย้งกับลัทธิคอมมิวนิสต์, สังคมนิยม, ลัทธิอนาธิปไตย, เสรีนิยม และลัทธิต่อต้านจักรวรรดินิยม ระบอบการปกครองเป็นแบบบรรษัทนิยม, อนุรักษ์นิยม และชาตินิยม รวมถึงการคุ้มครองศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในโปรตุเกส นโยบายดังกล่าวทำให้แองโกลา, โมซัมบิก และดินแดนอื่นของโปรตุเกสอยู่ในฐานะเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส และกลายพื้นในการขยายแนวคิดสังคมแบบโปรตุเกสในนโยบาย "กลืนกิน" ทั้งอาณานิคมในแอฟริกาและเอเชีย ภายใต้การนำของรัฐใหม่ มีความพยายยามรักษาความเป็นจักรรวรรดิเก่าอันยาวนานนับศตวรรษซึ่งมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 2,168,071 ตารางกิโลเมตร (837,097 ตารางไมล์) ในขณะที่อำนาจอาณานิคมในอดีตต่าง ๆ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลโปรตุเกสคืนเอกราชให้แก่อาณานิคมเหล่านั้น[2]
โปรตุเกสเข้าร่วมสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2498 และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของเนโท (พ.ศ. 2492), โออีซีดี (พ.ศ. 2504) และเอฟตา (พ.ศ. 2503) ในปี พ.ศ. 2511 มาร์แซลู ไกตานู ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลคนใหม่ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2517 การปฏิวัติคาร์เนชันในลิสบอนการทำรัฐประหารโดยทหารฝ่ายซ้ายโปรตุเกสและคณะกองกำลังแห่งชาติ (แอมึแอฟึอา) ล้มล้างระบอบการปกครองของอึชตาดูโนวู ตลอดเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างรุนแรงจากนานาชาติและเรียกร้องให้รัฐบาลโปรตุเกสคืนเอกราชให้แก่อาณานิคม ซึ่งรัฐบาลอึชตาดูโนวูเป็นหนึ่งในรัฐบาลขวาจัดที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jorge Pais de Sousa, O Fascismo Catedrático de Salazar, Imprensa da Universidade de Coimbra, 2012
- ↑ Portugal Não É Um País Pequeno เก็บถาวร 14 พฤษภาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน