ข้ามไปเนื้อหา

เอลิซาเบธ เฟลชแมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอลิซาเบธ เฟลชแมน ผู้บุกเบิกรังสีเอกซ์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1899)

เอลิซาเบธ เฟลชแมน-อัชไฮม์ (อังกฤษ: Elizabeth Fleischman-Aschheim; 5 มีนาคม ค.ศ. 1867 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1905) เป็นนักรังสีการแพทย์ชาวอเมริกันซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกรังสีเอกซ์ เฟลชแมนเป็นผู้หญิงคนแรกที่เสียชีวิตจากผลของการทำงานกับรังสีเอกซ์

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

เอลิซาเบธ เฟลชแมน เกิดที่เทศมณฑลเอลโดราโด รัฐแคลิฟอร์เนีย (อาจเป็นที่เมืองแพลเซอร์วิล) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1867 โดยเป็นลูกสาวของผู้อพยพชาวยิวจากออสเตรีย[1][2] แคทเธอรีน เลอซันสกี ซึ่งเป็นแม่ของเธอเกิดที่ปรากและมีสมาชิกในครอบครัวหลายคนที่เป็นแพทย์ในที่ตอนนี้คือสาธารณรัฐเช็ก ส่วนเจค็อบ เฟลชแมน ซึ่งเป็นพ่อของเธอเป็นคนทำขนมปัง[3] โดยเอลิซาเบธเป็นหนึ่งในลูกที่มีอยู่ทั้งหมดห้าคน[1]

โดยใน ค.ศ. 1876 ครอบของเธอครัวย้ายไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก ซึ่งพ่อของเอลิซาเบธ ทำงานเป็นคนทำขนมปังเป็นอาชีพแรก และต่อมาก็กลายเป็นพ่อค้าขายของกระจุกกระจิกและซิการ์ต่าง ๆ เอลิซาเบธ เฟลชแมน เข้าเรียนที่ไฮสกูลสตรี และลาออกในปีสุดท้ายของเธอเมื่อ ค.ศ. 1882 เพื่อช่วยสนับสนุนครอบครัวของเธอ[1] จากนั้นเธอเรียนหลักสูตรการทำบัญชีกับการจัดการสำนักงาน และครั้งหนึ่งเธอทำงานเป็นคนทำบัญชีที่ฟรีดแลนเดอร์แอนด์มิเทา ผู้ผลิตชุดชั้นในซานฟรานซิสโก[4][5]

เมื่อแม่ของเธอเสียชีวิต เฟลชแมนย้ายไปอยู่กับน้องสาวของเธอ เอสเทล ซึ่งแต่งงานกับแพทย์และศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ไมเคิล โจเซฟ เฮนรี วูล์ฟ[6][7] เฟลชแมนทำงานในสำนักงานการแพทย์ของวูล์ฟในฐานะคนทำบัญชี ที่ซึ่งเขาได้แบ่งปันและสนับสนุนความอยากรู้ในเทคโนโลยีใหม่ทางการแพทย์ของรังสีเอกซ์[3]

ผู้บุกเบิกรังสีเอกซ์

[แก้]

ใน ค.ศ. 1896 เฟลชแมนได้อ่านการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของวิลเฮล์ม เรินต์เกน ในด้านการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย ที่ชื่อ "การค้นพบภาพถ่ายครั้งใหม่" ซึ่งจุดประกายความสนใจของเธอในการถ่ายภาพรังสี[8][9] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1896 ธอเข้าร่วมการบรรยายในที่สาธารณะและนำเสนอเกี่ยวกับอุปกรณ์รังสีเอกซ์โดยอัลเบิร์ต ฟาน เดอร์ เนลเลน ในซานฟรานซิสโก[10] ต่อมาในปีนั้น เธอลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนวิศวกรรมฟาน เดอร์ เนลเลน และเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ไฟฟ้า โดยส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากการบรรยายของฟาน เดอร์ เนลเลน และกำลังใจจากพี่เขยผู้เป็นแพทย์

เมื่อสำเร็จหลักสูตรการศึกษา เธอยืมเงินจากพ่อของเธอเพื่อจัดซื้อเครื่องรังสีเอกซ์ และรังสีทรรศน์[11][12] เฟลชแมนแสดงความสนใจอย่างรวดเร็ว และมีความเชี่ยวชาญในส่วนเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นในการผลิตรังสีเอกซ์

ภายใน ค.ศ. 1897 หนึ่งปีหลังจากการค้นพบรังสีเอกซ์โดยเรินต์เกน เธอได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการรังสีเอกซ์ที่ซัตเตอร์สตรีต ในซานฟรานซิสโก[13] ที่นั่นเธอได้ตรวจคนไข้ในนามของแพทย์ท้องถิ่น ซึ่งงานนี้ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทั้งด้านกายวิภาคและการถ่ายภาพเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน[13]

ในปี ค.ศ. 1898 หนังสือพิมพ์อเมริกันรายงานผลงานของเธอในการขายอาหารที่ค้าขายในเชิงพาณิชย์ด้วยรังสีเอกซ์ เพื่อตรวจหาว่ามีหรือไม่มี "การปลอมปน" จากสิ่งเจือปน[14] นอกจากนี้ เธอยังเริ่มถ่ายภาพรังสีเอกซ์ของสัตว์และวัตถุทั่วไป เช่น ภายในรองเท้า[15]

ภาพบนฟิล์มรังสีเอกซ์โดยเอลิซาเบธ เฟลชแมน จากกะโหลกศีรษะของพลทหาร จอห์น เกรตเซอร์ จูเนียร์ แสดงกระสุนที่ติดอยู่ในสมอง

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1898 เธอเริ่มให้บริการในฐานะผู้ถ่ายภาพบนฟิล์มรังสีเอกซ์ให้แก่กองทัพบกสหรัฐ ซึ่งได้ส่งทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากเขตสงครามแปซิฟิกของสงครามสเปน–อเมริกา กลับไปยังสหรัฐผ่านทางซานฟรานซิสโก[15]

ผลของรังสีและการเสียชีวิต

[แก้]

ในช่วงเวลาที่เฟลชแมนทำงานเป็นนักรังสีการแพทย์ นอกจากหลอดรังสีเอกซ์จะไม่มีการป้องกันแล้ว ผู้ปฏิบัติงานยังมักจะวางมือของตนเองไว้ด้านหน้าเครื่องเอกซเรย์เพื่อตรวจสอบการเปิดรับแสงอีกด้วย[7] นอกจากนี้ เฟลชแมนมักจะสัมผัสกับรังสีเอกซ์เพื่อแสดงให้ผู้ป่วยเห็นว่าขั้นตอนนี้ไม่มีความเจ็บปวด[13]

ใน ค.ศ. 1903 ผลสะสมจากการได้รับรังสีเอกซ์โดยไม่ได้รับการป้องกันเป็นเวลาเจ็ดปี และทำงานวันละสิบสองชั่วโมง เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นโรคผิวหนังอักเสบจากรังสีเอกซ์ที่มือของเธอ[16][13] โดยเธอเชื่อว่าอาการระคายเคืองนี้เกิดจากสารเคมีที่ใช้ในการล้างแผ่นถ่ายภาพ[13] และในช่วงต้น ค.ศ. 1904 โรคผิวหนังอักเสบดังกล่าวได้ลุกลามจนเธอต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ แพทย์พบว่า:

"มือทั้งสองข้างมีแผลเป็นอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเนื้อเยื่อเหนือกระดูกนิ้วมือกลางและข้อต่อกลาง....พื้นผิวมีแผลเป็นและมีหูด โดยหูดมีลักษณะเป็นแผลเน่าเปื่อยสลับกับแผลเป็น ส่วนต่อมสร้างขนและรูขุมขนถูกทำลายจนผิวหนังแข็ง, แห้ง และแตกได้ง่าย ซึ่งการรักษาด้วยยาขี้ผึ้งและยาล้างทุกรูปแบบไม่ได้ผลถาวร"[16]

เธอยังคงทำงานต่อไปแม้จะมีอาการบาดเจ็บ[17] ซึ่งใน ค.ศ. 1904 เธอได้เป็นผู้รับผิดชอบในการแนะนำมาตรการป้องกันสำหรับผู้ปฏิบัติงานเครื่องรังสีเอกซ์ โดยเธอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีของหน้าจอกระจกแผ่นสองชั้น และโลหะ เช่น ตะกั่ว, อลูมิเนียม, เหล็ก รวมถึงทองแดง ในการ "ต้านทาน" รังสีเอกซ์[18]

เฟลชแมนเป็นคนที่สองและเป็นผู้หญิงคนแรกที่เสียชีวิตเนื่องจากการได้รับรังสีเอกซ์ หลังการเสียชีวิตของคลาเรนซ์ ดาลลี ซึ่งเป็นนักเป่าแก้วชาวอเมริกันและผู้ช่วยทอมัส เอดิสัน ในงานรังสีเอกซ์ ผู้ที่เสียชีวิตเมื่อปีก่อน[19]

สิ่งพิมพ์และการอ้างอิง

[แก้]
  • Fleischman, Elizabeth. (1898). Description of Plates: Plate LV: American Frog. Archives of the Roentgen Ray. 3(2): 62.
  • Borden, William Cline, & Sternberg, George Miller. (1900). The Use of the Röntgen Ray by the Medical Department of the United States Army in the War with Spain. Washington, D.C. Government Printing Office.
  • Senn, Nicholas. (1900). The X-ray in Military Surgery. Philadelphia Medical Journal. 5: 36–37.

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Elizabeth Fleischmann - A Tribute". www.cla.purdue.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
  2. "No. 923: Elizabeth Fleischmann". www.uh.edu. สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
  3. 3.0 3.1 Brown, P (1995-02-01). "American martyrs to radiology. Elizabeth Fleischman Ascheim (1859-1905). 1936". American Journal of Roentgenology. 164 (2): 497–499. doi:10.2214/ajr.164.2.7839997. ISSN 0361-803X.
  4. Editor. (1895). Langley's San Francisco Directory. Page 604.
  5. Palmquist, Peter E. (1990). Elizabeth Fleischmann: A Tribute. Elizabeth Fleischmann: Pioneer X-Ray Photographer (exhibition catalogue). Judah L. Magnes Museum. Berkeley, California.
  6. "Elizabeth Fleischman-Aschheim: Heroic Jewish Radiologist of San Francisco – JMAW – Jewish Museum of the American West" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-11-08.
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :03
  8. Editor. (30 January 1896). Roentgen's System Tested. San Francisco Call. Volume 79. Number 61. San Francisco.
  9. Editor. (23 February 1896). The Rontgen Rays. San Francisco Chronicle. Page 10.
  10. Editor. (14 August 1896). Professor Van der Naillen's Powerful Apparatus From France. San Francisco Call. 80(75): 10.
  11. Brown, Percy. (1936). American Martyrs to Science through the Roentgen Rays. Charles C. Thomas. Springfield, Illinois.
  12. Spirt, Beverly A., & Randall, Patricia A. (1995). Radiologic history exhibit. The role of women in wartime radiology. RadioGraphics. 15(3), 641-652.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 Spirt, B A; Randall, P A (1995-05-01). "Radiologic history exhibit. The role of women in wartime radiology". RadioGraphics. 15 (3): 641–652. doi:10.1148/radiographics.15.3.7624569. ISSN 0271-5333. PMID 7624569.
  14. "X-rays turned on the cupboard, Elizabeth Fleischman (1898)". The San Francisco Call. 1898. p. 23. สืบค้นเมื่อ 2017-11-06.
  15. 15.0 15.1 Rebekah, Burgess Abramovich (Winter 2015). "Elizabeth Fleischmann-Aschheim". Hektoen International Journal. 7 (1).
  16. 16.0 16.1 Brown, P (1995-02-01). "American martyrs to radiology. Elizabeth Fleischman Ascheim (1859-1905). 1936". American Journal of Roentgenology. 164 (2): 497–499. doi:10.2214/ajr.164.2.7839997. ISSN 0361-803X. PMID 7839997.
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :42
  18. "Protection for x-ray operators, Elizabeth Fleischman-Aschheim (1904)". The Cook County Herald. 1904-11-19. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2017-11-06.
  19. Sansare, K; Khanna, V; Karjodkar, F (February 2011). "Early victims of X-rays: a tribute and current perception". Dentomaxillofacial Radiology. 40 (2): 123–125. doi:10.1259/dmfr/73488299. ISSN 0250-832X. PMC 3520298. PMID 21239576.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]